จบต่ำกว่าปริญญา หางานยากขึ้น สภาพัฒน์ เผย คนเตะฝุ่นพุ่ง 1.19%

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

จบต่ำกว่าปริญญา หางานยากขึ้น สภาพัฒน์ เผย คนเตะฝุ่นพุ่ง 1.19%

Date Time: 7 ธ.ค. 2560 15:30 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • สภาพัฒน์ เผยไตรมาส 3 คนเตะฝุ่นสูงขึ้นเล็กน้อย 1.19% ใช้เวลาหางานเฉลี่ย 6 เดือน ชี้ผู้จบต่ำกว่าปริญญาตรี หางานยากขึ้น จากการนำเทคโนโลยีทำงานแทนคน ขณะที่หนี้สินครัวเรือน พบหนี้เน่าพุ่ง 2.74%...

Latest


สภาพัฒน์ เผยไตรมาส 3 คนเตะฝุ่นสูงขึ้นเล็กน้อย 1.19% ใช้เวลาหางานเฉลี่ย 6 เดือน ชี้ผู้จบต่ำกว่าปริญญาตรี หางานยากขึ้น จากการนำเทคโนโลยีทำงานแทนคน ขณะที่หนี้สินครัวเรือน พบหนี้เน่าพุ่ง 2.74%...

เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 3/60 พบว่า รายได้และผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น การผิดนัดชำระหนี้ลดลง ซึ่งพบว่าการจ้างงานลดลง 1.6% โดยภาคเกษตรลดลง 1.2% จากผลกระทบอุทกภัยในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. เกิดความเสียหายทั้งด้านพืชประมงและปศุสัตว์ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ขณะที่การจ้างงานภาคนอกเกษตรลดลง 1.8% ในสาขาการผลิต การก่อสร้างการขายส่ง และโรงแรมและภัตตาคาร แม้มูลค่าการผลิตภาคนอกเกษตรยังขยายตัวได้ดี แต่การจ้างงานจะลดลง เนื่องจากการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิตและดำเนินธุรกิจ และการส่งออกที่ขยายตัวดีในกลุ่มที่ใช้ทุนเข้มข้น อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ขณะที่การส่งออกในกลุ่มที่ใช้แรงงานเข้มข้นยังขยายตัวช้า อาทิ เครื่องนุ่งห่ม สิ่งทอ และสินค้าบางประเภทเป็นการทยอยระบายสินค้าในสต็อก

สำหรับอัตราการว่างงานสูงขึ้นเล็กน้อยเท่ากับ 1.19% ทั้งผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน และแรงงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน สำหรับผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อนเป็นผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา 43.4% และ 85% ของคนกลุ่มนี้ใช้เวลาหางานมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน ขณะที่ผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนส่วนใหญ่ 65% เป็นผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมปลายลงมาและหางานมาแล้วไม่เกิน 3 เดือน ซึ่งกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงสูงที่จะว่างงานก่อนกลุ่มอื่น และจะหางานยากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าสามารถทำงานซ้ำๆ แทนคนได้ ส่วนค่าจ้างแรงงานภาคเอกชนที่ไม่รวมผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ และค่าล่วงเวลาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.1% เป็นการเพิ่มในภาคเกษตรกรรม 2.0% และผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น 6.0%

ทั้งนี้แนวโน้มการจ้างงานมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้น ภายใต้สถานการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจต่อเนื่องและมีการกระจายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนและการค้าระหว่างประเทศที่ฟื้นตัวดีขึ้นตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา ส่วนภาคเกษตร แรงงานลดลงต่อเนื่องจากสัดส่วน 42% ของกำลังแรงงาน ในปี 2544 เหลือ 31.2% ในปี 2559 ส่วนใหญ่ 47% อายุมากกว่า 50 ปี โดย 72% มีการศึกษาระดับประถมและต่ำกว่าประกอบกับสภาพการทำงานที่หนักทำให้การทดแทนแรงงานมีน้อย ดังนั้นควรนำเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการทำงานที่จะลดการใช้แรงงานคนลง

ขณะเดียวกันความต้องการผู้ดูแลระบบออนไลน์จะเพิ่มมากขึ้น แรงงานในยุคใหม่จึงจำเป็นต้องมีทักษะสามารถที่ตอบสนองต่องานในรูปแบบใหม่และความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นคุณลักษณะและทักษะที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการทำงานในยุคดิจิตอลได้ อาทิ มีความสนใจใฝ่รู้ทันโลกทันเหตุการณ์ คุ้นเคยหรือใช้เทคโนโลยีเป็น สามารถวิเคราะห์และจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำงานหลากหลาย (Multi-Skill) มีทักษะด้านภาษา รวมถึงมีความยืดหยุ่นในการทำงาน

ด้านหนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ไตรมาส 2/60 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่าเท่ากับ 11,602,553 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วในอัตราชะลอลง สัดส่วนลดลงเป็น 78.4% ต่อ GDP ในไตรมาส 3/60 ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น สัดส่วนหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเป็น 2.74% อย่างไรก็ตาม การผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไปของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับและสินเชื่อบัตรเครดิตลดลง.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ