กระทรวงคมนาคมตื่นแก้ปัญหารถติดบนทางด่วน 3 เส้นทางหลัก

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

กระทรวงคมนาคมตื่นแก้ปัญหารถติดบนทางด่วน 3 เส้นทางหลัก

Date Time: 9 พ.ย. 2564 06:25 น.

Summary

  • ปัญหาจราจรติดขัดหนักบนทางพิเศษมี 3 เส้นทางหลัก คือ ทางพิเศษศรีรัช ช่วงงามวงศ์วาน-พญาไท-พระราม 9 , ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ช่วงมักกะสัน-ท่าเรือ-บางนา และทางพิเศษฉลองรัช

Latest

“โกโก้ร้านไอ้ต้น” แฟรนไชส์สัญชาติไทย ปีเดียว ขยายสาขา 160 แห่งในจีน ความแปลก ที่กลายเป็นเอกลักษณ์

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามนโยบายการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนทางพิเศษทั้งระบบว่า ปัญหาจราจรติดขัดหนักบนทางพิเศษมี 3 เส้นทางหลัก คือ ทางพิเศษศรีรัช ช่วงงามวงศ์วาน-พญาไท-พระราม 9 , ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ช่วงมักกะสัน-ท่าเรือ-บางนา และทางพิเศษฉลองรัช ซึ่งจากการศึกษาพบว่า สาเหตุหลักมาจากความจุของทางพิเศษไม่เพียงพอ, มีจุดตัดกระแสจราจรบริเวณทางร่วม และทางแยก, การจราจรติดขัดบริเวณทางลงทางพิเศษ, ปัญหาการไหลเวียนจราจรบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทาง และมีหลายจุดเป็นคอขวดบนทางพิเศษ

“ได้สั่งการให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ศึกษาและกำหนดโครงการแก้ปัญหาจราจรทั้งระบบ แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 1.โครงการแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษในปัจจุบัน 21 โครงการ ดำเนินการปี 65-ปี 70 เป็นต้นไป และ 2.โครงการทางพิเศษเพิ่มเติมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรและเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทาง 11 โครงการ ตั้งแต่ปี 65-ปี 70 เป็นต้นไป โดยให้แล้วเสร็จ และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ทันเดือน ก.พ.65 ซึ่งต้องคำนึงว่าแต่ละโครงการต้องแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืน รวมถึงให้พิจารณาเรื่องแหล่งเงินที่จะใช้ และการขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟ รถไฟฟ้า เรือ รถโดยสารสาธารณะ ที่อาจส่งผลต่อการแก้ปัญหาจราจรบนทางพิเศษด้วย”

ด้านนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า เดือน ต.ค.64 พบอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนทางหลวงในความรับผิดชอบของกรม 1,075 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 146 คน ได้รับบาดเจ็บ 673 คน จำนวนรถที่เกิดอุบัติเหตุ 1,693 คัน ทรัพย์สินของกรมเสียหาย 11 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.63 จำนวนอุบัติเหตุลดลง 36% ผู้เสียชีวิตลดลง 38% บาดเจ็บลดลง 43% จำนวนรถที่เกิดอุบัติเหตุลดลง 34% โดยสาเหตุหลักการเกิดอุบัติเหตุมาจากผู้ขับขี่ ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ากฎหมายกำหนด 83% รวม 890 ครั้ง รองลงมาคือ การตัดหน้าระยะกระชั้นชิด 6% หรือ 66 ครั้ง อุปกรณ์รถบกพร่อง 4% หรือ 46 ครั้ง และหลับใน 4% หรือ 43 ครั้ง สำหรับเส้นทางในภาคเหนือ เกิดอุบัติเหตุสูงสุด 20% กรุงเทพฯและปริมณฑล 19% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18% โดยทางหลวงหมายเลข 7 ตอนแขวงคลองสองต้นนุ่น-พิมพา เกิดอุบัติเหตุสูงสุด 60 ครั้ง.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ