โดยเฉพาะความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ที่ยังคงยืดเยื้อ ขณะเดียวกัน สิ่งที่ต้องติดตามกันในปีนี้ และอาจมีผลกระทบต่อ “ทิศทางเศรษฐกิจไทย” ก็คือ ตลอดทั้งปีนี้ จะมีการเลือกตั้งระดับชาติ อย่างน้อย 60 ประเทศ ทั่วโลก รวมถึงสหรัฐอเมริกา ที่คาดว่า จะเป็นอีกปีหนึ่ง ที่การเมือง ดุเดือด อีกด้วย
ข้อมูลจาก SCB EIC (ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์) เผยว่า การเลือกตั้งใหญ่กว่า 60 ประเทศ มีผลครอบคลุมขนาดเศรษฐกิจราว 60% ของเศรษฐกิจโลก โดยหลายการเลือกตั้งนั้น มีนัยต่อทิศทางเศรษฐกิจของหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย
อีกทั้ง ผลที่เปลี่ยนแปลง ในแง่ตัวผู้นำประเทศ จะส่งต่อถึง ประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะ การแบ่งขั้วระหว่างจีน กับ สหรัฐฯ
การเลือกตั้งของสหรัฐฯ จับตา ทรัมป์ กลับมาผงาด
สหรัฐฯ ผู้กุม GDP โลก ราว 25% โดยการเลือกตั้งประธานาธิบดี จะเกิดขึ้น พ.ย. ปี 2024 ซึ่งคาดว่าจะเป็นการแข่งขันระหว่าง Joe Biden และ Donald Trump ซึ่งหาก Trump ชนะ อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ได้แก่
การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรป ช่วง เดือน มิ.ย. จะมีผลต่อการกำหนดทิศทางนโยบายสำคัญของ EU โดยเฉพาะการปรับข้อกำหนดทางการคลัง การเคลื่อนย้ายแรงงาน และการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ยังมีการเลือกตั้งทั่วไปในหลายประเทศ เช่น โปรตุเกส ออสเตรีย เป็นต้น
การเลือกตั้งประธานาธิบดี ของแอฟริกาใต้ จะเกิดขึ้นช่วง พ.ค.-ส.ค.นี้ โดย หนึ่งในพรรคขนาดใหญ่อาจได้ร่วมรัฐบาล ซึ่งสนับสนุนนโยบายประชานิยมสุดโต่ง ในภาวะที่เศรษฐกิจแอฟริกาเผชิญปัญหา เศรษฐกิจและสังคมรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา
เป็นที่น่าจับตามอง เนื่องจาก การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี ของสหราชอาณาจักร ที่จะเกิดขึ้นใน ช่วงครึ่งหลังของปี มีความเสี่ยงสูงที่จะไม่มีผู้ชนะการเลือกตั้ง ด้วยคะแนนเสียงสูงมากพอ ที่จะทำให้การบริหาร ประเทศราบรื่น เนื่องจาก ตั้งแต่ปี 2019 คน สหราชอาณาจักรเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีบ่อยถึง 4 ครั้ง
การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของอินเดีย มีขึ้นช่วง เม.ย.-พ.ค. ซึ่งตามรายงานข่าว นายกรัฐมนตรี Narendra Modi มีฐาน เสียงสนับสนุนสูง จึงคาดว่านโยบาย สนับสนุนภาคการผลิต อุตสาหกรรม เทคโนโลยี และการเชื่อมโยงระหว่าง ภูมิภาค จะยังคงดำเนินต่อไปได้ แต่ต้องจับตาความสัมพันธ์อินเดียกับ สหรัฐฯ และการวางตัวทางภูมิรัฐศาสตร์ อีกครั้ง
เป็นที่ชัดเจนแล้ว ว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดี ของไต้หวัน เมื่อ 13 ม.ค. พรรค DPP ได้รับการชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 ติดต่อกัน และมีแนวโน้มคงความสัมพันธ์ กับจีนตามนโยบายเดิม (Status quo) จึงคาดว่าความตึงเครียดระหว่างไต้หวัน และจีนจะคงอยู่
อย่างไรก็ดี DPP อาจออกนโยบายของ ได้ยากขึ้น เพราะเสียเก้าอี้ส่วนใหญ่ ในสภานิติบัญญัติไป ขณะที่พรรค KMT (นโยบายเป็นมิตรต่อจีนมากกว่า) ได้ เก้าอี้มากสุด
การเลือกตั้งประธานาธิบดี ช่วงเดือน ก.พ.นี้ จะมีนัยสำคัญต่อนโยบายเศรษฐกิจ เช่น การย้ายเมืองหลวง จากจาการ์ตา เป็น นูซันตารา ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนสูง รวมถึง มาตรการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ การพัฒนาอุตสาหกรรม ปลายน้ำ และนโยบายห้ามส่งออกแร่ที่ยังไม่แปรรูปบางชนิด อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้โลกมีความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มขึ้น จากการเลือกตั้งเกิดขึ้นในหลายประเทศสำคัญที่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย แต่รัฐบาลไทย เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกสามารถฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการเร่งรัดการใช้งบประมาณปี 2567 ที่มีผลต่อ การลงทุนภาครัฐ เป็นต้น
ที่มา : SCB EIC