กนง.กั๊กกระสุนเกาะติดเศรษฐกิจปี 68 คงดอกเบี้ย 2.25% ส่งท้ายปี

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

กนง.กั๊กกระสุนเกาะติดเศรษฐกิจปี 68 คงดอกเบี้ย 2.25% ส่งท้ายปี

Date Time: 19 ธ.ค. 2567 09:10 น.

Summary

  • กนง.คงดอกเบี้ย 2.25% รับส่งท้ายปลายปี มองเศรษฐกิจระยะสั้น ไทยยังไปได้ดี ทำให้ต้องเตรียมกระสุนต่อไว้เผื่อระยะข้างหน้า หากเศรษฐกิจทรุด พร้อมลดดอกเบี้ยในระยะต่อไป มองปีนี้โต 2.7% ปีหน้าโตเพิ่มเล็กน้อยเป็น 2.9% สั่งจับตานโยบายเศรษฐกิจประเทศหลัก สินเชื่อชะลอ–หนี้เสียเพิ่ม

Latest

"คุณสู้ เราช่วย" ลงทะเบียนแก้หนี้ อาจไม่ช่วย เมื่อคนไทยเป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้นาน เป็นหนี้ล้นพ้นตัว

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง.ครั้งสุดท้ายของปี 2567 ว่า กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.25% ต่อปี โดยว่าเศรษฐกิจไทยในระยะสั้น ไตรมาสที่ 4 และไตรมาสที่ 1 ของปีหน้าจะยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.7% และปี 2568 ขยับขึ้นเป็นขยายตัว 2.9% อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ 0.4% และ 1.1% อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยเผชิญความท้าทายจากการแข่งขันจากภายนอกที่รุนแรงขึ้น และความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะแนวนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก ที่จะมีความผันผวนจากสงครามการค้าที่จะรุนแรงขึ้น รวมทั้งความผันผวนจากการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน จะส่งผลต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้าและการลงทุนของไทยในระยะต่อไป

“กนง.มองว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่โน้มเข้าสู่กรอบเป้าหมาย ทำให้การรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่ปรับสูงขึ้นมีความจำเป็น เพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อาจจะทำให้เงินเฟ้อโลกลดลงกว่าที่คาด แต่ในการประชุมครั้งนี้ การส่งสัญญาณของ กนง.ค่อนข้างเปิดกว้างว่า หากเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าชะลอตัว หรือได้รับผลกระทบจากต่างประเทศมากกว่าที่คาดไว้ ก็สามารถที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินให้ผ่อนคลายลงได้”

สำหรับปี 2568 นายสักกะภพกล่าวว่า เศรษฐกิจไทยจะได้รับแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน และการส่งออกที่ดีขึ้น แต่การขยายตัวของเศรษฐกิจยังมีความแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน ทำให้เอสเอ็มอีและอุตสาหกรรมบางกลุ่มยังถูกกดดันจากความสามารถการแข่งขันที่ลดลง โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์มีพัฒนาการแย่ลงจากทั้งปัจจัยด้านราคาและความต้องการซื้อที่ลดลง ส่งผลให้การฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือนยังไม่ทั่วถึง

สินเชื่อชะลอลงในช่วงที่ผ่านมาจากความต้องการลงทุนในบางสาขาธุรกิจที่ลดลง และบางสาขาความเสี่ยงด้านเครดิตที่อยู่ในระดับสูงทำให้กู้ใหม่ได้ยาก โดยเฉพาะสินเชื่อของธุรกิจเอสเอ็มอี โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่การแข่งขันรุนแรงขึ้น หดตัวตามความเสี่ยงด้านเครดิตที่อยู่ในระดับสูง กนง.ขอให้ติดตามแนวโน้มการขยายตัวของสินเชื่อที่อาจจะชะลอลงและส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ