คลัง เคาะรายละเอียด Easy E-Receipt หวังปลุกใช้จ่าย ดึงร้านค้าเข้าระบบภาษี ช่วยดันจีดีพีโต 0.18 %

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คลัง เคาะรายละเอียด Easy E-Receipt หวังปลุกใช้จ่าย ดึงร้านค้าเข้าระบบภาษี ช่วยดันจีดีพีโต 0.18 %

Date Time: 20 ธ.ค. 2566 19:05 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • คลังเผย โครงการลดหย่อนภาษี “Easy e-Receipt” ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 70,000 ล้านบาท ช่วยดันจีดีพีโต 0.18 % ตั้งเป้าดึงผู้ประกอบการเข้าร่วมเกินหมื่นราย

Latest


ตามที่ ครม.ไฟเขียวมาตรการ “Easy E–Receipt” นำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการ ตั้งแต่ 1 ม.ค.-15 ก.พ.2567 มาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท เมื่อวันที่ 4 ธ.ค 2566 ที่ผ่านมา

ล่าสุดวันนี้ จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (รมช.คลัง) เปิดเผยว่า มาตรการ Easy E-Receipt ให้สิทธิ์แก่ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีบุคคลธรรมดา ที่ซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-15 ก.พ.2567 มาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 50,000 บาท แต่ต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 

โดยสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2567 ซึ่งมีกำหนดการยื่นแบบ ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-31 มี.ค.2568 ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าเงื่อนไขของเกณฑ์ Digital Wallet ยังสามารถใช้โครงการดังกล่าวได้ด้วย 

มาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศช่วงต้นปี และเป็นแรงส่งให้กับเศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง 

อีกทั้งคาดว่าจะสามารถเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบ 70,000 ล้านบาท เพิ่มการเติบโตของจีดีพี 0.18% เมื่อเทียบกับไม่มีมาตรการ

อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะทำให้รัฐสูญเสียการจัดเก็บรายได้ ประมาณ 10,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ มาตรการดังกล่าว เชื่อว่าจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ เข้ามาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบันที่มีผู้ประกอบการอยู่ในระบบจดทะเบียนประมาณ 4,000 ราย แต่มีช่องทางจำหน่าย 110,000 กว่าจุดทั่วประเทศ รวมถึงสนับสนุนการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเป็นการขยายฐานภาษีและสนับสนุนการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ภาษีของรัฐในระยะยาว 

ส่วนสินค้าและบริการเข้าเกณฑ์นั้น จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมสรรพากรประกาศ โดยสินค้าที่ไม่เข้าร่วม คือ ค่าซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย เป็นต้น

อ่านข่าวเศรษฐกิจในประเทศกับ Thairath Money ได้ที่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ