จีนเดินเกม ส่งแบงก์ใหญ่ปล่อยกู้รัสเซียเพิ่ม ดันหยวนเป็นสกุลเงินสำรองแทนดอลลาร์

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

จีนเดินเกม ส่งแบงก์ใหญ่ปล่อยกู้รัสเซียเพิ่ม ดันหยวนเป็นสกุลเงินสำรองแทนดอลลาร์

Date Time: 4 ก.ย. 2566 16:06 น.

Video

โมเดลธุรกิจ Onlyfans ทำไมถึงมีแต่ได้กับได้ ? บริษัทมั่งคั่ง คนทำก็รวย | Digital Frontiers

Summary

  • สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า 4 ธนาคารยักษ์ใหญ่ในจีน ขยายการปล่อยกู้หลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับธนาคารรัสเซีย เพื่อส่งเสริมเงินหยวนให้เป็นสกุลเงินสำรองแทนที่ดอลลาร์ ในช่วงปีแรกของสงครามรัสเซีย-ยูเครน

Latest


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า 4 ธนาคารยักษ์ใหญ่ในจีน ขยายการปล่อยกู้หลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับธนาคารรัสเซีย ท่ามกลางการคว่ำบาตรของสถาบันการเงินในยุโรป ในช่วงปีแรกของสงครามรัสเซีย-ยูเครน


การเคลื่อนไหวของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของจีนสี่แห่ง เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของจีน ในการส่งเสริมเงินหยวนให้เป็นสกุลเงินสำรองแทนที่ดอลลาร์


จากข้อมูลของธนาคารกลางรัสเซีย พบว่า 4 ธนาคารยักษ์ใหญ่ของจีน ได้แก่

  • The Industrial and Commercial Bank of China
  • Bank of China
  • China Construction Bank
  • Agricultural Bank of China

ได้เพิ่มเงินกู้ให้กับธนาคารรัสเซียถึงสี่เท่า เป็น 9.7 พันล้านดอลลาร์ (3.4 แสนล้านบาท) จากเดิมที่ 2.2 พันล้านดอลลาร์ (7.7 แสนล้านบาท) ในช่วง 14 เดือนที่ผ่านมา จนถึงเดือนมีนาคมปีนี้


ในขณะที่ธนาคาร Raiffeisen ของออสเตรีย ซึ่งเป็นธนาคารต่างประเทศที่มีการลงทุนในธนาคารรัสเซียสูงที่สุด ได้เพิ่มการถือครองสินทรัพย์มากกว่า 40% เป็น 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์ (1 ล้านล้านบาท) จาก 2 หมื่นล้านดอลลาร์ (7 แสนล้านบาท)


แต่ล่าสุดธนาคาร Raiffeisen เปิดเผยว่า กําลังหาวิธีถอนตัวออกจากประเทศรัสเซีย และได้ทำการลดสินทรัพย์ลงเหลือ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ (8.8 แสนล้านบาท) ตั้งแต่เดือนมีนาคม


การเพิ่มขึ้นของการซื้อขายเงินหยวน เน้นย้ำถึงการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจของรัสเซียไปยังจีน เนื่องจากการค้าระหว่างทั้งสองประเทศ มีมูลค่าสูงถึง 1.85 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2565 ในขณะที่ปริมาณการใช้สกุลเงินดอลลาร์และยูโร เพื่อชำระเงินสำหรับการส่งออกลดลงเหลือน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง โดยปริมาณการชำระเงินด้วยสกุลเงินหยวนเพิ่มขึ้นเป็น 16%


ก่อนหน้าที่จะเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน พบว่ารัสเซียใช้สกุลเงินดอลลาร์และยูโร ในการชำระเงินสินค้าส่งออก มากกว่า 60% และสัดส่วนการชำระเงินด้วยสกุลเงินหยวนคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 1%.

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ