จิงโจ้ยกเลิก "เอดี" สินค้าไทย ยอดลงทุน "อีอีซี" พุ่งติดลมบน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

จิงโจ้ยกเลิก "เอดี" สินค้าไทย ยอดลงทุน "อีอีซี" พุ่งติดลมบน

Date Time: 14 มี.ค. 2562 08:10 น.

Summary

  • นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ประเทศออสเตรเลียได้ประกาศยกเลิกการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) สินค้าสับปะรดกระป๋องของไทย

Latest

เตรียมพร้อม “ยื่นภาษี 2567” ช่วงต้นปี 2568 กับ 4 ความผิด ที่มักถูกกรมสรรพากรตรวจสอบย้อนหลัง

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ประเทศออสเตรเลียได้ประกาศยกเลิกการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) สินค้าสับปะรดกระป๋องของไทย สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (ขนาดมากกว่า 1 ลิตร) หลังจากได้เปิดทบทวนการใช้มาตรการมาตั้งแต่เดือน มิ.ย.2561 เพราะไม่พบสินค้าจากไทยมีการทุ่มตลาด หรือตั้งราคาขายในออสเตรเลียต่ำกว่าที่ขายในไทย และไม่ได้สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในของออสเตรเลีย แต่สับปะรดกระป๋องสำหรับผู้บริโภค (ขนาดน้อยกว่า 1 ลิตร) ให้เรียกเก็บอากรเอดีต่อไป ในอัตราที่ลดลงเหลือเพียง 2.6-16.8% จากเดิม 7.9-28.6% ของราคา ซี.ไอ.เอฟ. (ราคาสินค้ารวมค่าประกันภัยและค่าระวางเรือ)

“สับปะรดกระป๋องของไทยถูกเรียกเก็บอากรเอดีมานานถึง 17 ปี การประกาศผลการทบทวนครั้งนี้ เป็นผลดีต่อผู้ส่งออกสินค้าทั้ง 2 รายการของไทย เพราะผู้นำเข้าออสเตรเลียจะสั่งซื้อได้มากขึ้น หากเปรียบเทียบกับคู่แข่งสำคัญอย่างฟิลิปปินส์ ไทยมีความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน เนื่องจากสับปะรดกระป๋องใช้ในอุตสาหกรรมอาหารจากฟิลิปปินส์ยังถูกเรียกเก็บอากรเอดีที่ 18.7% ของราคา ซี.ไอ.เอฟ. แต่ไทยไม่ถูกเรียกเก็บอีกแล้ว และปี 2559-2561 ไทยส่งออกสินค้าทั้ง 2 รายการไปออสเตรเลีย มูลค่า 477 ล้านบาท, 388 ล้านบาท และ 275 ล้านบาท ตามลำดับ”

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า สถิติการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่เมื่อเดือน ก.พ. ว่า มีจำนวน 6,563 ราย เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.2561 ที่มี 6,356 ราย และลดลง 10% เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ที่มี 7,311 ราย ธุรกิจที่จัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ก่อสร้างอาคารทั่วไป, อสังหา-ริมทรัพย์, ภัตตาคารและร้านอาหาร ส่วนทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีมูลค่า 16,858 ล้านบาท ขณะที่การจัดตั้งธุรกิจใหม่ 2 เดือนแรก ของปีนี้มี 13,874 ราย มีมูลค่าทุนจดทะเบียน 34,551 ล้านบาท

“ในจำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือน ก.พ.ที่ผ่านมาพบว่า พื้นที่ที่มีการเติบโตของการจัดตั้งธุรกิจสูงนอกจากพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีคนจัดตั้งธุรกิจสูงอยู่แล้ว ก็คือเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้น คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 10% ของยอดจัดตั้งใหม่ทั้งหมด สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจของการลงทุนทำธุรกิจในอีอีซี สำหรับธุรกิจเลิกกิจการในเดือน ก.พ. มีจำนวน 812 ราย”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ