ก.ล.ต.สั่งบลจ.ดูแล ลูกจ้าง นายจ้าง ที่หยุดส่งเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ก.ล.ต.สั่งบลจ.ดูแล ลูกจ้าง นายจ้าง ที่หยุดส่งเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

Date Time: 8 พ.ค. 2563 10:22 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

Summary

  • ก.ล.ต.สั่งบริษัทจัดการลงทุน หรือ บลจ.ดูแลลูกจ้างที่นายจ้างเลื่อนหรือหยุดส่งเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพชั่วคราว หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ก.ล.ต.สั่งบริษัทจัดการลงทุน หรือ บลจ.ดูแลลูกจ้างที่นายจ้างเลื่อนหรือหยุดส่งเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพชั่วคราว หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19

จากกรณี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดประเภทธุรกิจ ระยะเวลา และเงื่อนไขให้ลูกจ้างหรือนายจ้างหยุดหรือเลื่อนการส่งเงินสะสม หรือเงินสมทบเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือ (Provident Fund) ในท้องที่ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

โดยให้ลูกจ้าง หรือนายจ้างที่ได้รับผลกระทบด้านฐานะการเงินจากโควิด-19 สามารถหยุดหรือเลื่อนการส่งเงินสะสม หรือเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการชั่วคราวได้ตั้งแต่งวดนำส่งเงินปัจจุบันจนถึงงวดนำส่งเงินของเดือน ธ.ค.63 และในกรณีที่นายจ้างหยุดหรือเลื่อนการนำส่งเงินสมทบ ลูกจ้างยังสามารถส่งเงินสะสมต่อเนื่องได้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. 63 ที่ผ่านมา

ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.จึงได้มีหนังสือถึงสมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และบริษัทจัดการลงทุนที่บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 63

พร้อมขอให้บริษัทจัดการลงทุนแนะนำนายจ้าง และคณะกรรมการกองทุนที่เลื่อนหรือหยุดส่งเงิน ดูแลและสื่อสารให้ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนเข้าใจเหตุผล ความจำเป็นในการเลื่อนหรือหยุดส่งเงิน และกลับมาส่งเงินโดยเร็วเมื่อมีความพร้อม เพื่อให้ลูกจ้างมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพียงพอใช้จ่ายภายหลังการเกษียณ

นอกจากนี้ ยังขอให้บริษัทจัดการลงทุนแจ้งการเลื่อนหรือหยุดส่งเงินสมทบหรือเงินสะสม และการกลับมาส่งใหม่ให้ ก.ล.ต. ทราบด้วย รวมทั้งหากนายจ้างไม่สามารถจัดให้มี PVD ต่อไปได้ ก.ล.ต. ขอให้บริษัทจัดการลงทุนดำเนินการเพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและรับทราบเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ