“หนี้สาธารณะ” ท่วมโลก

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“หนี้สาธารณะ” ท่วมโลก

Date Time: 17 ต.ค. 2567 04:35 น.

Summary

  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้เผยแพร่รายงาน “ติดตามสถานการณ์การคลัง” (Fiscal Monitor) พบข้อมูลที่น่าตกใจเกี่ยวกับ “หนี้สาธารณะ” ของโลก

Latest

“มะพร้าวเวียดนาม” อาจเป็นคู่แข่ง ที่แข็งแกร่งของมะพร้าวไทย ในตลาดจีน ผลผลิตสูง-ราคาถูก

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้เผยแพร่รายงาน “ติดตามสถานการณ์การคลัง” (Fiscal Monitor) พบข้อมูลที่น่าตกใจเกี่ยวกับ “หนี้สาธารณะ” ของโลก

ที่มีแนวโน้มแตะ 100 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 3,340 ล้านล้านบาท คิดเป็น 93% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของโลกภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งมีแรงหนุนจากสหรัฐฯ และจีน

และคาดว่า หนี้สาธารณะทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นใกล้เคียง 100% ของจีดีพีภายในปี 2573 โดยประเทศที่จะมีหนี้สาธารณะเพิ่ม เช่น สหรัฐฯ บราซิล ฝรั่งเศส อิตาลี แอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร

สาเหตุก่อหนี้เพิ่ม ส่วนใหญ่มาจากแรงกดดันทางการเมือง ที่ขัดขวางแผนลดการใช้จ่าย รวมถึงประเทศต่างๆยังมีภาระด้านการสนับสนุนพลังงานสะอาด สัดส่วนประชากรสูงอายุมากขึ้น และการเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ

แม้ว่าระดับหนี้ประเทศพัฒนาแล้ว ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงโควิด-19 แต่ก็ยังคงสูงถึง 134% ของจีดีพี ส่วนตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ระดับหนี้เพิ่มเป็น 88% ของจีดีพี

โดยประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงอยู่แล้ว มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งประเทศเหล่านี้ มีสัดส่วนหนี้สาธารณะรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของหนี้สาธารณะโลก หรือเกือบ 2 ใน 3 ของจีดีพีโลก

ไอเอ็มเอฟ คาดการณ์อย่างเลวร้ายที่สุดว่า ภายใน 3 ปี หรือปี 2570 ประเทศเหล่านี้ จะมีสัดส่วนหนี้สาธารณะพุ่งเป็นถึง 115% ของจีดีพี สูงกว่าคาดการณ์ถึง 20% สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างมากต่อเสถียรภาพทางการเงินโลก

เนื่องจากหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูง จะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเปราะบางมากขึ้น ต้นทุนการเงินสูงขึ้น และจะยิ่งทำให้สถานการณ์หนี้รุนแรงมากขึ้น

และจากการที่อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยของหลายประเทศทั่วโลกลดลง ถือเป็นโอกาสสำคัญที่รัฐบาลทั่วโลกควรเร่งดำเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูง

แต่จากข้อมูลที่ไอเอ็มเอฟได้รวบรวมนั้น พบว่า ประเทศต่างๆยังขาดความเร่งด่วนในการดำเนินมาตรการแก้ปัญหาหนี้ อีกทั้งแผนการคลังที่รัฐบาลต่างๆกำหนดขึ้นในขณะนี้ยังไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืน และมีความเป็นไปได้ต่ำที่จะทำให้ระดับหนี้สินลดลง หรือคงที่ในระยะยาว

ขณะที่ฝั่งไทยหนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 67 มียอดคงค้างกว่า 11.47 ล้านล้านบาท หรือ 63.37% ของจีดีพี และ ณ สิ้นปีงบ 2567 คาดจะอยู่ที่ 65% ส่วนสิ้นปีงบ 2568 คาดจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 66%

แต่ในปีงบ 2569 จะเริ่มนิ่งขึ้น และจะลดลงในปีงบ 2570 ตามแผนการก่อหนี้ของรัฐบาล “น.ส.แพทองธาร ชินวัตร” ถ้าเป็นไปได้ตามนี้จริงจะดีมาก เพราะคนไทยไม่อยากแบกหนี้หลังแอ่น ใช้หนี้ที่ตนเองไม่ได้ก่ออีกแล้ว!!

ฟันนี่เอส

คลิกอ่านคอลัมน์ “กระจก 8 หน้า” เพิ่มเติม


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ