ปนิษฐา บุรี นายกสมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) และประธานการจัดงาน Thailand MICE X-Change 2025 กล่าวว่า สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) ได้จัดงาน Thailand MICE X-Change 2025 (TMX25) เป็นปีที่ 2 โดยการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ ถือเป็นเวทีสำคัญในการรวบรวมผู้ประกอบการชั้นนำในอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าทั่ววงการ
ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคมาร่วมกันสร้างสรรค์โอกาสใหม่ๆ ขยายเครือข่ายธุรกิจและยกระดับมาตรฐานการจัดงานแสดงสินค้าให้แข็งแกร่งมากขึ้น โดยเฉพาะผู้เข้าร่วมการออกงานแสดงสินค้า (Exhibitor) จะสามารถใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมงานได้อย่างเต็มที่ โดยสามารถต่อยอดสินค้า บริการ และธุรกิจของผู้เข้าร่วมการออกงานแสดงสินค้าให้ก้าวไกลไปสู่ระดับสากล
โดยปี 68 เรานี้ได้เตรียมกิจกรรมและโซลูชันที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจงานแสดงสินค้าจากผู้ประกอบการกว่า 150 ราย ทั้งสถานที่จัดงานชั้นนำ Top 5 จากประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ รวมถึงบริษัทออแกไนเซอร์ทั้งระดับประเทศและระดับโลก ที่จะร่วมเปิดมุมมองสู่มาตรฐานและเทรนด์งานแสดงสินค้าใหม่
ผู้ให้บริการออกแบบและก่อสร้างบูธ ที่มีมาตรฐานระดับสากล ซัพพลายเออร์เทคโนโลยีและวัสดุยั่งยืน ที่เน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์การก่อสร้างในเงื่อนไขที่จำกัด ในงบประมาณที่ควบคุมได้ รวมถึงเทคโนโลยีที่รวมสุดยอดนวัตกรรมสำหรับ Smart Exhibition เช่น AI, IoT, ระบบลงทะเบียนออนไลน์ และการจัดการข้อมูล
นอกจากนี้ยังมีเวทีสัมมนาในงานจะเป็นเวทีเดียวที่มีเนื้อหาจัดเต็มสำหรับธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้าและกลยุทธ์สำหรับผู้เข้าร่วมแสดง โดยปีนี้ได้รวบรวมวิทยากรชั้นนำกว่า 28 ท่าน บน 2 เวทีพร้อมกัน ทั้ง Main Stage และ X-change Square เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ที่ตกแต่งด้วยวัสดุที่ยั่งยืน
จากความสำเร็จในปีที่ผ่านมามีผู้ร่วมออกงานแสดงสินค้ากว่า 105 บริษัท และผู้เข้าชมงาน กว่า 4,483 ราย อาทิ ฝ่ายการตลาดบริษัทเอกชน, ผู้รับบริหารโครงการจัดงานภาครัฐ (TOR), หน่วยงาน องค์กร ผู้จัดงานภาครัฐ, ฝ่ายจัดซื้อ ครีเอทีฟ ผู้จัดการโครงการ บริษัทผู้จัดงานแสดงสินค้า งานแฟร์ งานอีเวนต์
รวมไปถึงกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ทั้งสิ้น 761 คู่เจรจาทำให้เชื่อมั่นว่าในปี 2025 จะมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงท้ายของงานแถลงข่าวมีเวทีเสวนาเปิดมุมมอง NEXHIBITION เปลี่ยนเกม เดินหน้าเศรษฐกิจไทย โดยวิทยากร 3 ท่านที่เชี่ยวชาญในด้านการจัดแสดงสินค้า
นอกจากนี้ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้รับการยอมรับในฐานะศูนย์กลางของงานแสดงสินค้านานาชาติ ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยสำหรับอุตสาหกรรมการจัดงานแสดงสินค้า ไม่ว่าจะเป็นสถานที่จัดงานมาตรฐานที่เหนือกว่ามาตรฐานสากล บริษัทผู้บริหารการจัดงาน (Professional Exhibition Organiser) ที่หลากหลาย ซึ่งพร้อมเป็นผู้รับบริหารจัดงานให้กับงานแสดงสินค้านานาชาติที่หมุนเวียนเข้ามาจัดในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
ด้านบุคลากรงานแสดงสินค้าซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาของ MICE ก็ได้รับการบ่มเพาะและพัฒนาให้กลายเป็นหนึ่งในจุดแข่งของอุตสาหกรรมเพื่อการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ปัจจุบันประเทศไทยเรามีงาน Trade Exhibitions เฉลี่ยกว่า 200 งานตลอดทั้งปี ที่จัดเก็บข้อมูลโดยสมาคมการแสดงสินค้าไทย
เมื่อนับรวมกันทั้งหมดเรามีงานแสดงถึงกว่า 19 ล้านตารางเมตร ซึ่งนับว่ามีขนาดอยู่ในลำดับต้นๆ ของอาเซียน ผู้ร่วมงานต่างชาติกว่า 350,000 ราย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสู่ประเทศกว่า 3 แสนล้านบาท และคาดว่าในปีนี้งานแสดงสินค้าจะเติบโตราว 6-8% จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ที่เติบโตจากตลาดการจัดงาน Trade Exhibition ในบาง sectors
โดยเทรนด์ของการจัดงานแสดงสินค้าจะครอบคลุมในประเด็นแรก คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้มากขึ้น เช่น Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR) Big Data, AI เป็นต้น เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้เข้าร่วมและช่วยให้ผู้แสดงสินค้าสามารถนำเสนอสินค้าในรูปแบบที่น่าสนใจตอบรับกับโจทย์ของการจัดงานมากขึ้น และประเด็นที่สอง คือ การใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการสร้างบูธเพื่อสร้างความยั่งยืน ตามแนวทางของลูกค้ายุโรป อเมริกาและญี่ปุ่น
ดร.ดวงเด็ด ย้วยความดี ผู้อำนวยการ ฝ่ายอุตสาหกรรมการแสดงสินค้านานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า ในปีนี้ ทีเส็บได้ขยับกลยุทธ์เปิดเกมรุกใหม่ในเวทีงานแสดงสินค้าด้วยเป้าหมายเพื่อรักษาตำแหน่งเจ้าตลาดของอาเซียนและเสริมความแข็งแกร่งให้ไทยยังคงเป็นเวทีสำคัญสำหรับผู้จัดงานจากทั่วโลก
สำหรับเป้าหมายของทีเส็บ ไม่ใช่เพียงสนับสนุนให้มีการจัดงาน แต่เราวางกลยุทธ์ใหม่ คือ ไม่ใช่แค่การดึงงานจากต่างประเทศเข้ามาจัดในไทย แต่ปลุกองค์กรธุรกิจไทยให้ตื่นตัวใช้งานแสดงสินค้าเป็น เครื่องมือการตลาดเป็นการสร้างดีมานต์ให้กับซัพพลาย ชิงลงมือก่อนคู่แข่งในภูมิภาค
นอกจากนี้ ทีเส็บ ได้เดินหน้ากลยุทธ์ บริการภิวัฒน์ (Servitization) เพื่อยกระดับบริการจากการรองรับการจัดงาน ไปสู่การเพิ่มมูลค่าและต่อยอดทางเศรษฐกิจ อย่างเป็นรูปธรรมโดยวัดได้จาก Return of Investment พร้อมกันนี้ ทีเส็บ ยังผลักดันแนวคิด Spend more and See you again ซึ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมงานใช้เวลาในประเทศไทยมากขึ้น
ทั้งด้านธุรกิจและ leisure เพื่อขยายผลกระทบทางเศรษฐกิจ พร้อมกระตุ้นให้เกิดการกลับมาอีกครั้ง ไม่ว่าจะในฐานะนักท่องเที่ยวพร้อมครอบครัวหรือองค์กรที่เลือกไทยเป็นที่จัดประชุมประจำปี (Annual Meeting)
"ทุกครั้งที่นักธุรกิจกลับมา ไม่ใช่แค่รายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่คือความสัมพันธ์ที่ลึกขึ้นและโอกาสทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง นี่คือโอกาสที่จะได้เห็นว่า งานแสดงสินค้า ไม่ใช่แค่เวทีโชว์ของแต่คือเครื่องมือการตลาดยุคใหม่ที่จะช่วยต่อยอดเป้าหมายธุรกิจของคุณให้ไปได้ไกลกว่าเดิม"
ชญานิศ ธัญญวัฒนกุล ประธานคณะ BUSINESS NETWORK YEC Thailand กล่าวว่า งานแสดงสินค้าเป็นหนึ่งใน Marketing Tools ของการทำการตลาด ดังนั้น การมีโอกาสได้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่มีมาตรฐานสากลนับเป็นโอกาสที่ดีในการได้เปิดสินค้าในระดับโลก แต่จะทำอย่างไรให้การออกงานประสบความสำเร็จ การเก็บข้อมูล Database เพื่อนำมาวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผล จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งคำตอบเหล่านี้สามารถหาได้ในงาน TMX25
งาน TMX 25 ไม่ใช่แค่เวทีโชว์ของ แต่เป็นเครื่องมือการตลาดยุคใหม่ที่จะช่วยต่อยอดเป้าหมายธุรกิจให้ไปได้ไกลกว่าเดิมและมุ่งสู่เป้าหมายได้ตรงจุด โดยงาน TMX 25 นี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 3 เมษายน นี้ ณ พารากอนฮอลล์ สยามพารากอน ตั้งแต่เวลา 10.00 น. - 19.00 น.
หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR และ นายตุลย์ ไตรโสรัส เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ร่วมพิธีเปิดร้าน Café Amazon Concept Store สาขาตวลโก๊ก ซึ่งถือเป็น Café Amazon ในรูปแบบ Concept Store แห่งแรกในประเทศกัมพูชา พร้อมก้าวสู่การเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของกรุงพนมเปญ นอกจากนี้ คณะผู้บริหาร OR ยังได้เดินทางไปร่วมพิธีเปิดสถานีบริการ PTT Station Neak Vorn หนึ่งในสาขาสถานีบริการ Flagship ครบวงจรซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองพนมเปญอย่างเป็นทางการ โดยได้รับเกียรติจาก นายเฉียบ ซาว ผู้ช่วยรัฐมนตรี กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกัมพูชา ร่วมงานด้วย
บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TOA ยังคงเดินหน้าสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมสี กวาดเพิ่ม 2 รางวัลใหญ่แห่งปี 2025 จากเวที BrandAge Awards ได้แก่ รางวัล Thailand’s Most Admired Company – สุดยอดองค์กรต้นแบบที่มี ความสามารถ และ ความน่าเชื่อถือ มากที่สุด และ รางวัล Thailand’s Most Admired Brand – แบรนด์สียอดนิยมอันดับ 1 ที่ครองใจคนไทยทั้งประเทศติดต่อกันเป็นปีที่ 14 ย้ำแชมป์เจ้าตลาดสีตัวจริง ที่พิสูจน์ถึงคุณภาพ นวัตกรรม ความไว้วางใจ และเลือกใช้มากที่สุดจากผู้บริโภค
ปิยะพร ปฏิมาวิรุจน์ Sales Leader คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค โปรเฟสชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค โปรเฟสชั่นแนล เชื่อมั่นว่าสุขอนามัยและความยั่งยืนสามารถทำให้เกิดขึ้นไปพร้อมกันได้ เรามุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงแต่ตอบโจทย์ด้านสุขอนามัย
แต่ยังต้องรับผิดชอบต่อสังคมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งการได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์ Carbon Footprint of Product แบบ Circular Economy (CE CFP) เป็นก้าวสำคัญที่ตอกย้ำความเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านสุขอนามัยที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมของเรา และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม
ศสิพงศ์ บุญแต้ม Marketing Manager คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค โปรเฟสชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า Better Care for A Better World เป็นคำมั่นสัญญาที่เรายึดมั่นมาโดยตลอด เราไม่ได้แค่พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ แต่ยังให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน เราเชื่อว่าการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่จำเป็น ไม่ใช่แค่เพื่อองค์กรหรือลูกค้าของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อโลกที่ยั่งยืนในอนาคตอีกด้วย
ทั้งนี้ คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค โปรเฟสชั่นแนล ประเทศไทย ได้ได้จัดการเสวนาโดยผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและภาคเอกชนในหัวข้อสำคัญ อาทิ แนวทางการเตรียมตัวของภาคธุรกิจต่อ พ.ร.บ. Climate Change โดย ดร.กิตติศักดิ์ พฤกษ์กานนท์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นย้ำว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่เพียงเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย แต่ยังเป็นโอกาสให้ธุรกิจพัฒนาและแข่งขันได้ในยุคที่ตลาดให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม
อีกทั้งยังมีการบรรยายเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐาน G-Green โดย ดร.เพชรดา อ้อชัยภูมิ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการได้รับตราสัญลักษณ์ G-Green (ไม่ว่าจะเป็น Green Hotel, Green Restaurant, Green Office) ในการสร้างความน่าเชื่อถือและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ รวมถึงบทบาทของ Thai Green Label ในการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ
โดย ดร.ถนอมลาภ รัชวัตร์ นักวิจัยอาวุโส ซึ่งระบุว่าผลิตภัณฑ์ที่มีตราสัญลักษณ์ Thai Green Label ไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอกรณีศึกษาแนวทางธุรกิจที่ยั่งยืนจากลูกค้าเครือเซ็นทรัล เรสเตอรองส์
วมถึงวีร์ธิมา พัฒนไพสิฐ Purchasing Equipment Manager Central Restaurant Group Co.,Ltd. อาทิเช่น การลด food waste การจัดซื้อวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อชุมชนบริเวณโดยรอบแต่ละสาขา เป็นต้น
ทั้งนี้ คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค โปรเฟสชั่นแนล ประเทศไทย ยังคงมุ่งมั่นและเดินหน้าสานต่อเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยมีเป้าหมายที่จะได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์ Carbon Footprint Reduction (CFR) ในลำดับต่อไป ตามคำมั่นสัญญาของเรา Better Care for A Better World ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่รับผิดชอบต่อสังคมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวไปสู่โลกที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน