จากพนักงานรัฐวิสาหกิจ สู่เจ้าของฟาร์มปลากะพงยักษ์ กับแนวคิด ขาดทุนคือการลงทุน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

จากพนักงานรัฐวิสาหกิจ สู่เจ้าของฟาร์มปลากะพงยักษ์ กับแนวคิด ขาดทุนคือการลงทุน

Date Time: 2 มี.ค. 2564 18:04 น.

Video

ไทยฝันเป็น “ฮับการเงิน” แต่จะไปให้ถึงยังไงดี ? | Digital Frontiers

Summary

  • "เศรษฐีป้ายแดง" วันนี้พูดคุยกับ อดีตพนักงานรัฐวิสาหกิจ สู่เจ้าของ "ขาวผ่องฟาร์ม" ฟาร์มปลากะพงยักษ์ ที่ฉะเชิงเทรา อะไรคือแนวคิด ขาดทุน คือ การลงทุน

Latest


"เศรษฐีป้ายแดง" วันนี้พูดคุยกับ อดีตพนักงานรัฐวิสาหกิจ สู่เจ้าของ "ขาวผ่องฟาร์ม" ฟาร์มปลากะพงยักษ์ ที่ฉะเชิงเทรา อะไรคือแนวคิด ขาดทุน คือ การลงทุน

วันที่ 2 มีนาคม 2564 รายการ "เศรษฐีป้ายแดง" ป้อง ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์, เนย โชติกา วงศ์วิลาศ และ อาร์ม ชนะ เดชภิรัตนมงคล จะพาไปพูดคุยกับ ประโยชน์ โสรัจจกิจ เจ้าของ "ขาวผ่องฟาร์ม" ที่ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นฟาร์มปลากะพงยักษ์ ตัวละ 3-9 กิโลกรัม ซึ่งนำเทคนิคจากญี่ปุ่นมาใช้ในการเลี้ยงปลากะพง อาทิ การเจาะเลือดปลาแบบญี่ปุ่น ที่เรียกว่า "อิเคะ จิเมะ" เพื่อนำเลือดออกจากตัวปลา ทำให้ปลามีความสด ไม่คาว และเนื้อขาว คุณภาพของปลา สามารถทานสดได้ เป็นเกรดปลาดิบซาซิมิ ในขณะเดียวกัน ในฟาร์มยังมีการบ่ม เพื่อทำให้รสชาติของเนื้อปลาอร่อยมากขึ้น ซึ่งสุดยอดกว่าการกินสด 

สำหรับการเลี้ยงปลากะพงที่ฟาร์ม จะใช้เวลาอย่างน้อย 18 เดือน เฉลี่ยปีหนึ่ง เลี้ยงได้ประมาณปีละ 200 ตัน ส่วนราคาขายสูงสุดอยู่ที่กิโลกรัมละ 200 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของปลา 

คุณประโยชน์ บอกด้วยว่า สำหรับฉะเชิงเทรา ถือเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลากะพง และลูกปลากะพง ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งก่อนที่จะมาประกอบธุรกิจส่วนตัว เคยเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจมา 20 ปี ซึ่งจะเปิดธุรกิจของตัวเองได้ นอกจากต้นทุนที่เป็นเงินแล้ว ต้องมีความตั้งใจ ความสัมพันธ์ เครือข่าย ซึ่งก่อนหน้าเราเคยขายอาหารกุ้ง แล้วมีโอกาสได้ไปเยี่ยมลูกค้าที่ทำบ่อกุ้ง เห็นผลผลิต ผลกำไรแล้ว ก็อยากจะลองทำบ้าง สุดท้ายเจ๊ง เสียหายเป็นสิบล้าน ในเวลาประมาณ 6-7 ปี

พอเห็นว่าการทำบ่อกุ้งไม่ประสบความสำเร็จ ก็เลยหันมาเลี้ยงปลากะพงเล็ก สุดท้ายก็ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนเดิม ล้มลุกคลุกคลานไปอีก 2-3 ปี จากนั้นก็ไปเจอลูกค้าที่ทำบ่อปลากะพง ซึ่งเป็นปลาใหญ่ แล้วคนที่เลี้ยงปลา ส่วนใหญ่ฐานะดี เลยหันกลับมาเลี้ยงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเรายังพอมีแรงที่จะสู้ ถ้าเรามีความพยายาม สักวันเราก็ต้องสำเร็จ

จากนั้นก็เริ่มศึกษา แล้วพบว่า ปลากะพงเล็ก ค่อนข้างมีข้อจำกัด เมื่อหนัก 7-9 ขีด ก็จำเป็นต้องขาย อีกทั้ง การควบคุมราคาค่อนข้างยาก หากผลผลิตเยอะ ราคาก็จะตก แต่ปลากะพงไซส์ใหญ่ สามารถขายได้ตลอด ขึ้นอยู่กับว่า เราจะขายตอนไหนก็ได้

แต่เมื่อมาทำปลากะพงไซส์ยักษ์ ก็พบข้อจำกัด ในเรื่องของการเข้าถึง ลูกค้าจะเข้าถึงได้ยาก ไม่มีผู้บริโภคคนไหนซื้อปลาขนาด 4-5 กิโลกรัม ไปบริโภคในมื้อเดียว ทำให้เราต้องแปรรูป แล่ปลากะพงเป็นชิ้น บรรจุแพ็กเกจขนาดเล็ก และขาย

จากนั้นก็มีการเจาะตลาด ไปขายตามโมเดิร์นเทรด ซึ่งครั้งแรกได้รับการแนะนำจากญาติผู้ใหญ่ ก่อนที่จะต่อยอดไปตามร้านอาหารชื่อดัง โดยในการเจรจาครั้งแรกกับร้านอาหารชื่อดัง ก็ต้องยอมขาดทุนบ้าง เพราะเราก็คิดว่า ขาดทุน คือ การลงทุน แต่กลับกลายเป็นว่า จากยอดสั่งซื้อ 2 ตัน ใน 3 เดือน กลายเป็น 15 ตันใน 3 เดือน

"ถ้าคนไทยให้โอกาส ตนมองว่า สามารถขยายผลผลิต และขยายตลาดได้อีกมาก ซึ่งตนเชื่อว่า ปลากะพงยักษ์ของเรา คุณภาพไม่แพ้ปลาที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งปลากะพงยักษ์ เรายังขาดโอกาสจากคนไทย” คุณประโยชน์ กล่าว

เมื่อถามถึงหัวใจของการทำธุรกิจ คุณประโยชน์ ย้ำว่า ต้องมีความจริงใจ ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และการให้ ซึ่งตนเชื่อว่าการให้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด และจะสะท้อนกลับมาหาเราเช่นกัน พร้อมแนะนำสำหรับคนที่จะเริ่มทำธุรกิจว่า การทำธุรกิจ คืออาชีพที่ยั่งยืน แต่อยากให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำอะไรต้องรู้จักตัวเองให้ดี พอประมาณ 

สำหรับ รายการ "เศรษฐีป้ายแดง" ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ทางไทยรัฐทีวี ช่อง 32 และติดตามชมย้อนหลังได้ทาง YouTube ช่อง Thairath.








Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ