มาตรการคว่ำบาตรไม่เป็นผล รัสเซียใช้ทริก หลบตะวันตกแบนน้ำมัน ดันรายได้ส่งออกพุ่ง

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

มาตรการคว่ำบาตรไม่เป็นผล รัสเซียใช้ทริก หลบตะวันตกแบนน้ำมัน ดันรายได้ส่งออกพุ่ง

Date Time: 26 ก.ย. 2566 15:39 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • มาตรการคว่ำบาตร กีดกันราคาน้ำมันรัสเซียของชาติตะวันตกไม่เป็นผล หลังแนวโน้มรายได้จากการส่งออกน้ำมันรัสเซียเพิ่มขึ้น โดยได้แรงหนุนจาก 3 ปัจจัย ราคาน้ำมันดิบพุ่ง ลดราคาดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ และงดส่งออกน้ำมันในตลาดโลก

Latest


นับตั้งแต่สหภาพยุโรป (EU) และสหรัฐฯ ร่วมมือกันใช้มาตรการคว่ำบาตร กีดกันราคาน้ำมันรัสเซีย ซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศรัสเซีย เพื่อตอบโต้การรุกรานอธิปไตยของยูเครน ป้องกันไม่ให้รัสเซียได้ประโยชน์ และเงินทุนในการทำสงคราม


โดย G7 หรือกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มประเทศในยุโรปกับสหรัฐฯ ได้ออกมาตรการกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซียไว้ที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2565 จนถึงปัจจุบัน 


การกำหนดเพดานราคาน้ำมันครั้งนี้ จะอนุญาตให้เฉพาะน้ำมันรัสเซียที่มีราคาไม่เกิน 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล สามารถใช้บริการเรือบรรทุกน้ำมัน บริษัทประกันภัย และผู้ให้สินเชื่อต่างๆ ของกลุ่ม G7 และ EU ได้

ซึ่งจะกดดันให้รัฐบาลรัสเซียไม่สามารถขายน้ำมันในราคาสูงกว่าเพดานที่กำหนดได้ เนื่องจากบริษัทขนส่งทางเรือ และบริษัทประกันภัยรายใหญ่ต่างอยู่ในประเทศกลุ่ม G7

แต่จากรายงานล่าสุดของสำนักข่าว Financial Times พบว่า รัสเซียประสบความสำเร็จในการหลีกเลี่ยง การคว่ำบาตรในการส่งออกน้ำมันส่วนใหญ่ในเดือนสิงหาคม รัสเซียสามารถขนส่งน้ำมันดิบ ทางทะเลด้วยอัตราส่วน 3 ใน 4 ของกระแสการขนส่งน้ำมันดิบทางทะเลทั้งหมด โดยไม่ต้องพึ่งพาบริษัทประกันภัยในยุโรป ซึ่งปริมาณการขนส่งเพิ่มขึ้น 50% ในฤดูใบไม้ผลินี้ ตามข้อมูลจากบริษัทวิเคราะห์การขนส่งสินค้า Kpler และบริษัทประกันภัย ปริมาณการขนส่งน้ำมันที่ เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของรัสเซียในการหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตร ส่งผลให้สามารถขายน้ำมันได้มากขึ้น ในราคาที่ใกล้เคียงกับตลาดโลก ท่ามกลางสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบที่พุ่งสูงขึ้นสู่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

Kyiv School of Economics (KSE) บัณฑิตวิทยาลัยชั้นนำด้านเศรษฐศาสตร์และการบริหาร ในยูเครน ประมาณการว่า รายได้จากการขายน้ำมันของรัสเซียในปีนี้ มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างน้อย 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยมีปัจจัยหนุนมาจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ประกอบกับความสำเร็จของรัสเซียในการดึงดูดกลุ่มลูกประเทศใหม่ๆ ผ่านการให้ส่วนลดราคาน้ำมัน อีกทั้งสัปดาห์นี้รัสเซียยังประกาศงดส่งออกน้ำมันดีเซลและพลังเชื้อเพลิงอื่นๆ ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกให้กับตลาดน้ำมัน 

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกระแสการส่งออกน้ำมันครั้งนี้ ไม่เพียงแต่จะเพิ่มสัดส่วนปริมาณการส่งออกน้ำมันรัสเซีย ให้เกินกว่ามาตรการกำหนดเพดานราคาน้ำมัน แต่ยังเพิ่มอำนาจในการกำหนดราคาน้ำมัน ในฐานะผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ท่ามกลางสถานการณ์ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งแตะระดับ 95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือนในสัปดาห์นี้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ