เจาะกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ “พิมพ์ภัทรา” ชู 8 แผนพัฒนาอาหารฮาลาล

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

เจาะกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ “พิมพ์ภัทรา” ชู 8 แผนพัฒนาอาหารฮาลาล

Date Time: 24 ต.ค. 2566 06:04 น.

Summary

  • กระทรวงอุตสาหกรรมกาง 8 แผนงาน พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ก้าวสู่ตลาดโลก ยกระดับอาหารท้องถิ่น อาหารต้นตำรับ อาหารสำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ร่วมมือกระทรวงพาณิชย์โรดโชว์ สู่นักเปิบทั่วโลก เผย 7 เดือนแรกส่งออก 1.36 แสนล้านบาท

Latest

เศรษฐกิจไทยปี 2568 ยังก้าวไม่พ้น K-Shape เพิ่มความเหลื่อมล้ำ คนไทยติดกับดักหนี้ "จนข้ามรุ่น"

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอาหารฮาลาลเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่กระทรวงให้ความสำคัญ โดยตลาดอาหารฮาลาลเป็นตลาดที่มีศักยภาพที่มีมูลค่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโต 13.5% ตามสัดส่วนประชากรมุสลิมโลกที่เติบโตต่อเนื่อง 7 เดือนแรกของปีนี้ ประเทศไทยส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลมีมูลค่า 136,503 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาหารฮาลาลโดยธรรมชาติ เช่น ข้าว ธัญพืช น้ำตาลทราย ฯลฯ ขณะที่กลุ่มอาหารที่ต้องผ่านการรับรอง เช่น เนื้อสัตว์-อาหารทะเล อาหารแปรรูป ฯลฯ มีการเติบโตลดลง 7.5% และ 10.3% ตามลำดับ

“ประเทศไทยมีผู้ผลิตอาหารฮาลาล 15,043 ราย มีร้านอาหารฮาลาล 3,500 ร้าน ล่าสุดได้สั่งการให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ไปจัดทำมาตรการ รวมทั้งแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค เพื่อยกระดับอาหารฮาลาล รองรับการท่องเที่ยวและส่งออกไปยังตลาดที่มีศักยภาพ เช่น ตะวันออกกลาง อาเซียน เอเชียใต้”

สำหรับแผนงานสำคัญๆ 8 มาตรการ ที่จะใช้ขับเคลื่อนในเรื่องดังกล่าว ได้แก่ 1. ขับเคลื่อนซอฟต์เพาเวอร์เพื่อนำไปสู่การยกระดับอาหารฮาลาลท้องถิ่นภาคใต้ของไทย เช่น แกงปูใบชะพลู ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงเหลือง สะตอผัดกุ้ง และอาหารฮาลาลไทยต้นตำรับ เช่น ต้มยำกุ้ง มัสมั่นเนื้อ ข้าวซอยไก่ โดยสนับสนุนให้เป็นอาหารแนะนำที่เสิร์ฟบนเครื่องบินเพื่อเป็นการโปรโมต 2.เชื่อมโยงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฮาลาลที่ตอบสนองความ ต้องการของนักท่องเที่ยวมุสลิมกับแหล่งอาหารฮาลาลในพื้นที่ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม การขนส่ง ฯลฯ โดยประสานกับทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อแนะนำและขึ้นทะเบียนเมนูอาหาร ตลอดจนส่งเสริมอาหารฮาลาลในเทศกาลต่างๆ เพื่อโปรโมตและสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จัก

3.ลดข้อจำกัดและแก้ไขอุปสรรคเกี่ยวกับการขอรับรองตราสัญลักษณ์ฮาลาล โดยให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อลดข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการรับรอง 4.เจรจาความร่วมมือเพื่อเปิดตลาดสินค้าอาหารฮาลาลใหม่ในต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ (UAE) และสาธารณรัฐทูร์เคีย เช่น มาตรการทางด้านภาษี มาตรการการตรวจปล่อยสินค้าให้มีความรวดเร็วมากขึ้น 5. พัฒนาผู้ผลิตอาหารฮาลาลไทย ตอบโจทย์ผู้บริโภคมุสลิมรุ่นใหม่ เช่น ขนมขบเคี้ยว อาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีการสนับสนุนพื้นที่ในห้างโมเดิร์นเทรด 6.สร้างเครือข่ายความร่วมมืออาหารฮาลาลไทยกับประเทศเป้าหมาย โดยประสานความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ออกไปโรดโชว์ในตลาดที่มีศักยภาพ เช่น อาเซียน ตะวันออกกลาง เอเชียใต้

7.พัฒนานิคมอุตสาหกรรมฮาลาลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และยกระดับศูนย์พัฒนาสินค้าอาหารของสถาบันอาหารในจังหวัดสงขลาให้ครอบคลุมการพัฒนาสินค้าอาหารฮาลาลต้นแบบ 8.พัฒนาคุณภาพหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับสถานประกอบการ อุตสาหกรรมอาหาร เช่น โรงฆ่าสัตว์ โรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ ฯลฯ ให้ได้มาตรฐานฮาลาลเพื่อการส่งออก รวมทั้งพัฒนาสายพันธุ์วัวใหม่ๆที่มีคุณภาพสูงเพื่อเพิ่มศักยภาพในการส่งออกไปยังประเทศที่มีกำลังซื้อสูง

“แผนงานทั้งหมดนี้คาดว่าจะช่วยกระตุ้นการลงทุน ยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิต รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล เพื่อให้ประเทศไทยได้เป็นศูนย์กลางฮาลาลของโลกอย่างยั่งยืน”.

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ