สารพัดเรื่องไฟ จบดราม่าค่าไฟแพง ซ้ำเติมโควิด รู้หรือไม่ชาติใด ไฟแพงสุด

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

สารพัดเรื่องไฟ จบดราม่าค่าไฟแพง ซ้ำเติมโควิด รู้หรือไม่ชาติใด ไฟแพงสุด

Date Time: 22 เม.ย. 2563 20:27 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

Summary

  • ประเด็นดราม่าค่าไฟแพง น่าจะจบลงด้วยดี เมื่อครม.มีมติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ช่วยเหลือค่าไฟฟ้าให้กับประชาชน

ประเด็นดราม่าค่าไฟแพง น่าจะจบลงด้วยดี เมื่อครม.มีมติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ช่วยเหลือค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนผู้ใช้ไฟประเภทที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติไวรัสโควิด-19 นอกเหนือจากการลดค่าไฟ 3% ที่เริ่มไปแล้วในบิลค่าไฟงวดที่ผ่านมา และมีอีกหลายเรื่องที่ผู้ใช้ไฟควรรู้ไว้

  • ปกติแล้วการคิดอัตราค่าไฟในส่วนบ้านที่พักอาศัย เมื่อใช้ไฟตั้งแต่หน่วยที่ 0-150 หน่วย จ่ายหน่วยละ 3.2484 บาท กรณีใช้ไฟตั้งแต่หน่วยที่ 151-400 หน่วย จ่ายหน่วยละ 4.2218 บาท และใช้ไฟตั้งแต่หน่วยที่ 400 ขึ้นไป จ่ายหน่วยละ 4.4217 บาท ซึ่งอัตราค่าไฟทั้งหมดจะบวกค่าบริการอีกเดือนละ 38.22 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% และหักส่วนลดค่าเอฟที

  • ผู้ใช้ไฟยังสามารถเลือกจ่ายค่าไฟ ในอัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate : TOU) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบ้านที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่มิเตอร์เกินกว่า 5 แอมป์ และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการและโรงงานอุตสาหกรรม โดยช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง ระหว่างเวลา 09.00-22.00 น. วันจันทร์-ศุกร์ คิดอัตราค่าไฟฟ้าหน่วยละ 5.2674 บาท และเวลาระหว่าง 00.00-24.00 ของวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ คิดอัตราค่าไฟฟ้าหน่วยละ 2.1827 บาท 

  • ข้อมูลเว็บไซต์ https://www.globalpetrolprices.com เคยเผยแพร่ข้อมูลอัตราค่าไฟฟ้าของกลุ่มประเทศอาเซียน ณ เดือนมี.ค. 2562 พบว่ามาเลเซีย มีค่าไฟต่อหน่วย หรือกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงถูกสุดอยู่ที่ 1.8 บาท ตามมาด้วย เวียดนาม 2.4 บาท อินโดนีเซีย 3 บาท ไทย 3.9 บาท ฟิลิปปินส์ 5.7 บาท และสิงคโปร์ 5.7 บาท นั่นแสดงให้เห็นว่าอัตราค่าไฟของไทย อยู่ในระดับกลางๆ 

  • ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศในอาเซียนที่ค่าไฟแพงที่สุด และแพงขึ้นอีกภายในปี 2563 เนื่องจากนโยบายของประธานาธิบดีดูเตอร์เต ได้ขึ้นภาษีถ่านหิน จาก 50 เปโซ ต่อถ่านหิน 1 ตัน ขยับมาเป็น 150 เปโซต่อถ่านหิน 1 ตัน 

  • ประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น ค่าไฟต่อหน่วยอยู่ที่ประมาณ 8.4 บาทออสเตรเลีย 7.5 บาท และเกาหลีใต้ 3.3 บาท ส่วนสวีเดน อัตราค่าไฟต่ำสุดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อยู่ที่ 6 บาทต่อหน่วย ขณะที่ เยอรมนี อัตราค่าไฟแพงที่สุดในโลก หน่วยละประมาณ 9.9 บาท ทั้งนี้ประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า จะคิดอัตราค่าไฟฟ้าแพง เนื่องจากมีต้นทุนที่สูง

  • แม้อัตราค่าไฟในไทยอยู่ในระดับกลางๆ แต่รู้หรือไม่เมื่อปีงบประมาณ 2562 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นหนึ่งใน 10 รัฐวิสาหกิจนำเงินส่งแผ่นดินสูงสุดเป็นอันดับ 3 จำนวน 18,924 ล้านบาท ตามมาด้วยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อยู่อันดับ 5 จำนวน 10,903 ล้านบาท และการไฟฟ้านครหลวง อยู่อันดับ 9 นำส่ง จำนวน 5,500 ล้านบาท

  • ส่วน 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563 ถึงสิ้นเดือน ม.ค. 2563 พบว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นำเงินส่งแผ่นดิน 18,301 ล้านบาท เป็นอันดับ 2 ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นำเงินส่ง 5,733 ล้านบาท เป็นอันดับ 4 และการไฟฟ้านครหลวง นำเงินส่ง 2,350 ล้านบาท เป็นอันดับ 9

  • เมื่อรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน หรือบางคนอาจรู้แล้ว และแม้ในช่วงวิกฤติโควิดระบาดทางรัฐบาลได้ช่วยเหลือเรื่องค่าไฟให้กับประชาชน แต่ควรใช้ไฟอย่างประหยัด ยกตัวอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น พัดลมตั้งโต๊ะ กินไฟ 45-75 วัตต์ อัตราค่าไฟสูงสุด ชั่วโมงละ 0.3 บาท ส่วนตู้เย็น กินไฟ 59-240 วัตต์ อัตราค่าไฟสูงสุด ชั่วโมงละ 0.96 บาท โทรทัศน์ กินไฟ 95-250 วัตต์ อัตราค่าไฟสูงสุด ชั่วโมงละ 1 บาท และเครื่องปรับอากาศ กินไฟ 1,450-5,200 วัตต์ อัตราค่าไฟสูงสุดชั่วโมงละ 20 บาท

  • สรุปแล้วบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งส่วนใหญ่มีการคิดค่าไฟฟ้า แบบ Progressive rate หรืออัตราก้าวหน้า คิดตามหน่วยการใช้ไฟ หากใช้ไฟฟ้ามากก็ยิ่งเสียเงินมากตามมา ยิ่งในช่วงอากาศร้อนจัดไม่อยากจะนึกเลย

Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ