พิชัย ขุดซ้ำ เบื้องหลังคนไทยใช้น้ำมันแพง กว่าราคาส่งออก

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

พิชัย ขุดซ้ำ เบื้องหลังคนไทยใช้น้ำมันแพง กว่าราคาส่งออก

Date Time: 7 ต.ค. 2561 12:22 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • “พิชัย” ทวง “บิ๊กตู่” ลดราคาน้ำมันช่วยเหลือประชาชน จี้แก้ผูกขาดพลังงาน แนะ กกพ. ส่งเรื่องกลับบอร์ดใหม่ ปตท. ทบทวนการซื้อโกลว์ หวั่นไม่โปร่งใสหลายเรื่อง

Latest


“พิชัย” ทวง “บิ๊กตู่” ลดราคาน้ำมันช่วยเหลือประชาชน จี้แก้ผูกขาดพลังงาน แนะ กกพ. ส่งเรื่องกลับบอร์ดใหม่ ปตท. ทบทวนการซื้อโกลว์ หวั่นไม่โปร่งใสหลายเรื่อง...

เมื่อวันที่ 7 ต.ค. นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันราคาน้ำมันมีราคาเพิ่มสูงขึ้นและยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนอย่างมาก จึงอยากให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้นำเรื่องที่ตนเคยเสนอไว้ไปพิจารณาช่วยเหลือประชาชนไม่ให้เดือดร้อนไปกว่าเดิม ซึ่งเรื่องที่ตนเสนอนั้นได้พิสูจน์แล้วว่าสามารถทำได้จริง เช่น ลดราคาค่าการตลาด ซึ่งลดได้จริงแล้วโดยบริษัทยอมลดลงจากอัตราเดิมที่เคยเก็บถึงลิตรละเกือบ 2 บาท ลงมาเหลือเพียงลิตรละ 1.26 บาทเท่านั้น ดังนั้นจึงอยากให้มีการพิจารณาลดราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นให้เท่ากับสิงคโปร์โดยไม่ต้องรวมค่าขนส่ง เพราะปัจจุบันโรงกลั่นกำไรจากค่าการกลั่นที่สูงอยู่แล้ว ขนาดบมจ. ไทยออยล์ ในเครือ ปตท. ยังจะขยายกำลังการกลั่นเพิ่มอีกวันละ 125,000 บาร์เรล เพื่อการส่งออก ซึ่งขายต่ำกว่าราคาในประเทศ ดังนั้นเหตุใดคนไทยจึงต้องจ่ายสูงกว่าราคาส่งออก ซึ่งไม่มีเหตุผล

นอกจากจะต้องการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทน้ำมันที่กำไรมหาศาลอยู่แล้วเท่านั้น และอยากขอให้ลดราคาเอทานอลให้เท่าราคาตลาดโลก เพราะราคาน้ำตาลและราคาโมลาส ได้ลดลงอย่างมากแต่ราคาเอทานอลที่ใช้ผสมน้ำมันแก๊สโซฮอล์กลับยังมีราคาสูง เชื่อว่าแม้พลเอกประยุทธ์ จะพยายามหาว่าตนบิดเบือน แต่ลึกๆ พลเอกประยุทธ์ควรจะต้องเชื่อว่าสิ่งที่ตนพูดเป็นความจริง และหากราคาน้ำมันดิบยังเพิ่มสูงขึ้นไปอีก รัฐก็ควรจะลดการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เพื่อช่วยค่าครองชีพของประชาชน

"การที่ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง ส่วนหนึ่งเพราะการปล่อยให้มีการผูกขาดพลังงานมาเป็นเวลานาน จึงต้องแก้ไขเรื่องการผูกขาดนี้ และนโยบายทักษิโณมิกส์เวอร์ชั่นใหม่ จะต้องแก้ไขการผูกขาดทั้งหมดรวมถึง การผูกขาดด้านพลังงานนี้ อีกทั้งต้องไม่ให้ การผูกขาดน้ำมัน ลามไปยังการผูกขาดไฟฟ้าด้วย"

ทั้งนี้ อยากให้คณะกรรมการกิจการพลังงาน (กกพ.) ชุดใหม่ ได้พิจารณาส่งเรื่องการซื้อ บมจ.โกลว์ ของบริษัทไฟฟ้าในเครือ ปตท. กลับไปให้บอร์ดใหญ่ของ บมจ.ปตท. พิจารณาใหม่ เพราะมีความผิดปกติในหลายเรื่อง เช่น มีความไม่โปร่งใสว่าจะเป็นการเซ็นทิ้งทวนของประธานบอร์ด ปตท. คนเก่าที่เพิ่งออกไปหรือไม่ เพราะอนุมัติการซื้อก่อนออกจากตำแหน่งเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น และ ซีอีโอ ปตท. คนเก่า ก็อนุมัติตอนก่อนจะครบวาระเช่นกัน อดไม่ได้ที่จะต้องคิดว่าเป็นการเซ็นทิ้งทวนหรือไม่ เพราะมักจะมีการตำหนินักการเมืองว่าชอบเซ็นทิ้งทวน ดังนั้นก็ไม่ควรจะให้ทำในลักษณะเดียวกัน และหากพิจารณาการขึ้นของราคาหุ้นโกลว์ก่อนที่จะมีการตกลงซื้อขายกันปรากฏว่ามีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นชัดว่าน่าจะมีการใช้ข้อมูลภายในในการซื้อขายหุ้น ซึ่งอยากให้ ก.ล.ต.ได้เข้าตรวจสอบการใช้ข้อมูลภายในในเรื่องนี้ด้วย

นอกจากนี้ ราคาซื้อขายน่าจะสูงกว่าราคาที่ควรจะเป็นมาก ซึ่งน่าสงสัยว่าจะมีการรับผลประโยชน์จากการซื้อขายครั้งนี้หรือไม่ นี่คือเหตุผลของความผิดปกติและความไม่โปร่งใส และยังมีปัญหาการผูกขาดในการผลิตพิ้นที่ตะวันออกโดยเฉพาะในบริเวณอีอีซี ซึ่งมีผู้ประกอบการปิโตรเคมีหลายบริษัททั้งไทยและต่างประเทศไม่สบายใจที่ บริษัทในเครือ บมจ. ปตท. ซื้อ บมจ. โกลว์ เพราะจะทำให้ บมจ. ปตท. ทราบข้อมูลการใช้ไฟฟัาและปริมาณการผลิตซึ่งเป็นความลับของบริษัทที่ไม่อยากให้ บมจ. ปตท ที่ก็ทำธุรกิจปิโตรเคมีเหมือนกันและแข่งขันกันอยู่ได้ทราบ อีกทั้ง บมจ.โกลว์ยังมีการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินในสัดส่วนที่สูง ซึ่งสวนกับแนวทางของ บมจ. ปตท. ที่ต้องการรักษาสภาวะแวดล้อม

“น่าจะเป็นความรับผิดชอบของบอร์ดใหม่และ ซีอีโอคนใหม่ของ บมจ. ปตท. ที่จะพิจารณาความโปร่งใสในเรื่องนี้อย่างละเอียด และพร้อมตอบคำถามสังคม และหลายหน่วยงาน แม้กระทั่ง ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ที่ยังมีข้อสงสัยในความโปร่งใสของการซื้อขายครั้งนี้”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ