เอกชนไทยโอด ดอกเบี้ยสินเชื่อ-ดอกเบี้ยเงินฝาก ห่างกันเกินไป SME แบกต้นทุนเหนื่อย เสี่ยงผิดหนี้พุ่ง!

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เอกชนไทยโอด ดอกเบี้ยสินเชื่อ-ดอกเบี้ยเงินฝาก ห่างกันเกินไป SME แบกต้นทุนเหนื่อย เสี่ยงผิดหนี้พุ่ง!

Date Time: 1 ก.พ. 2567 12:00 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • ส.อ.ท. เสนอ รัฐคุมส่วนต่าง ระหว่าง อัตราดอกเบี้ย เงินกู้ และดอกเบี้ยเงินฝาก ช่วยเหลือ SME ไทย หลัง ผู้ประกอบการกังวลดอกเบี้ยสูง หนี้พุ่ง! ไปต่อไม่ได้

Latest


“มนตรี มหาพฤกษ์พงศ์” รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI CEO Poll ครั้งที่ 37 ในเดือนมกราคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “ดอกเบี้ยสูง หนี้พุ่ง อุตสาหกรรมไปต่ออย่างไร” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ค่อนข้างมีความกังวลกับการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะดำเนินนโยบายในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% เป็นระยะเวลานาน 

โดยแม้เข้าใจว่าที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พยายามอย่างมากที่จะสร้างสมดุลในการบริหารนโยบายการเงินของประเทศ ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจและการเสริมสร้างเสถียรภาพของค่าเงินบาท


แต่อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบค่อนข้างมากกับผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนมากที่สุดของผู้ประกอบการในประเทศ และกำลังอยู่ในช่วงที่ฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 และการต้องเร่งปรับธุรกิจเพื่อรับมือกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกตัวในช่วงปีที่ผ่านมา 

ในประเด็นเรื่องส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก หรือ Spread ของธนาคารพาณิชย์ ที่มีความห่างมากเกินไปเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศในอาเซียน ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องแบกรับต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการชะลอการขยายธุรกิจหรือการลงทุนใหม่ เพิ่มความเสี่ยงขาดสภาพคล่องทางการเงินและการผิดนัดชำระหนี้ รวมทั้งกระทบต่อกำลังซื้อสินค้าของประชาชน

เอกชน เสนอรัฐคุม "อัตราดอกเบี้ย"

ดังนั้น ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ จึงเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาออกมาตรการกำกับดูแลตรวจสอบสถาบันการเงินในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยทั้งในส่วนของเงินฝากและสินเชื่อ รวมทั้งมีการประกาศกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Spread) ที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับผู้ประกอบการ  

นอกจากนี้ ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ มองว่า มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบที่ภาครัฐอยู่ระหว่างดำเนินการนั้น จะช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ให้กับประชาชน ภาคเกษตรกรรม และภาคธุรกิจที่สะสมมานานได้ในระดับปานกลาง โดยในส่วนของภาคอุตสาหกรรมเสนอให้ภาครัฐออกมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ผ่านสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อพัฒนาศักยภาพในกระบวนการผลิตและเสริมสภาพคล่องทางการเงิน รวมทั้งควรช่วยพิจารณาปรับลดเงื่อนไขการเข้าถึงสินเชื่อให้สะดวกยิ่งขึ้น

    


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ