อินโดรามา เวนเจอร์ส ถอนคันเร่ง ซื้อกิจการ เร่งลดหนี้ รับมือรายได้ลดจาก “สินค้าจีน” ตีตลาด

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

อินโดรามา เวนเจอร์ส ถอนคันเร่ง ซื้อกิจการ เร่งลดหนี้ รับมือรายได้ลดจาก “สินค้าจีน” ตีตลาด

Date Time: 4 เม.ย. 2567 14:56 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • อินโดรามา เวนเจอร์ส ถอนคันเร่ง ซื้อกิจการ ปรับกลยุทธ์มุ่งปั้นงบดุล ลดภาระหนี้ หลังรายได้ลด เพราะถูกสินค้าจีนตีตลาด

อินโดรามา เวนเจอร์ส หรือที่หลายคนอาจรู้จักกันในนาม IVL บริษัทเคมีภัณฑ์ระดับโลกที่มีฐานอยู่ในประเทศไทย ถอนการเข้าซื้อกิจการ เพื่อมุ่งเน้นการจัดการหนี้ ปั้นงบดุลให้แข็งแกร่ง หลังรายได้หดจากสินค้าจีนตีตลาด

Aloke Lohia (อาลก โลเฮีย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์กับ Nikkei Asia ว่า แม้ที่ผ่านมา การเข้าซื้อกิจการอย่างจริงจัง จะเป็นกลยุทธ์ที่ "ประสบความสำเร็จอย่างมาก" เนื่องจากช่วยให้บริษัทเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงการซื้อบริษัท StarPet ในสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมทางธุรกิจกำลังเปลี่ยนไป เช่น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ดังนั้นการสร้างธุรกิจที่มีความยืดหยุ่น จะต้องให้ความสำคัญกับการมีงบดุลที่แข็งแกร่ง" และ "กระแสเงินสดที่ดี" 

ในปีนี้บริษัทจึงวางแผนลดหนี้สินที่มีภาระผูกพันดอกเบี้ย (Interest Bearing Debt) ลงเหลือ 2.5 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นประมาณ 40% 

ทั้งนี้สาเหตุที่อินโดรามา เปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินงานที่เน้นควบรวมกิจการ เพื่อเร่งการเติบโตของธุรกิจ กลับมาให้ความสำคัญกับการปั้นงบดุลให้แข็งแกร่ง นั้นเป็นผลมาจากการที่ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทประสบปัญหารายได้ ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2566 บริษัทขาดทุนสุทธิถึง 310 ล้านดอลลาร์ 

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการหลั่งไหลเข้ามาของผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์จากจีนที่ เข้ามาตีตลาด ท่ามกลางอุปสงค์ที่ซบเซาและอุปทานที่ล้นตลาด ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น เนื่องจากการทยอยปิดตัวของโรงกลั่น น้ำมันในยุโรปปิดตัวมากขึ้นท่ามกลางการผลักดันไปสู่การลดคาร์บอน

สำหรับกลยุทธ์การดำเนินงานปีนี้ บริษัทจะพิจารณาปิดโรงงาน 6 แห่ง ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่มีต้นทุนการดำเนินงานสูง และลดจำนวนพนักงานลง ควบคู่ไปกับการขายธุรกิจเคมีภัณฑ์ในสหรัฐฯ และตั้งเป้าระดุมมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ผ่านการเสนอขาย IPO ในสหรัฐฯ และยุโรป รวมถึงธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในเอเชีย ทั้งนี้อินโดรามายังวางแผนที่จะลดกำลังการผลิตลง 10% จากระดับปี 2566 ขณะเดียวกันก็เพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงงานอีก 15%

สำหรับเป้าหมายระยะยาว อินโดรามาตั้งเป้ามีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อม (EBITDA) 2.1 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2569 เพิ่มขึ้นมากกว่า 60% จากปีงบประมาณ 2566 และรักษารายได้ให้คงที่ประมาณ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งวิธีดังกล่าวจะช่วยลดอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อ EBITDA ลงเหลือ 3% จากระดับ 5 ในปัจจุบัน

อ้างอิง

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ