เวิลด์แบงก์ เตือน ปี 66 เศรษฐกิจถดถอยคืบคลานทั่วโลก หั่น GDP สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปี

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เวิลด์แบงก์ เตือน ปี 66 เศรษฐกิจถดถอยคืบคลานทั่วโลก หั่น GDP สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปี

Date Time: 11 ม.ค. 2566 16:23 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • ธนาคารโลก เตือน ปี 66 เศรษฐกิจถดถอยคืบคลานหลายประเทศ หั่น GDP เหลือ 1.7% โตช้าสุดนับตั้งแต่ปี 2536 ตลาดเกิดใหม่น่าห่วงสุด หลังเผชิญหนี้ท่วม เฝ้าระวังวิกฤติซัพพลายเชน กดดันเศรษฐกิจเลวร้ายลง

Latest


ธนาคารโลก เตือน ปี 2566 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยคืบคลานในหลายประเทศ พร้อมหั่น GDP ทั่วโลกเหลือโต 1.7% โตช้าสุดนับตั้งแต่ปี 2536 ตลาดเกิดใหม่น่าห่วงสุด หลังเผชิญภาวะหนี้ท่วม เฝ้าระวังวิกฤติซัพพลายเชน อาจกดดันเศรษฐกิจเลวร้ายลง

หั่น GDP ทั่วโลกเหลือโต 1.7% โตช้าสุดนับตั้งแต่ปี 2536

ธนาคารโลก (World Bank) ปรับคาดการณ์การเติบโตในปี 2566 ลงเหลือระดับที่ใกล้จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในหลายประเทศ โดยในรายงาน Global Economic Prospects ฉบับล่าสุด มีการคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของทั่วโลก (GDP) เหลือเติบโตเพียง 1.7%

จากเดิมที่มีการคาดการณ์และเผยแพร่รายงานเมื่อช่วงเดือนมิถุนายนปี 2565 ว่าจะเติบโตที่ประมาณ 3.0% ซึ่งเป็นอัตราที่สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 2536 ที่นอกเหนือจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2552 ที่กระทบจากวิกฤติซับไพรม์ และ 2563 ที่กระทบจากวิกฤติโควิด

ตลาดเกิดใหม่น่าห่วงสุด หลังเผชิญภาวะหนี้ท่วม

ทั้งนี้ธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ลงเหลือ 0.5% อาจบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบใหม่ทั่วโลกน้อยกว่า 3 ปี หลังจากเกิดครั้งล่าสุด

ขณะที่การเติบโตของจีนในปี 2565 ที่ผ่านมาลดลงเหลือ 2.7% ซึ่งเป็นอัตราที่ช้าที่สุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่กลางปี 1970 ซึ่งเป็นระยะแรกของการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน เนื่องจากข้อจำกัดจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของรัฐบาลจีน อีกทั้งยังมีความวุ่นวายในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อการบริโภค การผลิต และการลงทุน

ในปี 2566 ธนาคารโลกคาดว่าการเติบโตของจีนจะดีดตัวขึ้นเป็น 4.3% แต่ต่ำกว่าการคาดการณ์ในเดือนมิถุนายน 0.9%

ส่วนการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ และประเทศที่กำลังพัฒนา ต่างเผชิญความท้าทายกับภาระหนี้จำนวนมหาศาล เงินที่อ่อนค่า รวมถึงการลงทุนของภาคธุรกิจที่ชะลอตัวลง โดยธนาคารโลกคาดว่าแนวโน้มการลงทุนธุรกิจจะเติบโตในอัตรา 3.5% ต่อปีในช่วง 2 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นอัตราที่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอัตราการเติบโคในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

เฝ้าระวังวิกฤติซัพพลายเชน อาจกดดันเศรษฐกิจเลวร้ายลง

สำหรับสาเหตุที่กดดันการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของโลกนั้น เป็นการรับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางที่ทวีความรุนแรงขึ้น ความยืดเยื้อของสงครามของรัสเซียในยูเครน

ทั้งนี้ธนาคารโลกยังระบุอีกว่า ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่เปราะบาง การพัฒนาเชิงลบ อย่างอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าที่คาดไว้ จนนำมาสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างกะทันหันเพื่อควบคุมการกลับมาระบาดอีกครั้งของโควิด ตลอดจนความตึงเครียดทางการเมืองที่ทวีความรุนแรงขึ้น เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยทั้งสิ้น

แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเริ่มลดลงเมื่อช่วงสิ้นปี 2565 จากการที่ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง แต่ยังมีความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังอยู่ โดยเฉพาะการเกิดวิกฤติซัพพลาย ที่อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจสูงขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจกดดันธนาคารกลางตอบโต้ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าที่คาดไว้ ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกเลวร้ายลงกว่าเดิม.

ที่มา : Reuters


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ