Talk of the town ทันที เมื่อพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยแนวคิดจัดการเรื่องภาษีใหม่ โดยหนึ่งในนั้น คือ การปรับโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากปัจจุบันที่จัดเก็บ 7% โดยมีแนวคิดจะปรับขึ้นภาษีสูงสุด 15% เพื่อให้สอดคล้องกับนานาประเทศนั้น สะท้อนความท้าทายด้านการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลไทย การจัดเก็บภาษีดังกล่าวทำให้เกิดคำถามว่า ภาษี VAT ของไทยอยู่ตรงไหนของอาเซียน
ทั้งนี้ภาพรวมของการจัดเก็บภาษี VAT ของไทยนั้นมีการเติบโตที่มากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นรายได้ก้อนหลักของประเทศ โดยจากรายงานของกระทรวงการคลัง พบว่า ในปีงบประมาณ 2567 ประเทศไทยจัดเก็บภาษีอยู่ที่ 9.47 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 9.13 แสนล้านบาท
ทั้งนี้หากพิจารณาจาก 10 ปีก่อน ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษี VAT อยู่ที่ 7.09 แสนล้านบาท และเมื่อคำนวณถึงการเติบโตในรายได้ด้านภาษี VAT ในช่วง 10 ปี พบว่า มีการขยายตัวสูงถึง 33% โดยหากดูตัวเลขการเติบโตดังกล่าว จะพบว่า ในอนาคตอันใกล้ มีความเป็นไปได้ว่า รายได้ของ VAT ไทยจะทะลุที่ 1 ล้านล้านบาทต่อปีได้ไม่ยากนัก
อย่างไรก็ตามแม้การจัดเก็บ VAT จะมีการเติบโตที่ดี แต่ระดับการจัดเก็บที่ 7% ยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
เช่น
มีเพียง เมียนมา ที่จัดเก็บ VAT อยู่ที่ 5% ซึ่งน้อยกว่าประเทศไทย และบรูไน ที่ไม่จัดเก็บภาษี
ในมุมมองของนักวิเคราะห์ พวกเขามองว่า การปฏิรูปภาษีเป็นผลดีกับการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐ โดย บล. เอเซีย พลัส ประเมินว่า คลังจ่อปรับโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่ จะกระทบภาคส่วนไหนบ้าง? วานนี้ รมว. คลัง เผยแนวทางในการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้แก่
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล อาจพิจารณาปรับลดการจัดเก็บภาษีเหลือ 15% (เดิม 20%) เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ ฝ่ายวิจัยฯ มองเป็นบวกต่อภาคธุรกิจมีกำไรเพิ่มขึ้น และการจ้างงานอาจเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอาจจัดเก็บภาษีได้น้อยลง ทำให้รายได้ลดลง
2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อาจพิจารณาปรับลดการจัดเก็บภาษีเหลือ 15% (เดิมเป็นอัตราก้าวหน้าของภาษีเงินได้สูงสุด 35%) หวังดึงดูดแรงงานมีฝีมือกลับไทย ฝ่ายวิจัยฯ มองเป็นบวกต่อกลุ่มผู้มีรายได้สูง ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อเพิ่มขึ้น ขณะที่รัฐบาลจะจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากกลุ่มผู้มีรายได้น้อย แต่ในทางกลับกัน รัฐบาลก็ต้องแลกมาด้วยการจัดเก็บภาษีของผู้มีรายได้สูงลดลง อีกทั้งโอกาสกระทบต่อกำลังซื้อของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีกระแสข่าวว่า เบื้องต้นรัฐบาลวางแผนปรับขึ้นภาษีเป็น 8% (เดิม 7%) ขณะที่ทั่วโลกมีการเก็บระหว่าง 15-25% เพื่อนำรายได้ภาษีช่วยผู้มีรายได้น้อย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผ่านการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน โดยฝ่ายวิจัยฯ มองเป็นบวกต่อการเพิ่มรายได้ของภาครัฐ ซึ่งจะลดขนาดการขาดดุล และลดความเสี่ยงต่อการถูกปรับลด CREDIT RATING แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งอาจกระทบโดยตรงต่อเงินเฟ้อเสี่ยงสูงขึ้น ซึ่งจะลดกำลังซื้อของผู้มีรายได้น้อย การบริโภคน้อยลง
เมื่อพิจารณาแหล่งรายได้ของรัฐบาลในงบประมาณปี 2567 (ต.ค.66 - ก.ย.67) ส่วนใหญ่มาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คิดเป็นสัดส่วน 28% และหากมีการปรับโครงสร้างภาษีให้มาอยู่ที่ฐาน 15% เบื้องต้น ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าจะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้มากกว่าที่สูญเสียไป