LINE เปิดกลยุทธ์ใหม่ช่วยร้านค้าไทย แข่งขันได้ ขายคล่อง หลังสภาพเงินในกระเป๋า ทำคนคิดหนักก่อนจ่าย

Business & Marketing

Trends

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

LINE เปิดกลยุทธ์ใหม่ช่วยร้านค้าไทย แข่งขันได้ ขายคล่อง หลังสภาพเงินในกระเป๋า ทำคนคิดหนักก่อนจ่าย

Date Time: 2 ต.ค. 2567 18:32 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจส่งผลให้กิจการต่าง ๆ ในประเทศไทยกำลังเผชิญกับความยากลำบากในการทำธุรกิจ LINE ประเทศไทย จัดงานสัมนาธุรกิจ “THAILAND NOW & NEXT: Thriving Through the Economic Instability” ที่เปิดให้ธุรกิจและแบรนด์ของไทยเข้าร่วมเจาะลึกแนวโน้มเศรษฐกิจ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง พร้อมเผยแนวทางสร้างกลยุทธ์ใหม่

Latest


หลายปีที่ผ่านมา GDP ของไทยเติบโตแบบผันผวน มีผลมาจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ โดยในปี 2024 นี้คาดว่าจะมีการฟื้นตัวด้วยอัตราการเติบโตประมาณ 2.3-2.6% จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศที่แข็งแรงขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ด้วยหนี้ครัวเรือนที่มีสัดส่วนสูงกว่า 90% รวมไปถึงปัจจัยลบจากภายนอกประเทศ ทั้งเรื่องของความตึงเครียดทางสงครามการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจ ไปจนถึงการทะลักเข้ามาของสินค้าจีนในอาเซียน ส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทยกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน

LINE นับว่าเป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการนำมาใช้เพื่อดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะกับ SME ไทย ที่ปัจจุบันพบว่า มียอดการเปิดบัญชี LINE Official Account หรือบัญชีทางการร้านค้าออนไลน์อยู่ที่กว่า 6 ล้านบัญชี อีกทั้งยังใช้เครื่องมืออย่าง LINE Ads มาเป็นโซลูชันเพื่อช่วยส่งเสริมการขายอีกด้วย 

จึงเป็นที่มาให้ LINE ประเทศไทย จัดงาน “THAILAND NOW & NEXT: Thriving Through the Economic Instability” งานสัมมนาทางธุรกิจ ที่เปิดให้ธุรกิจและแบรนด์ของไทยเข้าร่วมเจาะลึกแนวโน้มเศรษฐกิจ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกของการทำธุรกิจบน LINE เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างกลยุทธ์ใหม่ นำพาธุรกิจเติบโตต่อได้อย่างยั่งยืน

รัฐธีร์ ฉัตรดำรงค์ศักดิ์ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า “เทรนด์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง ภาคธุรกิจไทยจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์ รับรู้ข้อมูล และปรับตัวอย่างทันท่วงที่ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้แบรนด์เติบโตและอยู่รอด ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง LINE พร้อมที่จะเป็นแพลตฟอร์มหลักสำหรับภาคธุรกิจไทย ในการนำข้อมูลและเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัว อยู่รอด และเติบโตอย่างมั่นคง ในยุคที่การแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว”


LINE เปิดกลยุทธ์ใหม่ ช่วยร้านค้าไทยขายคล่อง และให้ลูกค้าเข้าถึงง่าย


ภายในงาน วีระ เกษตรสินรองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ LINE ประเทศไทย ได้เผยถึงแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องมือ โดยโซลูชันที่น่าสนใจบน LINE ที่จะมีการพัฒนาภายในปี 2024-2025 นี้ ได้แก่ 

  • ร้านค้ากำหนด Targets ได้ละเอียดขึ้น: เพิ่มรูปแบบใหม่และเพิ่มตัวเลือกในการระบุกลุ่มเป้าหมายที่ละเอียด และครอบคลุมมากขึ้น โดยเปิดให้แบรนด์สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายตามความสนใจในกลุ่มผู้ติดตามบน LINE OA ได้แล้ว และจะมีการขยายไปสู่กลุ่มผู้ใช้งาน LINE OpenChat ให้ผู้ใช้งานบริการอื่น ๆ บน LINE รวมถึง LINE TODAY สามารถใช้งานได้ในอนาคต

  • ร้านค้าบริหารจัดการ Data ได้เอง: ฟีเจอร์นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ Data ได้ดีและสะดวกยิ่งขึ้นด้วย “MyCustomer” ผ่านฟีเจอร์ใหม่ ๆ เช่น การจับคู่ข้อมูลด้านโปรไฟล์ของลูกค้ากับผู้ติดตามใน LINE OA การมีระบบอัตโนมัติมาช่วยดำเนินงานการตลาดให้ การเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบภายนอกได้ และการออกแบบกลุ่มเป้าหมายโดยให้ AI มาเป็นเครื่องมือช่วยคาดการณ์ ในขณะที่ “MyCustomer | CRM” มีแผนเปิดกว้างการเชื่อมต่อกับช่องทางการขายอื่น ๆ มากขึ้น รวมไปถึงกับแอปฯ LINE MAN ที่จะมีการเพิ่มฟังก์ชันให้สามารถสร้างกิจกรรมพิเศษตามกลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้

  • ร้านค้าติดตามผลแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคได้: จะเดินหน้าผลักดันการใช้งาน Conversion API เพื่อช่วยแบรนด์เพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามผลพฤติกรรมผู้บริโภคได้แม่นยำ ครอบคลุมขึ้นกว่าเดิม เน้นไปที่ MyCustomer API, LINE SHOPPING API และ Mini App ช่วยให้แบรนด์สามารถใช้เทคโนโลยีบน LINE สร้างการเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้นในอนาคต

LINE ยังคงสานต่อจุดมุ่งหมายในการเป็นแพลตฟอร์มเปิดเพื่อคนไทย เปิดโอกาสให้ทั้งภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างบริการดิจิทัลที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจที่แตกต่างกันไป และนักพัฒนาเข้ามามีบทบาทในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจดิจิทัลโดยรวม นอกจากนั้น ยังมุ่งช่วยให้ธุรกิจและแบรนด์เดินหน้าเติบโตต่อได้ในระยะยาวท่ามกลางความไม่แน่นอน ด้วยทิศทางการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อภาคธุรกิจในอนาคต 


4 แนวโน้มกลยุทธ์ธุรกิจบน LINE


จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หลายธุรกิจได้ตระหนักและปรับกลยุทธ์เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง ศรีสุภาคย์ อารีวณิชกุล ผู้อำนวยการธุรกิจองค์กร LINE ประเทศไทย เผยข้อมูลเชิงลึกการใช้งาน Data บนแพลตฟอร์ม LINE ของธุรกิจต่าง ๆ ในไทยที่น่าสนใจตลอดช่วงปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวเสริมกลยุทธ์ใหม่โดยใช้ Data เพื่อตอบรับกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยสามารถสรุปเป็น 4 กลยุทธ์ ดังนี้

  • ใช้ช่องทางโฆษณาแบบผสมผสาน (Omni-Media): ใช้ทั้งช่องทางโฆษณาแบบ Reservation เพื่อเข้าถึงระดับ Mass ควบคู่ไปกับ ช่องทางโฆษณาบน LINE Ads เพื่อระบุกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง ช่วยให้แบรนด์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาได้ดีขึ้น

  • ใช้กลุ่มเป้าหมายใหม่ในการยิงโฆษณา: โดยธุรกิจในปัจจุบันจะเลือกทดลองยิงโฆษณากับกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมายเดิมที่เคยเลือกใช้ เพื่อขยายฐานผู้มีแนวโน้มสนใจสินค้าของแบรนด์ได้กว้างและครอบคลุมขึ้น

  • ให้ความสำคัญกับ First Party Data: โดยใช้เครื่องมือ MyCustomer ทำหน้าที่เป็นถังเก็บ รวบรวม และบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อนำมาจำแนก แบ่งกลุ่มเป้าหมาย และวิเคราะห์เพื่อทำการสื่อสารด้านการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง ยกตัวอย่างเช่น บัญชีทางการของธนาคารบนไลน์ ที่จะมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือข้อมูลที่น่าสนใจ ซึ่งจะเลือกส่งข้อมูลที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น และแต่ละคนก็จะได้รับข้อมูลที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่แบรนด์ไม่มีข้อมูล First Party Data เป็นของตนเอง ก็สามารถใช้ Mission Stickers มาเป็นกลยุทธ์เสริมได้

  • สร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคล (Personalization): ด้วยการเอา Data มาจำแนก แบ่งกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างประสบการณ์ นำเสนอคอนเทนต์ให้ตรงกลุ่ม ตรงใจ ตรงการใช้งานจริงของแต่ละคน เช่น ธุรกิจยานยนต์ ที่มีการยิงโฆษณาด้วยเนื้อหาที่แตกต่างกันไปยังกลุ่มลูกค้าตามระดับความสนใจซื้อธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจการเงินที่มีการแสดงผล Rich Menu บน LINE OA แตกต่างกันไปตามระดับสมาชิกของลูกค้าแต่ละคน เป็นต้น

4 แนวโน้มผู้บริโภคไทยปี 2024-2025


จากหัวข้อ “Unfolding Consumer Insights in a Challenging Thailand” นำเสนอโดย ชินตา ศรีจินตอังกูร Thailand Site Leader บริษัท นีลเส็นไอคิว (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยตลาด ได้เผยแนวโน้มเทรนด์ผู้บริโภคที่น่าสนใจในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 5 แนวโน้ม ดังนี้

  • ผู้บริโภคคิดหนักก่อนซื้อ: ด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคง พบ 35% ของผู้บริโภคในปัจจุบันมีสภาพการเงินแย่ลงจากปีก่อนหน้า และจากภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่มีความคุ้มค่ากับราคามากขึ้น โดยจะคำนึงถึง “คุณค่า” ของสินค้าเป็นหลัก และพร้อมที่จะทดลองแบรนด์ใหม่ ๆ เสมอถ้ามีราคาที่เหมาะสมกว่า

  • สถานะทางการเงินยังแตกต่างกันในหลายกลุ่ม: พบว่า มีคนไทยเพียง 20% จากการสำรวจที่ไม่ได้รับผลกระทบทางการเงิน และในสัดส่วนที่เหลือยังคงระมัดระวังในเรื่องของการใช้จ่าย ส่งผลให้มีเทรนด์หางานเสริมเกิดขึ้น ขณะเดียวกันในการจับจ่ายใช้สอย คนก็มักจะวางแผนก่อนซื้อเสมอ

  • ไม่ได้เลือกสินค้าแค่จากราคา: นอกจากเรื่องราคาแล้ว ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับคุณค่าอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยจะเฉพาะจากเรื่องของ “ส่วนลด” แล้ว บางครั้งยังเลือกแบรนด์ใหม่ ตอบโจทย์สุขภาพ ความยั่งยืน และบางครั้งเลือกสินค้าโฮมเมด

  • ใช้เทคฯ แต่ระวังเรื่องความปลอดภัย: ปัจจุบันลูกค้าเลือกแบรนด์ที่ตอบโจทย์ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์หน้าร้านที่เชื่อมต่อกันได้ แต่ขณะเดียวกัน หากร้านมีการนำเอาเทคโนโลยีอย่างเช่น AI เข้ามาใช้งาน ลูกค้ายังเลือกที่จะรอเพื่อโต้ตอบกับคนมากกว่า และระวังในการให้ข้อมูลมากขึ้น

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ