แม้วานนี้ (23 เม.ย.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี จะมีมติ เห็นชอบกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เม็ดเงิน 5 แสนล้านบาท เพิ่มน้ำหนัก ความเป็นไปได้ของนโยบายเรือธง “รัฐบาลเพื่อไทย” ว่าประชาชนจะได้รับการเติมเงินคนละ 10,000 บาท ในกระเป๋าเงินดิจิทัล ภายในปีนี้ ตามที่สัญญาครั้งล่าสุดเอาไว้
แต่อย่างไรก็ตาม เสียงทักท้วงยังคงเกิดขึ้นเป็นระลอกๆ โดยล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังมีการส่งหนังสือ ถึงคณะรัฐมนตรี เพื่อขอให้ ทบทวน นโยบาย “ดิจิทัลวอลเล็ต” อีกครั้ง จากความเป็นห่วงหลัก ว่าโครงการนี้ จะสร้างผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลัง ในระยะข้างหน้า จากการใช้เม็ดเงินมหาศาล และให้สิทธิแบบวงกว้าง นอกขอบเขต “กลุ่มเปราะบาง”
โดย ธปท. ยังมองว่า แหล่งเงิน ของโครงการแจกเงินดิจิทัล ซึ่งมาจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยเฉพาะ อีกส่วนมาจาก ธ.ก.ส. อาจมีผลกระทบต่อสภาพคล่อง ของ ธ.ก.ส. และเป็นการใช้งบประมาณผิดประเภท
ในขณะเดียวกัน การที่รัฐบาล ชี้แจงว่า จะมีพัฒนา และนำระบบเปิด (Open-loop) มาเป็นกลไกสำคัญ ในการใช้จ่ายเงินดิจิทัล สำหรับประชาชน และร้านค้านั้น ควรทดสอบให้รัดกุมครบถ้วน เพื่อไม่ให้ เกิดความเสี่ยง เชิงระบบ และกระทบต่อเสถียรภาพระบบการชำระเงินของประเทศด้วย
ด้านวิจัยกรุงศรี ยังให้ความเห็นว่า แม้ว่าจะมีรายละเอียดที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับแหล่งที่มาของการระดมทุนสำหรับโครงการนี้ แต่ก็ยังมีอุปสรรคและความไม่แน่นอนรออยู่ข้างหน้า
อาทิ กระบวนการระดมทุน เงื่อนไขการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กในระดับอำเภอ และระหว่างร้านค้ากับร้านค้าไม่จำกัดพื้นที่ การขึ้นเงินสดของร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีและต้องใช้จ่ายในรอบที่ 2 ขึ้นไป อีกด้วย
โอกาสนี้ ThairathMoney ชวนทบทวน รายละเอียดสำคัญของ “โครงการดิจิทัลวอลเล็ต” ฉบับล่าสุด ทั้งแหล่งที่มาของงบประมาณ /ไทม์ไลน์การลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล และ เงื่อนไขการใช้จ่าย เพื่อให้เห็นภาพ ความเป็นได้ของโครงการ ดังนี้
ไทม์ไลน์โครงการ
เงื่อนไขการใช้จ่าย"เงินดิจิทัล"
เงินดิจิทัลใช้จ่ายอะไรได้บ้าง?
ไม่สามารถใช้จ่ายได้
ระบบหลักของโครงการ
ที่มาของเม็ดเงินโครงการ : 5 แสนล้านบาท
หมายเหตุ : คุณสมบัติและเงื่อนไขร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการได้ ต้องอยู่ในระบบภาษี (ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล)