ภาษีบุหรี่ใหม่เริ่ม 1 ต.ค.64 บุหรี่ไทยสูงสุดซองละ 115 บุหรี่นอก 160 บาท

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ภาษีบุหรี่ใหม่เริ่ม 1 ต.ค.64 บุหรี่ไทยสูงสุดซองละ 115 บุหรี่นอก 160 บาท

Date Time: 30 ก.ย. 2564 13:50 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • สิงห์อมควันสะดุ้ง ภาษีบุหรี่ใหม่เริ่ม 1 ต.ค.64 ปรับขึ้นอัตราละ 1.25 บาทต่อมวน ทำบุหรี่ไทยขึ้นมาอยู่ 60–72 บาท บุหรี่ได้รับความนิยมซองละ 110-115 บาท บุหรี่นอกขยับ 155–160 บาท

สิงห์อมควันสะดุ้ง ภาษีบุหรี่ใหม่เริ่ม 1 ต.ค.64 ปรับขึ้นอัตราละ 1.25 บาทต่อมวน ทำบุหรี่ไทยขึ้นมาอยู่ 60–72 บาท บุหรี่ได้รับความนิยมซองละ 110-115 บาท บุหรี่นอกขยับ 155–160 บาท

เมื่อวันที่ 30 ก.ย.64 ผู้สื่อข่าวรายยงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ กฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสำมิต (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2564 ซึ่งลงนามโดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 ต.ค. 64 นี้ (อ่านฉบับเต็มที่นี่) โดยมีรายละเอียดังนี้

 - คำนวณภาษีจากปริมาณจะปรับจาก 1.20 บาทต่อมวน หรือซองละ 24 บาท เป็นอัตรา 1.25 บาทต่อมวน หรือซองละ 25 บาท

- คำนวณภาษีด้านมูลค่า เดิมราคาขายปลีกไม่เกินซอง 60 บาท เสียภาษี 20% จะปรับเพิ่มเป็นบุหรี่ขายปลีกไม่เกินซอง 72 บาท เสียภาษีเพิ่มเป็น 25% ส่วนบุหรี่ที่มีราคาขายปลีกเกินซอง 72 บาท จะเสียภาษีเพิ่มจากเดิม 40% เป็น 42%

หากคำนวณเบื้องต้น บุหรี่ขายปลีกที่มีราคาซองละ 55 บาท ปรับเพิ่มเป็น 60 บาท ส่วนบุหรี่ซองละ 60 บาทจะมีโอกาสปรับขึ้นสูงสุด 70-72 บาท ส่วนกลุ่มบุหรี่ราคาสูงที่ได้รับความนิยมที่อยู่ซองละ 95 บาท อาจขึ้นเป็นซองละ 110-115 บาท และบุหรี่นอกหรือบุหรี่ที่นำเข้าจากต่างประเทศจำหน่ายอยู่ที่ซอง 145-150 บาท อาจปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 155-160 บาท

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการยาสูบ หรือ ส.ร.ย. พร้อมตัวแทนชาวไร่ยาสูบราว ได้เพื่อยื่นหนังสือถึง รมว.คลัง และอธิบดีกรมสรรพสามิต เพื่อคัดค้านข้อเสนอของเครือข่ายสุขภาพที่ให้ปรับขึ้นภาษีบุหรี่ 8-10 บาทต่อซอง ซึ่งจะทำให้ราคาขายปลีกขั้นต่ำอยู่ที่ซองละ 72-73 บาทต่อซอง

โดย นายสุเทพ ทิมศิลป์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการยาสูบ กล่าวว่า เหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของเครือข่ายสุขภาพที่ให้ปรับขึ้นภาษีบุหรี่ เพราะจะทำให้ราคาบุหรี่แพงขึ้นไปอีก ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของโรงงานยาสูบอย่างมาก ซึ่งนับตั้งแต่มีการปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา โรงงานยาสูบ ประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนัก ไม่มีรายได้เพื่อนำเงินส่งเป็นรายได้ของรัฐ จากเดิมที่นำเงินส่งเป็นรายได้ของรัฐปีละหลายพันล้านบาท

ขณะเดียวกัน นางวราภรณ์ นะมาตร์ ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา เริ่มมีบรรดายี่ปั๊ว หรือพ่อค้าคนกลาง, ร้านค้าส่งรายใหญ่ เริ่มกักตุนบุหรี่ เพื่อรอการปรับขึ้นภาษีใหม่ในวันที่ 1 ต.ค.นี้แล้ว เห็นได้จากเวลาร้านค้าปลีก โชห่วยสั่งซื้อ จะได้ของน้อยกว่าเดิม


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ