เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เตรียมเป็นฮับ "อุตสาหกรรมโลจิสติกส์" แห่งอนาคต

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เตรียมเป็นฮับ "อุตสาหกรรมโลจิสติกส์" แห่งอนาคต

Date Time: 16 ต.ค. 2567 16:00 น.

Video

บิทคอยน์ VS เงินในกระเป๋าเกี่ยวกันยังไง ? | Digital Frontiers

Summary

  • ผู้จัดงาน LogiMAT Southeast Asia ประเมินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เตรียมเป็นฮับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์แห่งอนาคต ที่มีมูลค่ามากกว่า 55,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 นี้

Latest


ผู้จัดงาน LogiMAT Southeast Asia ประเมินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เตรียมเป็นฮับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์แห่งอนาคต ที่มีมูลค่ามากกว่า 55,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 นี้

นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจุบัน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นพื้นที่ศักยภาพ ที่มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์แห่งอนาคตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ในด้านอาหารและการเกษตร (Food and Agriculture Logistics) เส้นเลือดทางเศรษฐกิจหลักของภูมิภาค ทำให้การขนส่งที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรและอาหารสด โดยเฉพาะการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain) จึงมีการเติบโตที่รวดเร็ว

ด้านอีคอมเมิร์ซ (E-commerce Logistics) ที่ได้ผลกระทบทางบวกจากการขยายตัวของธุรกิจค้าขายออนไลน์ โดยเฉพาะในประเทศไทย, เวียดนาม และอินโดนีเซีย ทำให้การขนส่งสินค้าออนไลน์มีการเติบโตที่รวดเร็วตามไปด้วย เช่น การจัดการคลังสินค้า และบริการจัดส่งที่รวดเร็ว (Last-mile delivery)

นอกจากนี้ ด้วยเทรนด์ธุรกิจทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้โลจิสติกส์สำหรับห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน (Sustainable Supply Chain Logistics) รวมถึงโลจิสติกส์แบบคาร์บอนต่ำ ได้ถูกนำมาใช้ในหลายองค์กรทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อวัตถุประสงค์ลดก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการขนส่ง

ทั้งการเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดสำหรับยานพาหนะขนส่ง เช่น รถไฟฟ้า เรือขนส่งที่มีการใช้พลังงานหมุนเวียน รวมไปถึงการนำระบบจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพมาใช้ (Energy-efficient Logistics) ซึ่งช่วยวางแผนเส้นทางขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดการใช้พลังงานไปพร้อมกัน

อย่างไรก็ตาม เรามองว่า ด้วยศักยภาพด้านโลจิสติกส์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ครอบคลุมในทุกด้าน ทำให้งาน LogiMAT Southeast Asia 2024 มีการรวมตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็น ชิ้นส่วนยานยนต์ อาคารและการก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย อีคอมเมิร์ซ การศึกษา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน สินค้า FMCG

รวมถึงอาหารและเครื่องดื่ม เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์แต่งบ้าน เครื่องแต่งกายและสิ่งทอ โลหะ ยาและโรงพยาบาล เครื่องทำความเย็นและห่วงโซ่ทำความเย็น ผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ผู้ค้าปลีก-ส่ง รวมถึงเวทีอีเว้นต์ต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การอัปเดตเทรนด์ ไอเดีย และแรงบันดาลใจด้านโลจิสติกส์โดยผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากทั้งในไทยและนานาประเทศ

ทั้งนี้หอการค้าไทยมีความยินดีที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน LogiMAT Southeast Asia 2024 ซึ่งเป็นเวทีสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยปีนี้จัดภายใต้แนวคิด Man & AI Work Together ซึ่งการผสาน AI เข้ากับการบริหารจัดการจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการ นักลงทุน ในการขยายธุรกิจและเครือข่าย อีกทั้งยังส่งเสริมการพัฒนาทักษะเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันในตลาดโลก เรามั่นใจว่างานนี้จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจไทยและนำไปสู่ความสำเร็จและการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ คาดว่า LogiMAT Southeast Asia 2024 จะมีเงินสะพัดในงานรวมกว่า 1,200 ล้านบาท พร้อมเป็นแรงเสริมสำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีแนวโน้มมูลค่ารวมสูงกว่า 55,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 นี้

นางสาวศิริพร ศิลธร ผู้อำนวยการโครงการฯ กล่าวว่า สำหรับในประเทศไทยเอง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ของภูมิภาคฯ ก็ได้มีการนำเอาโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive Logistics) มาใช้อย่างแพร่หลาย

เช่นเดียวกับอีกกลุ่มโลจิสติกส์ศักยภาพสูงอย่าง การใช้เทคโนโลยีใหม่ (Technology-driven Logistics) ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการด้านต่าง ๆ อาทิ ระบบอัตโนมัติ (Automation), ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือการใช้โดรนในการขนส่ง

โดยในงานนี้ จึงตอบสนองธุรกิจที่กำลังก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการนำ AI เข้ามาช่วยสร้างประสิทธิภาพสูงสุดในแง่การทำงานและการลดต้นทุน ภายใต้แนวคิด Man & AI Work Together

สำหรับแนวความคิดนี้ ได้ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างเป็นรูปธรรม โดยการนำหุ่นยนต์เข้ามาทำงานร่วมกับคน ทั้งช่วยขนย้าย จัดเก็บ และดึงสินค้าแบบอัตโนมัติ โดยใช้จุดแข็งที่สามารถยกสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ส่งต่อให้คนทำงานตามจุดต่าง ๆ เพื่อลดภาระคน

จากเดิมที่ต้องเดินเข้าออกในคลังสินค้ากว่า 10 กิโลเมตรต่อวัน ทำให้คนไม่เหนื่อยและลดข้อผิดพลาดต่าง ๆ ลง โดยมีซอฟต์แวร์และ AI ช่วยควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์อีกทอดหนึ่ง นับเป็นการแสดงความพิเศษของคลังสินค้าแบบอัจฉริยะและระบบการจัดการสินค้า ที่จับต้องได้จริง

นายโรแลนด์ ไบลน์รอธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานบริษัทเมสเซ่ สตุ๊ตการ์ท กล่าวว่า ในปีนี้เราได้รับความร่วมมือจาก สมาคมไทยอินทราโลจิสติกส์ หอการค้าไทย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) Logistics & Supply Chain Management Society (LogiSYM) และพันธมิตรอื่นๆ ทุกท่านที่ร่วมมือกับเรา

โดยงาน LogiMAT SEA 2024 ที่มีขึ้นตั้งแต่วันนี้ถึง 18 ตุลาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทคได้แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคในด้านโซลูชันโลจิสติกส์ขั้นสูง เราจะได้เห็นว่านวัตกรรมเหล่านี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไร พร้อมทั้งรับชมนวัตกรรมและโซลูชันต่างๆ จากประเทศไทย, สิงคโปร์, จีน, เยอรมนี, อิตาลี และประเทศอื่นๆ

นายแมธเธียส คูเปอร์ กรรมการผู้จัดการและรองประธาน โคโลญเมสเซ่ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ความสำเร็จของงานในปีนี้ โดยเฉพาะการเปิดตัวของ LogiFOOD Showcase และ LogiMAT-LogiSYM Cold Chain Thailand 2024 เน้นย้ำถึงความสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นของโลจิสติกส์และการเชี่ยวชาญด้านโซ่ความเย็นในภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ