หวั่นซากโซลาร์เซลล์ล้นเมือง! รัฐรับมือหลังเอกชนแห่ติดตั้ง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

หวั่นซากโซลาร์เซลล์ล้นเมือง! รัฐรับมือหลังเอกชนแห่ติดตั้ง

Date Time: 29 ก.ค. 2560 05:30 น.

Summary

  • นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)เปิดเผยว่า กรอ.ได้จัดทำแผนแม่บทเพื่อรองรับซากแผงโซลาร์เซลล์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)เปิดเผยว่า กรอ.ได้จัดทำแผนแม่บทเพื่อรองรับซากแผงโซลาร์เซลล์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังจากผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมเริ่มทยอยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าบนหลังคาโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้เข้าสู่ระบบกำจัดอย่างถูกต้อง เนื่องจากตามคาดการณ์ในอีก 25 ปีข้างหน้า จะมีแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุการใช้งานเป็นซากขยะอุตสาหกรรม รวม 500,000 ตัน ซึ่งหนึ่งในแผนที่จะดำเนินการคือ กรอ.จะลงนามบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมกับ กรอ. นำร่องจัดการแผงโซลาร์เซลล์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น ในต่างประเทศใช้วิธีกำจัดในหลายๆ รูปแบบ เช่น การบดแยกด้วยแม่เหล็กหรือการแยกด้วยความหนาแน่น การกัดด้วยกรดและสารละลายต่างๆ การเผาโดยการถลุงโดยใช้ความร้อน หรือการหลอมละลาย รวมถึงวิธีอื่นๆที่มีประสิทธิภาพ

นายมงคลกล่าวว่า ไทยมีนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานโซลาร์เซลล์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 45 ทำให้
ปัจจุบันการใช้พลังงานทดแทนจากแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้รับความนิยมทั้งในภาคครัวเรือน, ภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบติดตั้งบนพื้นดินที่เรียกว่า โซลาร์ฟาร์ม หรือติดตั้งบนหลังคาอาคารที่เรียกว่า โซลาร์รูฟท็อป ซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้น เพราะนอกจากรัฐบาลสนับสนุนแล้ว ยังลดค่าใช้จ่ายด้านพลังด้วย ดังนั้นจึงต้องทำแผนรองรับเพราะแผงโซลาร์เซลล์มีอายุใช้งาน 25 ปี เมื่อหมดความคุ้มค่าในการผลิตไฟฟ้าแล้วจะเกิดเป็นซากอุตสาหกรรมขึ้น ซึ่งต้องกำจัดให้เป็นระบบ

ล่าสุด กรอ.ยังได้พัฒนากระบวนการอนุญาตให้สามารถนำ กากอุตสาหกรรมออกนอกโรงงานอุตสาหกรรมไปทำลาย (สก.2) ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ไลเซนส์) หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเพิ่มช่องทางให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หลังจากนั้นระบบจะตรวจสอบข้อมูลทุกรายการในคำขอที่ยื่นขออนุญาตกับข้อมูลที่มีในระบบ และจะประมวลผลพิจารณาอนุญาตตามเงื่อนไขโดยอัตโนมัติ ซึ่งระบบจะพิจารณาแทนเจ้าหน้าที่ เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการต้องใช้เวลายื่นเอกสารในเรื่องดังกล่าวเฉลี่ย 10-30 วัน แต่ระบบใหม่ใช้เวลาน้อยลงเหลือเพียง 3 นาที ซึ่งการพัฒนารูปแบบดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และเพื่อให้นำกากอุตสาหกรรมเข้าระบบกำจัดให้ได้ 90% ของปริมาณที่เกิดขึ้นต่อปีภายในระยะ 5 ปี.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ