หนังสือเป็นเล่มฟื้นคืนชีพ ยอดสั่งพิมพ์ปฏิทิน-ไดอารีปี 67 พุ่งทะลัก

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

หนังสือเป็นเล่มฟื้นคืนชีพ ยอดสั่งพิมพ์ปฏิทิน-ไดอารีปี 67 พุ่งทะลัก

Date Time: 26 ธ.ค. 2566 05:36 น.

Summary

  • กลุ่มการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ส.อ.ท.เผยยอดสั่งพิมพ์ปฏิทิน ทั้งแบบตั้งโต๊ะและแขวน ไดอารีปีใหม่และหนังสือเพื่อการอ่าน ในรูปแบบการพิมพ์เป็นเล่มเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2565 หลังจากท่องเที่ยวและบริการของไทย เริ่มเติบโตหนุนภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ชี้แนวโน้มปี 2567 เติบโตได้ต่อ 4-5%

Latest

เปิดประวัติ 3 แคนดิเดต  ชิงเก้าอี้ ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ก่อนเคาะจริง 4 พ.ย.นี้

นายพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า เทศกาลต้อนรับปีใหม่ 2567 ซึ่งเป็นปีมังกรทอง พบว่า ภาคธุรกิจ ห้างร้าน ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ ได้มีคำสั่งพิมพ์ปฏิทินแบบตั้งโต๊ะและแขวน รวมถึงงานพิมพ์สมุดไดอารี การ์ดอวยพรต่างๆ เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่เพิ่มขึ้น จากปี 2565 สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยเฉพาะจากภาคการท่องเที่ยว และบริการในภาพรวมของไทย และหลังจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวแล้ว การดูปฏิทินทางมือถือ หรือแม้แต่คำอวยพรทางไลน์ การส่งข้อความผ่านมือถือที่ผ่านมาได้รับความนิยมอย่างสูง แต่ก็พบว่าข้อความเดี๋ยวก็หายไป แต่การมอบปฏิทินตั้งโต๊ะหรือแขวนจะอยู่ได้เป็น 1 ปี ดูมีคุณค่าและใช้ประโยชน์ได้คุ้ม ทำให้เกิดการหันกลับมาสู่การพิมพ์มากขึ้น เช่นเดียวกับหนังสือดิจิทัลที่บางส่วนผู้อ่านได้เริ่มหันกลับมาอ่านหนังสือที่เป็นแบบพิมพ์เป็นเล่ม สะท้อนจากงานมหกรรมหนังสือที่มียอดขายเติบโต

สำหรับปี 2567 แนวโน้มอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์คาดว่า จะเติบโต 4-5% จากปีนี้ ที่คาดว่าจะเติบโตได้ 5% ซึ่งมีมูลค่าตลาด 300,000 ล้านบาท โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่ส่งออก ทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าที่หลากหลายโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร ที่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ทั้งประเภทกระป๋องอะลูมิเนียม บรรจุภัณฑ์พลาสติก ฯลฯ

“แม้ว่าอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ มีอัตราเติบโตต่อเนื่อง แต่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวเพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่บริบทใหม่ ให้สอดรับกับปัญหาภาวะโลกร้อน ที่ต้องใช้วัตถุดิบที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดใช้วัตถุดิบที่ย่อยสลายยาก อาทิ การนำพลาสติกชีวภาพ (Bio Plastic) มาใช้ทดแทนพลาสติกและโฟม การใช้หมึกพิมพ์ที่ผลิตจาก Plant-Based เพื่อให้เกิดการย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ”

นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ยังต้องสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซํ้าได้ ซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ของโลก อีกทั้งยังสอดคล้องกับมาตรการ CBAM หรือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน ของสหภาพยุโรปที่เป็นเงื่อนไขให้ผู้ผลิตสินค้าของไทย หันมาลดการปล่อยคาร์บอนลง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และผู้ประกอบการ สื่อสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ ต้องใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะต่างประเทศให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทำลายโลกร้อนทำให้บรรจุภัณฑ์จะต้องระบุคาร์บอนฟุตพรินต์ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ (ตามข้อกำหนด ISO 14040) ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์.

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ