AI ไม่ใช่เวทมนตร์ เปิด 4 ความจริงที่องค์กรต้องเข้าใจก่อนลงทุน

Experts pool

Columnist

Tag

AI ไม่ใช่เวทมนตร์ เปิด 4 ความจริงที่องค์กรต้องเข้าใจก่อนลงทุน

Date Time: 5 ม.ค. 2568 10:17 น.

Video

โลกร้อน ทำคนจนกว่าที่คิด "คาร์บอนเครดิต" โอกาสในเศรษฐกิจโลกใหม่

Summary

  • ในโลกธุรกิจปัจจุบัน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไม่ได้เป็นเพียงคำยอดฮิต แต่กลายเป็นพลังที่เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของหลายองค์กร อย่างไรก็ตาม การขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ AI มักนำไปสู่ความคาดหวังที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า

Latest


"ความเข้าใจที่ถูกต้อง" คือหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ทำให้องค์กรใช้ AI ได้มีประสิทธิภาพ WordSense บริษัทในเครือ Looloo Technology ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาโซลูชัน AI สำหรับประมวลผลภาษาไทยแบบครบวงจร ได้รวบรวมประสบการณ์และข้อมูลเพื่อให้ทุกองค์กรหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด พร้อมแนวทางการใช้ AI ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในธุรกิจ

ชวนดู 4 หลุมพรางสำคัญ และวิธีการแก้ไขเพื่อประยุกต์ใช้ AI ได้อย่างยั่งยืน

1. ความคาดหวังเกินจริงเกี่ยวกับผลลัพธ์ของ AI

หลายคนคาดหวังว่า AI จะสามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรได้อย่างรวดเร็ว เช่น การเพิ่มยอดขายอย่างก้าวกระโดด หรือการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานได้ทันที แต่ความจริงแล้ว AI ต้องใช้เวลาเรียนรู้จากข้อมูล และผลลัพธ์ที่ชัดเจนมักใช้เวลาหลายเดือนถึงปี

  • ความจริงแล้ว AI ต้องใช้เวลาเรียนรู้และปรับตัวจากข้อมูลที่ได้รับ

จากข้อมูลของ Global Artificial Intelligence กลุ่ม AI Global Community Insights เปิดเผยว่า AI อาจใช้เวลา 10-21 เดือน หรือราว 1-2 ปี นับตั้งแต่สำรวจและศึกษาธุรกิจ (Exploration) ซึ่งจะใช้เวลา 1-3 เดือน จากนั้นจะเข้าสู่ช่วงทดลองใช้ (Pilot Projects) 3-6 เดือน ก่อนจะเข้าสู่ใช้งานเต็มระบบ (Full-Scale Implementation) 6-12 เดือน จนถึงขั้นตอนสุดท้าย Ongoing ที่จะเริ่มเห็นผลลัพธ์จากการนำ AI มาใช้เต็มรูปแบบ สุดท้ายแล้วศักยภาพที่แท้จริงของ AI จะปรากฏขึ้นเรื่อย ๆ ตามการ Optimize ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่ “ต้องใช้เวลา”

กระบวนการทำงานของ AI ปกติ เมื่อถูกนำมาใช้ในองค์กร
กระบวนการทำงานของ AI ปกติ เมื่อถูกนำมาใช้ในองค์กร

แนวทางการแก้ไข : ให้เวลา AI ในการปรับตัวและเรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งระหว่างที่ AI กำลังทำงาน จะเริ่มเห็นผลลัพธ์ระยะสั้นบางอย่างตั้งแต่ช่วง Pilot Projects ขณะที่โซลูชันของ WordSense ได้แก่ ระบบแปลงเสียงพูดเป็นข้อความอัตโนมัติ (Speech-to-Text) และระบบแปลงเอกสารเป็นข้อความอัจฉริยะ (OCR) ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ทันที ไม่ต้องรอ AI เรียนรู้ใหม่ ลดเวลาและประหยัดทรัพยากร พร้อมเชื่อมต่อกับระบบเดิมที่มีอยู่แล้วในองค์กรได้ทันที

2.มายาคติเรื่องความสมบูรณ์แบบ 100% ของ AI

ความเข้าใจผิดอีกประการหนึ่งคือ AI ทำงานได้สมบูรณ์ 100% แท้จริงแล้ว AI ทำงานบนพื้นฐานของความน่าจะเป็น (Probability) จึงอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ เช่น การเข้าใจคำพูดของลูกค้าคลาดเคลื่อน หรือการแนะนำสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการ เป็นต้น

ความจริง :  AI เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดข้อผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม ไม่ใช่ระบบที่ไร้ที่ติ การยอมรับข้อจำกัดของ AI จะช่วยให้องค์กรใช้งานเทคโนโลยีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นสอดคล้องกับผลการวิจัยจาก Gartner ระบุว่า 85% ของโครงการ AI ในองค์กรมักไม่บรรลุเป้าหมาย เพราะการคาดหวังที่สูงเกินไป เพราะไม่เข้าใจข้อจำกัด

3.การประเมินต้นทุนต่ำเกินไป : AI ไม่ใช่ซอฟต์แวร์

หลายองค์กรมักประเมินต้นทุน AI ต่ำกว่าความเป็นจริง โดยมองว่าเป็นการลงทุนครั้งเดียว เหมือนการซื้อซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งความจริงแล้วการใช้ AI ต้องการเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง ข้อมูลที่มีคุณภาพ การปรับแต่งที่เหมาะสม  (Customization) กับการใช้งาน ตลอดจนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการแก้ไข : องค์กรต้องวางแพลนเรื่องต้นทุนระยะยาวสำหรับพัฒนา AI นอกจากเรื่องเงินทุนแล้ว ยังต้องอบรมบุคลากรให้พร้อม รวมถึงการปรับปรุงระบบและการเก็บข้อมูลก็เป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้อยากให้มองว่า AI คือการลงทุนเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในตลาดในระยะยาว

4.การวัดผลตอบแทน ROI แค่ตัวเลข : มิติที่มากกว่าเงิน

เมื่อพูดถึงการลงทุนใน AI หลายองค์กรมักจะเน้นถามว่า “AI จะช่วยเพิ่มยอดขายได้แค่ไหน?” 

การวัดความคุ้มค่าของ AI ไม่ควรถูกจำกัดเพียงตัวเลขทางการเงินระยะสั้น เช่น ยอดขาย เพิ่มกำไรลดต้นทุน ฯลฯ ทว่าผลตอบแทนจากการลงทุน AI มีมิติที่หลากหลายกว่านั้น อย่างการปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้า หรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม

ตัวอย่าง บริษัทที่ใช้ AI ระบบ Telesales สามารถแนะนำข้อเสนอที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้เฉพาะคน เปรียบเทียบกับบริษัทที่ใช้วิธีการเดิม ซึ่งอาจไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า อาจส่งผลให้บริษัทที่ไม่ใช้ AI สูญเสียส่วนแบ่งตลาด และโอกาสในการพัฒนาประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า

AI คือ “การลงทุน” เพื่อความอยู่รอดและความสำเร็จ

AI ไม่ใช่เวทมนตร์ แต่คือเครื่องมือที่ต้องใช้ความเข้าใจและการวางแผนที่เหมาะสม ธุรกิจที่เริ่มลงทุนใน AI อย่างถูกต้อง จะสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงพลวัตการแข่งขันในตลาดได้อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น การมุ่งเน้นเพียงผลตอบแทนการลงทุนระยะสั้นของผู้ตัดสินใจ (Decision Maker) อาจส่งผลเสียต่อการเติบโตในระยะยาวขององค์กร 

ทดลองใช้ฟรี! 


Author

สหพัฒณ์ ล้ำสมบัติ

สหพัฒณ์ ล้ำสมบัติ
CEO บริษัท เวิร์ดเซนส์ จำกัด บริษัทในเครือ Looloo Technology ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน OCR โดยเฉพาะ OCR Handwriting แปลงลายมือภาษาไทยเป็นข้อความดิจิทัล