“สมคิด” หนุนการลงทุน แนะ สศช.อย่ากังวลหนี้สาธารณะมากเกิน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“สมคิด” หนุนการลงทุน แนะ สศช.อย่ากังวลหนี้สาธารณะมากเกิน

Date Time: 31 พ.ค. 2562 06:30 น.

Summary

  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยระหว่างเป็นประธานการประชุม เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

Latest

ล้อมคอกรถโดยสารสาธารณะยึดมาตรฐาน "UN”



สั่งนัดเจอภาคเอกชนลงมือแก้ไขจุดอ่อน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยระหว่างเป็นประธานการประชุม เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.หรือสภาพัฒน์) ว่า อยากให้สภาพัฒน์เป็นองค์กรหลักในการประสานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อดูแลให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยปรับตัวดีขึ้นให้ต่อเนื่อง หลังจากที่ World Competitiveness Center ของ International Institute for Management (IMD) ได้จัดอันดับประเทศไทยดีขึ้น 5 อันดับจากอันดับที่ 30 ในปี 2561 มาเป็นอันดับที่ 25 ในปี 2562 “การจะทำเศรษฐกิจให้เติบโตได้ต่อเนื่อง สภาพัฒน์จะต้องใส่เกียร์ให้โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไปสู่การมีแรงขับเคลื่อนจากอุตสาหกรรมมูลค่าสูง ไม่ใช่ยังคงอยู่กับอุตสาหกรรมที่อยู่ในขาลง การลงทุนใหม่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว การเกษตร ส่วนการดึงการลงทุนได้ให้สำนักงานบีโอไอตั้งทีมขึ้นมา 2 ชุด ดูแลการดึงการ ลงทุนใน ช่วงที่เกิดการย้ายฐานการผลิต ที่ผ่านมา 4-5 ปี ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่เติบโตได้ถึง 4.1% ไม่ได้โตแบบธรรมชาติเพราะมีการเข้าไปผลักดัน แต่ระยะต่อไปต้องให้เศรษฐกิจประคองไปได้โดยโครงสร้างใหม่”

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อยากให้สภาพัฒน์พิจารณาด้วยว่า การยึดกรอบวินัยการคลังอย่างเดียวแต่ไม่ลงทุนจะทำให้เสียโอกาสได้ เวลาพิจารณาโครงการจะต้องมองให้ทะลุ หนี้สาธารณะของประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ 40% ของจีดีพีเท่านั้น ต่ำกว่าประเทศขนาดใหญ่หลายประเทศที่หนี้สาธารณะสูงถึง 100-200% ของจีดีพี ขณะที่กรอบวินัยการคลังของไทยมีโอกาสก่อหนี้ได้ถึง 60% ขณะเดียวกัน ต้องให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเพิ่มศักยภาพของเอสเอ็มอี โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม หากไม่มีการแก้ไขจะส่งผลให้ตลาดแรงงานย่ำแย่มากกว่านี้ ต้องสร้างทัศนคติว่าผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมมูลค่าสูง โดยให้ สศช.นัดหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และชี้เลยว่ามีส่วนไหนที่เอกชนจะต้องแก้ไข ไม่ใช่เศรษฐกิจปรับตัวลงแล้วมีแต่บอกรัฐบาลต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม นอกจากนี้ ต้องปรับปรุงสถาบันที่เป็นหลักของเศรษฐกิจอย่างกระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และด้านโครงสร้างพื้นฐานต้องผลักดันด้านดิจิทัลให้ต่อเนื่อง สุดท้ายจะมีอุตสาหกรรมใหม่ได้คุณภาพของคนต้องไปได้ ถ้าไปไม่ได้ขีดความสามารถของประเทศก็ยากที่จะขยับ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ