นำเงินชราภาพมาใช้ก่อน-ค้ำเงินกู้ได้ ครม.แก้กฎหมายประกันสังคม

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

นำเงินชราภาพมาใช้ก่อน-ค้ำเงินกู้ได้ ครม.แก้กฎหมายประกันสังคม

Date Time: 11 พ.ค. 2565 08:06 น.

Summary

  • การปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน แบ่งเป็น 3 กรณี คือ กรณีให้ผู้ประกันตนที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

Latest

“เจ้าสัวธนินท์” มองโลก มองธุรกิจ เชื่อมือ รัฐบาล ดันไทยเป็น “ฮับการเงิน” ปลุกผู้ค้าก้าวทัน AI-เทคฯ

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... โดยเป็นการปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน (ขอเลือก ขอคืน และขอกู้) รวมทั้งการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีอื่น อาทิ เพิ่มเงินทดแทนกรณีขาดรายได้กรณีทุพพลภาพจาก 50 % ของค่าจ้าง เป็น 70% ของค่าจ้าง เพิ่มจ่ายเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากเดิม 90 วันเป็น 98 วัน ประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรโดยให้ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง และภายหลังการสิ้นสภาพเป็นผู้ประกันตน ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรต่อไปอีก 6 เดือน เป็นต้น รวมทั้งแก้ไขขยายอายุขั้นสูงของผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้างจากเดิม อายุ 60 ปีบริบูรณ์ เป็นอายุ 65 ปีบริบูรณ์ เพื่อให้ใช้สิทธิ์ในกองทุนประกันสังคมได้ต่อเนื่อง

ทั้งนี้ การปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน แบ่งเป็น 3 กรณี คือ กรณีให้ผู้ประกันตนที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถเลือกรับเงินบำนาญชราภาพหรือเงินบำเหน็จชราภาพ (ขอเลือก) กรณีให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนมาใช้ก่อนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ (ขอคืน) และกรณีให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักค้ำประกันการกู้เงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงินได้ (ขอกู้)

นายธนกรกล่าวว่า การแก้ไขเพิ่มเติมในครั้งนี้เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย

ด้านนายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน กล่าวว่า ข้อเสนอครั้งนี้เป็นการแก้ไขกฎหมายฉบับปัจจุบันที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2533 หรือ 32 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเดิมกองทุนชราภาพไม่สามารถทำอะไรได้เลย ต้องรอส่งเงินเกิน 180 เดือน หรืออายุ 55 ปี จึงจะได้เป็นบำนาญ แต่ใครส่งไม่ถึงจะได้บำเหน็จ กลายเป็นไม่มีประตูให้เขาได้เลือก จึงแก้ให้สามารถเลือกได้ คือพออายุ 55 ปี หากมีหนี้สินต้องใช้เงินก้อนให้เขาสามารถเลือกได้ว่าจะเอาบำเหน็จหรือบำนาญ ส่วนที่สองคือขอกู้ ยกตัวอย่างว่ามีเงินชราภาพอยู่ 200,000 บาท แต่เราไม่มีเงินสด ไม่มีเครดิตจะไปกู้สถาบันการเงิน ก็สามารถใช้สิทธิ์ในเงินชราภาพไปค้ำประกันในการขอเงินกู้ได้ ไม่ต้องไปกู้เงินนอกระบบ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ