ย้อนสถิติวิกฤติซับไพรม์ ดันทองคำตลาดโลกพุ่งทะยาน 174 เปอร์เซ็นต์

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ย้อนสถิติวิกฤติซับไพรม์ ดันทองคำตลาดโลกพุ่งทะยาน 174 เปอร์เซ็นต์

Date Time: 30 เม.ย. 2563 03:45 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • "วายแอลจี" เผยราคาทองคำยังอยู่ขาขึ้น แต่ในระยะสั้น แนะแบ่งขายหากราคายังไม่ผ่านแนวต้าน เผยระยะยาวมีลุ้นย้อนรอยวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ปี 51

"วายแอลจี" เผยราคาทองคำยังอยู่ขาขึ้น แต่ในระยะสั้น แนะแบ่งขายหากราคายังไม่ผ่านแนวต้าน เผยระยะยาวมีลุ้นย้อนรอยวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ปี 51

เมื่อวันที่ 29 เม.ย.63 นางพวรรณ์ นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (YLG) กล่าวว่า ในปีนี้แม้ทองคำจะเป็นขาขึ้น โดยล่าสุดก็ได้ปรับตัวสูงสุดในรอบเกือบ 8 ปี ซึ่งทำให้นักลงทุนเกิดความกังวล ในการตัดสินใจในการลงทุนว่า ควรขายทำกำไรหรือถือครองต่อไป ในภาวะเช่นนี้ฝ่ายวิเคราะห์ของ YLG มีคำแนะนำให้นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้มาก ควรถือทองคำเอาไว้บางส่วน เพื่อรอลุ้นราคาทดสอบเป้าหมายของปีนี้บริเวณ 1,788-1,795 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของช่วงเดือน ก.พ., ก.ย., ต.ค. ปี 2555 หรือ 27,500-27,600 บาทต่อบาททองคำ แต่หากไม่อยากแบกรับความเสี่ยง อาจแบ่งทองคำออกขายทำกำไร เมื่อราคาปรับตัวขึ้นเข้าใกล้แนวต้านบริเวณ 1,739-1,747 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 26,700-26,850 บาทต่อบาททองคำ สำหรับสัปดาห์นี้ผู้ที่ต้องการเข้าซื้ออาจทยอยซื้อสะสมหากราคาอ่อนตัวลงทดสอบกรอบแนวรับแรกบริเวณ 1,690 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 25,950 บาทต่อบาททองคำ โดยเผื่อเงินลงทุนไว้สำหรับเข้าซื้อบริเวณแนวรับถัดไป 1,647 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 25,300 บาทต่อบาททองคำ

สำหรับปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในระยะนี้ มาจากเงินทุนไหลเข้ากองทุน ETFs ทองคำทั่วโลก และการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลก จะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินเพิ่มเติม เพื่อรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้เมื่อเทียบเคียงจากสถิติในอดีต หลังเกิดวิกฤติซับไพรม์ในปี 2551 เป็นผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ควบคู่ไปกับการอัดฉีดเงิน QE ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง รวมถึงกระตุ้นความวิตกว่า การอัดฉีดเงินในปริมาณมากเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนั้น อาจผลักดันให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง (Hyperinflation) ครั้งนั้นราคาทองคำในตลาดโลกทะยานขึ้นสูงจาก 700 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในเดือน พ.ย.2551 ไปสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1,920 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในเดือน ก.ย.2554 นั่นเท่ากับว่าราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมากถึง 1,220 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 174% ส่วนราคาทองคำในประเทศปรับตัวสูงขึ้นจาก 12,100 บาทต่อบาททองคำในเดือน พ.ย.2551 สู่ระดับ 26,850 บาทต่อบาททองคำในเดือน ก.ย. 2554 หรือปรับตัวขึ้นมากถึง 14,750 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 121% 

ดังนั้นหากพิจารณาจากสถิติแล้ว จึงมีความเป็นไปได้ที่ระยะยาวราคาทองคำจะปรับขึ้นอีกมาก ตราบเท่าที่สภาพแวดล้อมทางการเงินยังผ่อนคลายดังเช่นปัจจุบัน อย่างไรก็ดีราคาจะสามารถขึ้นในเปอร์เซ็นต์ที่มากเท่าหลังวิกฤติซับไพรม์ได้นั้น จะต้องมีการทะลุผ่านแนวต้านสำคัญทางเทคนิคในระดับต่างๆ พร้อมกันนี้จะต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานเข้ามาผลักดันเพิ่มเติม โดยเฉพาะความต้องการดอลลาร์สหรัฐฯ ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันจะต้องบรรเทาลง ขณะที่ความวิตกเกี่ยวกับการอ่อนค่าของสกุลเงินและภาวะเงินเฟ้อจะต้องเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับที่เกิดความวิตกดังกล่าวในช่วงปี 2551


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ