แม้ร่างงบประมาณ ปี 2567 กำลังเข้าสู่สภา เพื่อพิจารณาและอนุมัติ ปลุก 1 ในฟันเฟืองสำคัญทางเศรษฐกิจของไทยที่ล่วงเลยวาระปกติมานานหลายเดือนให้กลับมาทำงานอีกครั้ง
ซึ่งจะส่งผลให้โครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ของภาครัฐ เกิดการลงทุนใหม่ ปล่อยเม็ดเงิน 3.48 ล้านล้านบาท เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทย แต่ต้องยอมรับว่าการขยายตัวของ “เศรษฐกิจไทย” ปีนี้ หนทางยังไม่สดใสมากนัก โดย ธนาคารโลก (World Bank) ประเมิน เศรษฐกิจไทยปี 67 ยังท้าทายจากอุปสรรค โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในสัดส่วนที่สูง และนำเข้าพลังงานเป็นจำนวนมาก
คาดการณ์ GDP ไทยปีนี้ จะขยายแค่ 3.2% โดยที่ยังไม่ได้นำนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งมีความไม่แน่นอนในการดำเนินการ มาเป็นตัวแปรคำนวณร่วมด้วย อีกทั้งมองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย มีแนวโน้มค่อนข้างช้า และมีช่องว่างกับเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านมากถึง 7-8% ของ GDP
ทำให้เปิดศักราชใหม่ตั้งแต่ต้นปี เราจึงได้เห็นการอัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างหนัก ที่คลอดออกมาจาก การประชุม ครม.นัดแรกวานนี้ (2 ม.ค.) ตั้งแต่การประกาศวีซ่าฟรีถาวรไทย-จีน, มาตรการด้านภาษี ที่เปิดช่อง ลดภาษี ไวน์-สุราพื้นฐาน และลดภาษีชั่วคราว ให้กับสถานบันเทิง เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจภายในประเทศ ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี
ซึ่งเหตุผลก็เนื่องมาจากความไม่แน่นอน และรัฐบาลพลาดเป้า ไทม์ไลน์การนำนโยบายเรือธง อย่าง “ดิจิทัลวอลเล็ต” หรือการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท มาใช้ไม่ทันตามกำหนดการเดิมที่หาเสียงไว้ (ก.พ. - มี.ค. 67)
ตอกย้ำความกังลของนายกรัฐมนตรี “เศรษฐา ทวีสิน” วานนี้ ที่ระบุว่าแม้เชื่อมั่นทิศทางเศรษฐกิจไทยปีนี้จะดีกว่าปี 2566 แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่างร่วมด้วย และชี้ถึงความจำเป็นของโครงการ แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เพื่อเป็นตัวพลิกเศรษฐกิจ หรือ Game Changer
ล่าสุด วันนี้ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี "นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช" ยืนยันว่า รัฐบาลจะเดินหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ตให้สำเร็จ แม้ท้ายที่สุดคณะกรรมการกฤษฎีกาจะมีความเห็นต่างๆ ออกมา แต่เชื่อมั่นว่าจะไม่มีปัญหา เพราะได้ดำเนินการทุกอย่างถูกต้องแล้ว
ล่าสุด ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดประมาณการ GDP ไทย ปี 2567 ว่าจะขยายตัวได้ 3.2% สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของ World Bank ซึ่งตัวเลขนี้ยังไม่รวมผลของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต แต่ประมาณการ ทิศทางการการส่งออกไทย ที่คาดว่าจะกลับมาพลิกโตได้ราว 3% และ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปต่ำ
ขณะที่ปัญหาใหญ่อย่าง “หนี้ครัวเรือน” น่าจะปรับลดลงมาอยู่ที่ 87.8% ต่อ GDP และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นจาก 28 ล้านคน เมื่อปี 2566 เป็น 35 ล้านคน ในปีนี้
ทั้งนี้ หากนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ไม่มีข้อติดขัดทางกฎหมาย เกี่ยวกับ พ.ร.บ.กู้เงิน และประชาชนได้รับเงินในวันที่ 1 พ.ค. 2567 ตามที่นายกฯ กล่าวอ้างล่าสุดจริง
ภายใต้การมีผู้ได้รับสิทธิ 90% และมี 80% ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีการใช้จ่ายเงินตามสิทธิครบทั้งจำนวนภายในเวลาที่กำหนด ด้วยงบประมาณ 4 แสนล้านบาท ก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยอีกระดับ 1% จากคาดการณ์ GDP ที่ 3.2% เป็น 4.2%
"กรณีดีที่สุด ทุกคนที่ได้รับสิทธิมีการจ่ายใช้เงินเต็มอัตราครบทั้งหมด อาจผลักดันให้ GDP ขยับไปอยู่ที่ 4.5%"
อีกข้อสมมติ ประกอบการวิเคราะห์ สถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2567 ที่น่าสนใจ ม.หอการค้าไทย ยังประเมินว่า โครงการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt 2567 ที่มีผลระหว่าง 1 ม.ค. – 15 ก.พ.67 จะมีผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจ ในแง่เม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 6.24 หมื่นล้านบาท หนุน GDP ปี 2567 ให้เพิ่มขึ้นได้ราว 0.159% ตีเป็นมูลค่าของ GDP ราว 2.9 หมื่นล้านบาท
ขณะข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2567 ที่ยังต้องติดตาม ได้แก่
ด้าน รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง วิเคราะห์งบปี 2567 ว่าการที่จะทำให้ไทยขาดดุลลดลงจาก การขาดดุลงบประมาณต่อจีดีพี 3.83% มาอยู่ที่ 3.63% และหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะดีขึ้นได้
นั่นหมายความว่า เศรษฐกิจไทยต้องเติบโตตามเป้าหมายที่ระดับ 5.4% และแวดล้อมเอื้อต่อการทำให้ประมาณการรายรับเป็นไปตามเป้าหมายที่ระดับ 2.787 ล้านล้านบาท
โดยรัฐจะต้องดำเนินการตาม 13 หมุดหมายภายใต้แผน 13 อัน เช่นกัน ซึ่งประกอบไปด้วย
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่