ลุ้นแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะ 2

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ลุ้นแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะ 2

Date Time: 1 พ.ค. 2561 06:45 น.

Summary

  • ไจก้า ระบุว่า ต้องมีการไปสำรวจข้อมูลในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑลใหม่ เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าระยะที่ 1 ที่เปิดให้บริการ...

Latest

“ค้างหนี้-จ่ายช้า”เร่งตัว NPLs คนไทยพุ่ง! สินเชื่อรถ-บ้าน มากสุด กู้เต็มวงเงิน หันพึ่งหนี้นอกระบบ

สนข.หาวิธีดึงนายจ้างจ่ายค่าเดินทางให้พนักงาน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังเป็นประธานในพิธีเปิดสัมมนารับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะ การจัดทำแผนแม่บทระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลระยะที่ 2 รวม 20 ปี (ปี 2560-2579) ว่า ตนได้สั่งการให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ร่วมกันจัดทำแผนดังกล่าว คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ส.ค.นี้ จากนั้นจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติต่อไป

“ไจก้า ระบุว่า ต้องมีการไปสำรวจข้อมูลในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑลใหม่ เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าระยะที่ 1 ที่เปิดให้บริการและอยู่ระหว่างการดำเนินการ ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดินในกรุงเทพฯ ส่งผลต่อความหนาแน่นของประชาชน รวมทั้งการเกิดขึ้นของคอนโดมิเนียมและช็อปปิ้งมอลล์ที่สร้างอยู่คู่ขนานไปกับแนวรถไฟฟ้า ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยนไปคือ ย้ายไปอยู่อาศัยในเมืองมากขึ้น”

สำหรับแผนแม่บทระยะที่ 2 จะเน้นก่อสร้างรถไฟฟ้าสายย่อย โดยมีเหตุผล อาทิ เพื่อเป็นการเชื่อมต่อไปยังสถานีใหญ่ 3 สถานี คือ สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งในอนาคตจะเป็นศูนย์กลางการขนส่งทุกระบบ สถานีมักกะสัน ที่จะเชื่อมต่อการเดินทางไปยังพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และเพื่อเชื่อมต่อบริเวณสถานีที่มีเส้นทางขาดช่วง
(มิสซิงลิงค์) เช่น สายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) สายสีเทา (วัชรพล-สะพานพระราม 9-ท่าพระ) รวมทั้งเพื่อเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานต่างๆ เพื่อให้ระบบการขนส่งสาธารณะรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยว

“ผมได้ให้ สนข.ไปหามาตรการจูงใจให้ประชาชนเข้ามาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น โดยอาจใช้มาตรการเดียวกับที่ญี่ปุ่นคือ บริษัทเอกชนมีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการเดินทางให้กับพนักงานที่เดินทางมาทำงานด้วยระบบขนส่งสาธารณะซึ่งจะช่วยลดการนำรถยนต์ส่วนตัวเข้ามาในเมือง แก้ปัญหารถติดได้ โดยในส่วนของประเทศไทยต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการได้มากน้อยเพียงใด”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ