ปรับเกณฑ์ LTR Visa ชนิดพิเศษ ดึงต่างชาติ “คนรวย - คนเก่ง” เข้าไทย หวังเป็น ศูนย์กลาง Talent

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ปรับเกณฑ์ LTR Visa ชนิดพิเศษ ดึงต่างชาติ “คนรวย - คนเก่ง” เข้าไทย หวังเป็น ศูนย์กลาง Talent

Date Time: 15 ม.ค. 2568 13:52 น.

Video

เจาะวิธีทำเงินของ Yahoo ยักษ์ที่ยอมเป็นเงา เพื่อเอาตัวรอด | Digital Frontiers

Summary

  • รัฐบาลเตรียมปรับเกณฑ์ เงื่อนไขของ LTR Visa ชนิดพิเศษ ดึงชาวต่างชาติกลุ่มศักยภาพสูง “คนรวย - คนเก่ง” อยู่อาศัยในประเทศไทย หวังเป็น ศูนย์กลาง Talent ระดับโลก พบ ยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น กลุ่มมาแรง !

Latest


ปัจจุบันประเทศไทยมีวีซ่าชนิดพิเศษที่เรียกว่า Long-Term Resident Visa หรือ LTR Visa ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่รัฐบาลต้องการใช้เพื่อช่วยดึงดูดบุคลากรต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้ามาสู่ประเทศไทย


- ประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy Global Citizen)
- ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy Pensioners)
- ผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work-from-Thailand Professionals)
- ผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (Highly Skilled Professionals)

ครอบคลุมถึงผู้ติดตามโดยชอบด้วยกฎหมายอย่างคู่สมรสและบุตรอายุไม่เกิน 20 ปี (จำกัดจำนวน) สอดคล้องกับแนวโน้มการโยกย้ายฐานการลงทุนทั่วโลกจากปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความขัดแย้งของหลายประเทศที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้น

ประกอบกับโอกาสทางธุรกิจที่เปิดกว้างมากขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานการทำงานและการพำนักระยะยาวของบุคลากรต่างชาติมากขึ้น

ซึ่งประเทศไทยถูกยกว่าเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญของกลุ่มนักลงทุนและบุคลากรคุณภาพสูงจากทั่วโลก ทำให้การดึงดูดบุคลากรในกลุ่มนี้ถูกมองเป็นโอกาสที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของภาคธุรกิจ เกิดเม็ดเงินในการใช้จ่ายของชาวต่างชาติกระจายไปยังภาคส่วนต่าง ๆ

เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และยกระดับไทยสู่ศูนย์กลาง Talent ระดับโลกอีกด้วย

LTR Visa ดึงดูดชาวต่างชาติแล้ว 6,000 ราย ทั่วโลก

ซึ่งตั้งแต่มีการเปิดตัว LTR Visa ไป ล่าสุดผู้รับผิดชอบหลักอย่างคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เผยว่าปัจจุบันบีโอไอได้อนุมัติ LTR Visa ให้กับบุคลากรต่างชาติศักยภาพสูงแล้วทั้งสิ้นกว่า 6,000 รายจากทั่วโลก

โดยกลุ่มคนดังกล่าวจะสามารถพำนักในประเทศไทยได้ 10 ปี ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่เดินทางเข้าออกประเทศ อีกทั้งจะได้รับอนุญาตให้ทำงาน โดยลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษเหลือ 17% และยังได้รับการผ่อนปรนระยะเวลาการรายงานตัวกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจากปกติทุก 90 วัน เป็นปีละ 1 ครั้งด้วย

โดยกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดคือยุโรป (2,500 คน) รองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (1,080 คน) ญี่ปุ่น (610 คน) จีน (340 คน) และอินเดีย (280 คน) ตามลำดับ ขณะล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์รายละเอียดของ Visa ดังกล่าวให้ขอบเขตของแต่ละกลุ่มขยายมากขึ้น ก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้อีกครั้ง ในสาระสำคัญ ดังนี้

1.ขยายขอบเขตของอุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษให้ครอบคลุมอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาในสาขาต่าง ๆ เพื่อให้มาช่วยยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรไทย

2.ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานของกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ และผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานจากประเทศไทยให้กับนายจ้างในต่างประเทศ เพื่อลดความซ้ำซ้อนกับคุณสมบัติอื่น ๆ ที่แสดงถึงความรู้ความสามารถและศักยภาพของชาวต่างชาติทั้งสองประเภทได้ดีอยู่แล้ว เช่น รายได้ขั้นต่ำ วุฒิการศึกษา การทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และความมั่นคงของนายจ้างในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มความน่าดึงดูดของมาตรการและสามารถเข้าถึงกลุ่ม Talent จำนวนมากขึ้น

3.ผ่อนคลายข้อกำหนดด้านรายได้สำหรับบริษัทนายจ้างในต่างประเทศของผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานจากประเทศไทย จากเดิมกำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 150 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับเป็น 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และให้รวมถึงบริษัทลูกที่มีบริษัทแม่ซึ่งมีรายได้ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐถือหุ้นทั้งสิ้นด้วย เพื่อให้สามารถเข้าถึงพนักงานทักษะสูงของทั้งบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่และบริษัทที่กำลังเติบโต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ประเทศไทยยังขาดแคลน

4.ยกเลิกข้อกำหนดด้านรายได้สำหรับกลุ่มผู้ที่มีความมั่งคั่งสูง จากเดิมกำหนดรายได้ส่วนบุคคล 80,000 เหรียญสหรัฐต่อปี โดยจะมาให้ความสำคัญกับทรัพย์สินที่มั่นคงและการลงทุนระยะยาวในประเทศไทย (ไม่น้อยกว่า 500,000 เหรียญสหรัฐ) ของชาวต่างชาติกลุ่มนี้ มากกว่าการพิจารณารายได้ต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในประเทศมากขึ้น

5.ขยายสิทธิสำหรับผู้ติดตาม จากเดิมกำหนดเพียงคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ครอบคลุมถึงพ่อแม่และผู้อยู่ในอุปการะ โดยไม่จำกัดจำนวนผู้ติดตาม เช่นเดียวกับวีซ่าอีกหลายประเภท เพื่อช่วยเพิ่มความน่าสนใจของมาตรการสำหรับชาวต่างชาติที่ประสงค์ให้ครอบครัวเข้ามาพำนักในประเทศไทยด้วยกัน และยังช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในประเทศของสมาชิกครอบครัวชาวต่างชาติอีกด้วย

ที่มา : BOI

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ