Thairath OnlineThairath PlusThairath SportThairath TVMIRROR
InvestmentPersonal FinanceEconomicsBusiness & MarketingTech & InnovationSustainabilityExperts PoolVideosPR News
ถอดสูตร “Inside Out” ปั้นแบรนด์อย่างไร ให้โดนใจผู้บริโภค กับกลยุทธ์ Emotional Marketing

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ถอดสูตร “Inside Out” ปั้นแบรนด์อย่างไร ให้โดนใจผู้บริโภค กับกลยุทธ์ Emotional Marketing

Date Time: 30 มิ.ย. 2567 06:00 น.

Video

ตลาดหลักทรัพย์ฯ 50 ปี สร้างประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจไทยอย่างไร ? | Money Issue

Summary

  • เดี๋ยวร่าเริง เดี๋ยวเศร้าซึม เพราะ “อารมณ์” คนเราเปลี่ยนไวไม่ใช่เล่นๆ จะทำอย่างไรให้เสนอสินค้าได้อย่างตรงจุด #ThairathMoney ชวนเจาะกลยุทธ์เด็ด ผ่านตัวละคร “Inside Out” มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง แม้จะอยู่ในห้วงอารมณ์ใด ก็สามารถทำให้สินค้าเข้าไปนั่งในใจผู้บริโภคได้

Latest


“รู้ไหมว่ามันยากแค่ไหน ที่ต้องทำตัวคิดบวกตลอดเวลา” 

“พอเรายิ่งโตขึ้น ความสุขก็ยิ่งน้อยลง”

หากคุณได้อ่านประโยคข้างต้น ก็คงจะพอเดาออกว่าเรากำลังพูดถึงเรื่องอะไร? ในที่นี้เรากำลังพูดถึง “Inside Out” มหัศจรรย์อารมณ์อลเอง ที่ถูกยกให้เป็นเดอะเบสของแอนิเมชันน้ำดีอีกเรื่องหนึ่ง

Inside Out กับเรื่องราวของอารมณ์อลเวง

Inside Out ภาคแรกถูกฉายเมื่อปี 2558 โดยเป็นการนำเสนอเรื่องราวของสาวน้อย “ไรลีย์” วัย 11 ปี ที่ต้องผ่านการเผชิญกับสิ่งที่ท้าทายอารมณ์ความรู้สึกครั้งใหญ่ นั่นคือ การย้ายบ้านจนนำมาสู่การแสดงออกทางอารมณ์เป็นตัวละครต่างๆ นั่นคือความสุข (ลั้ลลา) ความเศร้า (เศร้าซึม) ความโกรธ (ฉุนเฉียว) ความกลัว (กลั๊วกลัว) และความขยะแขยง (หยะแหยง) โดยอารมณ์ทั้งหมดอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ่ และอารมณ์แต่ละตัวจะเป็นผู้ผลัดเปลี่ยนกันมาควบคุมแผงควบคุมที่จะส่งผลต่อ “อารมณ์” ของไรลีย์นั่นเอง 

จนกระทั่งในปี 2567 รวมระยะเวลาก็เกือบจะครบทศวรรษพอดิบพอดี ดิสนีย์และพิกซาร์กลับมาพร้อมกับเรื่องราวใน “Inside Out 2” เมื่อไรลีย์กำลังก้าวเข้าสู่การเป็นวัยรุ่น ศูนย์สั่งการของเธอจึงต้องได้รับการปรับปรุงอย่างเร่งด่วนเพื่อรองรับอะไรบางอย่างที่คาดไม่ถึง นั่นก็คืออารมณ์ใหม่ๆ นั่นเอง! ไม่ว่าจะเป็น ว้าวุ่น, เขิ้นเขินอ๊ายอาย, อองวี, อิจฉา และ Nostalgia ถ้าตามข้อมูลทั่วไปคือ “ภาวะรู้สึกคิดถึงโหยหาอดีต” นั่นเอง 

เปลี่ยน “อารมณ์” ให้เป็นกลยุทธ์เด็ด

ดังนั้นถ้าหากพูดถึงในแง่มุมทางการตลาด “มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง” ทั้งหลายนี้ จะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหน และจะปั้นแบรนด์อย่างไรให้ให้โดนใจ “ลูกค้า” กับอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ที่ส่งออกมาจากศูนย์สั่งการ 

ในครั้งนี้ #ThairathMoney จะพาไปถอดสูตร “Emotional Marketing” การตลาดที่เล่นกับอารมณ์ลูกค้า ทำยังไงให้ลูกค้าจำแบรนด์ได้อย่างไม่มีวันลืม ผ่านการหยิบยกตัวละครจาก Inside Out มาเล่า

อารมณ์แรกคงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก “ลั้นลา” หรือรู้จักกันในชื่อ Joy ที่แปลว่าความสุข ดังนั้นเมื่อลูกค้ามีอารมณ์นี้แบรนด์สามารถสร้างคอนเทนต์ สินค้า หรือบริการ ที่เมื่อผู้บริโภคได้พบเห็นแล้ว รู้สึกมีความสุข สร้างรอยยิ้ม หรือเสียงหัวเราะ เพราะอย่าลืมว่าการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ไม่ได้ใช้ “เหตุผล” เพียงอย่างเดียว หลายครั้ง “อารมณ์” ก็มักอยู่เหนือเหตุผล ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อด้วยเช่นกัน และเมื่อนั้นหากลูกค้าพึงพอใจ อาจจะนำมาซึ่งการบอกต่อในที่สุด 

จากความกลัว สู่สินค้าสายมู

ต่อมาคือ ความกลัว (กลั๊วกลัว) เป็นหนึ่งในอารมณ์ด้านลบที่ใครก็อยากจะหลีกเลี่ยง ซึ่งกลยุทธ์การตลาดนี้อาจจะพุ่งเป้าที่ไปความเชื่อ สายมูเตลู หรือปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อเข้าไปนั่งในใจผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด ยกตัวอย่างเช่น ปีชง แบรนด์สามารถนำเสนอวอลเปเปอร์เสริมดวง หรือพวงกุญแจเครื่องราง เพื่ออิงกับสถานการณ์และอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ด้วยเช่นกัน 

ตอบโจทย์นักช็อป ที่ของมันต้องได้ ของมันต้องมี

และอีกหนึ่งอารมณ์ที่ดูเหมือนกับว่าจะมีอิทธิพลต่อแบรนด์มากที่สุดนั่นคือ “อิจฉา” ความโลภ อยากได้ อยากมี แน่นอนว่ากลยุทธ์ง่ายๆ ที่จะสนองนีดอารมณ์กลุ่มนี้ได้ก็คือ การนำเสนอสินค้าแรร์ไอเทมที่ยากจะครอบครอง การกระตุ้นด้วยส่วนลดต่างๆ เช่น ลด 50%, ซื้อ 1 แถม 1 หรือการใช้หมัดเด็ดโดยดึงอินฟลูเอนเซอร์มาเป็นตัวกระตุ้นชั้นดี ตรงจุดนี้เองจะทำให้เกิดความโหยหา และนำมาซึ่งการอยากได้ในที่สุด 

สุดท้ายคือ Nostalgia ที่ให้อารมณ์ความรู้สึกโหยหาอดีต ซึ่งการทำให้ลูกค้าอยากหวนกลับไปในช่วงเวลาดีๆ หรือความหลังที่มีคุณค่า นั้นจะทำให้เราสามารถเชื่อมโยงอารมณ์ของลูกค้าได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างร้านของเรากับลูกค้า เช่น ขายเมนูย้อนวัยรับวันเด็ก ชวนให้ลูกค้าคิดถึงวัยเด็กที่เคยผ่านมา หรือแคมเปญชวนคุณแม่เข้าร้านในวันแม่เพื่อรับส่วนลด ก็ได้เช่นเดียวกัน

ทั้งหมดนี้จะทำให้การเข้าถึงอารมณ์ และความรู้สึกของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการสั่งซื้อ การบอกต่อ และการจดจำได้เป็นอย่างดี เพราะในหลายๆ ครั้งลูกค้ามักจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลในการตัดสินใจซื้อ ดังนั้นหากแบรนด์นำกลยุทธ์นี้ไปใช้เล่นกับอารมณ์ของลูกค้า รับรองได้เลยว่านอกจากจะมีโอกาสได้รับออเดอร์เพิ่มขึ้นแล้ว ลูกค้ายังจะจำร้านได้อีกด้วย

ติดตามข้อมูลด้านการตลาด กับ ThairathMoney ได้ที่ https://www.thairath.co.th/money/business_marketing


ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์