เรียกว่าเป็นค่ำคืนแห่งความ “เวิ้งว้าง” ก็คงไม่ผิดนัก สำหรับเหตุ #เฟสล่ม #ไอจีล่ม เป็นเวลานานถึง 2 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทั้งเฟซบุ๊ก, แอปพลิเคชันเมสเซนเจอร์, อินสตาแกรม และเธรดส์ ของเมตา ทั้งของไทยและทั่วโลก ใช้งานไม่ได้ชั่วคราว
ซึ่งไม่ใช่แค่โลกออนไลน์ปั่นป่วน แต่คนไทยก็ว้าวุ่นใจเช่นเดียวกัน จากการที่ “โซเชียลเน็ตเวิร์กกิ้ง” เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างมาก ประกอบกับปัจจุบัน “โซเชียลมีเดีย” ยังมีบทบาทสำคัญในแง่การตลาด รวมถึงการค้า-การขาย-การสื่อสารของธุรกิจต่างๆ ด้วย
แต่ถ้าถามว่า คนไทยเสพติดโซเชียลมีเดียมากน้อยแค่ไหนนั้น? อาจตอบได้จาก แบบสำรวจของ Datareportal ในรายงาน Digital 2024: Thailand ซึ่งพบว่าปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย มีมากถึง 63.21 ล้านราย และเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 7 ชั่วโมง 58 นาที ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงทีเดียว
ข้อมูลเพิ่มเติมอ้างอิงบทวิเคราะห์โดย DAD สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ยังระบุว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย มีสาเหตุของการใช้งานในยุคดิจิทัล แตกต่างกัน 10 อันดับแรก ดังนี้
หมายเหตุ: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย อายุระหว่าง 16-64 ปี
ขณะเดียวกัน จากรายงานดังกล่าวยังระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียถึง 49.10 ล้านคน คิดเป็น 68.3% ของประชากรไทย
โดยคนไทยใช้เวลากับโซเชียลมีเดียโดยเฉลี่ยต่อวันถึง 2 ชั่วโมง 31 นาที ส่วนจำนวนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ใช้เฉลี่ยในแต่ละเดือน อยู่ที่ 6.7 แพลตฟอร์ม ซึ่ง 10 อันดับเหตุผลแรกที่คนไทยใช้ “โซเชียลมีเดีย” มีความหลากหลายน่าสนใจดังนี้
ที่มา : Thailand (Datareportal), DAD NIDA