World Bank ห่วงความมั่งคั่งคนไทยร่วง คนยากจนพุ่ง-ตกงานเพิ่มหนัก

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

World Bank ห่วงความมั่งคั่งคนไทยร่วง คนยากจนพุ่ง-ตกงานเพิ่มหนัก

Date Time: 1 ก.ค. 2563 08:22 น.

Summary

  • ธนาคารโลก คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากโควิด-19 โดยอาจหดตัวมากกว่า 5% ในปี 63 และน่าจะใช้เวลามากกว่าสองปีกว่าที่จีดีพีจะกลับไปสู่ระดับเดิม

Latest

ที่สุดแห่งปี ! เปิด 10 ทำเล ราคาที่ดิน แพงสุด “ชิดลม-เพลินจิต” ทะลุ 3.7 ล้าน/ตร.ว. สงขลา รองแชมป์

นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลก (World Bank) ประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารโลก คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากโควิด-19 โดยอาจหดตัวมากกว่า 5% ในปี 63 และน่าจะใช้เวลามากกว่าสองปีกว่าที่จีดีพีจะกลับไปสู่ระดับเดิม โดยรายงานของธนาคารโลกล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. พบว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ร่วงรุนแรง โดยมีคนตกงานกระจายไปทั่ว และกระทบต่อครัวเรือนชนชั้นกลาง และครัวเรือนที่ยากจน

“แม้ไทยจะประสบความสำเร็จในการชะลอการระบาดของโควิด แต่ผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจรุนแรง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่า 15% ของจีดีพีหลังห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศตั้งแต่เดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่การส่งออกน่าจะหดตัวลง 6.3% เป็นการชะลอตัวลงรายไตรมาสที่แรงที่สุดในรอบ 5 ปี จากความต้องการสินค้าไทยที่ลดลงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่วนการบริโภคภาคเอกชนลดลง 3.2%”

ทั้งนี้ โดยพื้นฐานแล้ว เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ในปี 64 และขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.6% ในปี 65 ซึ่งสะท้อนว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะฟื้นตัวกลับไปสู่ระดับก่อนการระบาดของโควิดภายในกลางปี 65 “พลังของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะขึ้นอยู่กับนโยบายรับมือกับวิกฤติที่มีประสิทธิภาพ ความท้าทายที่สำคัญคือ ทำอย่างไรให้ผู้ที่ตกงานกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อีกครั้งเช่น ให้เงินอุดหนุนค่าจ้างที่มุ่งเป้าไปสู่บุคคลที่อยู่ในภาคการผลิตที่เปราะบางที่สุด และการฝึกปฏิบัติงานไปพร้อมกับการทำงานจริง โดยประเมินว่า จะมีคนกว่า 8.3 ล้านคนตกงานและสูญเสียรายได้”

นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือมีรายได้ต่ำกว่า 5.5 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 165 บาทต่อวัน จะสูงขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัว โดยเพิ่มขึ้นจาก 4.7 ล้านคนในไตรมาสแรก เป็น 9.7 ล้านคนในไตรมาสที่สองของปีนี้ โดยสัดส่วนของคนที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจในกลุ่มครัวเรือนชนชั้นกลางในภาคการผลิตและภาคบริการจะเพิ่มขึ้นกว่าสามเท่าตัวจาก 6% เป็น 20%.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ