เกิดอะไรขึ้น? กับทิศทางการดำเนินธุรกิจ ของบริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หลังทำหนังสือ แจ้งต่อ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า บริษัทสยามกลาส อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย มีแผนจะหยุดประกอบกิจการโรงงานผลิตขวดแก้วที่จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป โดยจะคงเหลือไว้เฉพาะส่วนของการบริหารจัดการคลังสินค้าที่จังหวัดสมุทรปราการ
ขณะเดียว โอสถสภา ยืนยัน การปิดกิจการโรงงานขวดแก้วของสยามกลาสอินดัสทรี ในครั้งนี้ จะเป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และจะมีโรงงานผลิตแก้วของบริษัทและบริษัทในเครือที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำหน้าที่ผลิตแทน เพื่อรองรับความต้องการขวดแก้วในไลน์ธุรกิจของบริษัทเช่นเคย
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เพิ่งออกรายงาน เกี่ยวกับ อุตสาหกรรมผลิตขวดแก้วในไทย เมื่อไม่นานมานี้ ว่าภาพรวม 6 เดือนแรกของปี 2566 ภาพรวม การผลิตลดลง ก็เนื่องมาจาก ผลกระทบ กำลังซื้อในประเทศ ประกอบกับสต๊อกขวดแก้วที่ยังคงมีอยู่จำนวนมาก เศรษฐกิจฟื้นตัวแต่ยังไม่ดีพอ และ ค่าครองชีพประชาชน ก็ยังอยู่ในระดับสูง จากปัญหา เงินเฟ้อ หรือ นี่จะเป็นสาเหตุการปิดโรงงานขวดแก้วของสยามกลาสอินดัสทรี?
เจาะข้อมูล ในแต่ละปีไทยมีการผลิตขวดแก้วเฉลี่ยปีละ 1.4 ล้านตัน (2561-2565) โดยเกือบทั้งหมด (มากกว่า 90%) เป็นการผลิตเพื่อใช้งานภายในประเทศ เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่เน้นผลิตขวดแก้วเพื่อป้อนให้กับบริษัทในเครือที่อยู่ในธุรกิจเครื่องดื่มทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
จึงทำให้ธุรกิจเครื่องดื่มเป็นธุรกิจที่มีสัดส่วนการใช้งานขวดแก้วมากที่สุด คิดเป็น 60-70% ของปริมาณการผลิตในแต่ละปี รองลงมาคือ ธุรกิจอาหาร และธุรกิจยา
โดยผู้เล่นในธุรกิจขวดแก้วสำคัญ มีอยู่ 4 รายด้วยกัน ได้แก่
สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 พบว่ามีการผลิตขวดแก้ว ทั้งสิ้น 7.16 แสน ตัน ลดลง 1.5% ส่วนปริมาณการจำหน่ายพบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 8.62 แสนตัน ลดลง 2.9%
สอดคล้องกับปริมาณการผลิตที่ลดลงของอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะ
ที่มีตลาดหลักอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแบบ K-shape หลังสถานการณ์โควิด-19 ที่ กำลังซื้อของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีรายได้ประจำจะฟื้นตัวล่าช้ากว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้ปานกลางขึ้นไป เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงกว่าในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19
ทั้งนี้ แนวโน้มของธุรกิจขวดแก้ว ในอนาคต ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง ปัญหาค่าครองชีพ จากแรงกดดันด้านราคาพลังงาน ประกอบกับแนวโน้มการชะลอตัวของภาค การส่งออกจากปัญหาเศรษฐกิจโลก ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อปริมาณการส่งออกสินค้าเครื่องดื่มและ อาจทำให้ความต้องการใช้ขวดแก้วในภาคการผลิตต่ำลงกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ได้
สำหรับ บริษัท สยามกลาส และสยามคัลเล็ต ของโอสถสภา พบมีกำลังการผลิตขวดแก้วอยู่ที่ราว 1,290 ตันต่อวัน สำหรับ การประกาศปิดโรงงานดังกล่าว สยามกลาส ระบุ จะบริหารจัดการเรื่องบุคลากรที่ได้รับผลกระทบอย่างดี ให้เป็นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ที่มาข้อมูล : LH BANK (คลิกอ่านวิเคราะห์ธุรกิจขวดแก้วในไทยฉบับเต็ม)