แปลงผืนป่าเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล “ศุภชัย” ปิ๊งขายคาร์บอนเครดิตเป็นเหรียญโทเคน

Money

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

แปลงผืนป่าเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล “ศุภชัย” ปิ๊งขายคาร์บอนเครดิตเป็นเหรียญโทเคน

Date Time: 9 ต.ค. 2567 08:39 น.

Summary

  • นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งซีอีโอของกลุ่มซีพีเมื่อปี 2560 ผ่านมา 7 ปี 1 ในภารกิจสำคัญของกลุ่มซีพี ซึ่งยังคงเดินหน้าทำอย่างต่อเนื่องคือการแก้ปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรและการรุกป่า

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ชี้คนไทยยังมีกำลังซื้อ นโยบายกระตุ้นบริโภค ไม่ช่วยฟื้นภาคการผลิต

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งซีอีโอของกลุ่มซีพีเมื่อปี 2560 ผ่านมา 7 ปี 1 ในภารกิจสำคัญของกลุ่มซีพี ซึ่งยังคงเดินหน้าทำอย่างต่อเนื่องคือการแก้ปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรและการรุกป่า

ซึ่งจากการเข้าไปแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง พบว่าการให้ที่ดินทำกินกับเกษตรกรเพียงแค่ให้เขาดำรงชีวิตอยู่ได้นั้น ยังไม่เพียงพอ แต่ต้องมีสิทธิประโยชน์จูงใจในการรักษาผืนป่า ที่ดินทำกินด้วยการสร้างระบบที่จะสร้างรายได้อย่างยั่งยืน ทำให้ชุมชนหันมารักษาผืนป่าอย่างจริงจัง “ที่ผ่านมา จากการลงพื้นที่แก้ปัญหา หากไม่สามารถสร้างโมเดลที่จูงใจพอที่จะทำให้ชาวบ้านไม่รุกป่า ไม่ถางป่า ไม่ว่าจะกี่สิบกี่ร้อยซีพี ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน เราต้องทำป่าให้มีค่าเท่ากับทอง เพราะจริงๆแล้ว ป่ามีค่ามากกว่าทองด้วยซ้ำ”

ทั้งนี้ ย้อนกลับไปเมื่อเดือน พ.ค.2560 นายศุภชัยเคยให้สัมภาษณ์กับ “ทีมเศรษฐกิจหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ในโอกาสเพิ่งขึ้นดำรงตำแหน่งซีอีโอของซีพีว่า ซีพีเป็นคู่ชีวิตกับเกษตรกร แม้จะเกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรไม่กี่ตัว ได้แก่ หมู ไก่ ข้าวโพด อย่างข้าว ซีพีเป็นเพียงผู้ซื้อ แล้วเอามาบรรจุถุงขายต่อในนามข้าวตราฉัตร กรณีข้าวโพด ซีพีถูกโจมตีว่าถางป่า ตัดต้นไม้บนภูเขา เอาพื้นที่ไปปลูกข้าวโพด ซึ่งไม่เป็นความจริง ซีพีรับซื้อข้าวโพด แต่ไม่เคยสนับสนุนให้ไปปลูกบนภูเขา เพราะน้ำน้อย ผลผลิตต่ำ ปลูกบนที่ราบได้ 1,500-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ปลูกบนเขาอย่างมากก็ 400-500 กิโลกรัมต่อไร่ ค่าขนส่งแพง แต่ข้าวโพดเป็นพืชพิเศษ ปลูกง่าย ฝนตกครั้งเดียวก็ขึ้นได้ ชาวบ้านถึงแห่ปลูกข้าวโพด ที่สุดแล้ว มันคือปัญหาความยากจน เขาไม่มีที่ดินทำกินที่ถูกต้อง สิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องจริงก็คือ ถ้าคนขาดความมั่นคงในชีวิต เขาจะทำอะไรก็ได้ แม้แต่ทำผิดกฎหมาย และปัญหาที่ดินทำกิน การรุกป่า เป็นเรื่องที่หยั่งรากลึกมาก เป็นปัญหาระดับโลกและอ่อนไหวมาก สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องร่วมกันแก้ปัญหา

“ผมมองว่าเราแปลงสินทรัพย์เป็นทุนได้หลากหลาย และขณะนี้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ทำไมเราไม่แปลงผืนป่าให้เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลในรูปแบบของเหรียญโทเคน แล้วขายให้กับเอกชนที่ต้องซื้อคาร์บอนเครดิต หลักการคือปัจจุบันการปลูกต้นไม้สามารถขายเป็นคาร์บอนเครดิตได้ เพราะต้นไม้ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต่อไปหน่วยงานไหนปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากก็ต้องซื้อคาร์บอนเครดิตทดแทน ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้อย่างยั่งยืนกับชุมชนที่ร่วมกันรักษาป่าไม้ไว้”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ