พลิกอาณาจักร “เจ้าสัว” ว่าที่หุ้นตัวใหม่ แบรนด์ของฝากชื่อดัง ที่มีปั๊มน้ำมัน ปตท.เป็นพาร์ตเนอร์

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

พลิกอาณาจักร “เจ้าสัว” ว่าที่หุ้นตัวใหม่ แบรนด์ของฝากชื่อดัง ที่มีปั๊มน้ำมัน ปตท.เป็นพาร์ตเนอร์

Date Time: 11 ธ.ค. 2566 09:30 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • เปิดประวัติ พลิกอาณาจักร “เจ้าสัว” ว่าที่หุ้นตัวใหม่ เจ้าของ ‘หมูแผ่น-หมูหยอง’ ของฝากชื่อดังโคราช ที่มี ปตท.เป็นพาร์ตเนอร์ ครองพื้นที่ปั๊มน้ำมัน 100 สาขาทั่วประเทศ ทำรายได้ต่อปี หลักพันล้าน ตำนานความอร่อย 65 ปี สู่การเปิดขายหุ้น IPO ครั้งแรก

Latest


แม้จะว่ากันว่า ช่วงนี้ ไม่ใช่จังหวะที่ดีนัก สำหรับ “หุ้น IPO” จากสภาพตลาดหุ้นไทย ที่ไม่ค่อยสดใสมากนัก สะท้อนหุ้นใหม่หลายตัว เปิดเทรดวันแรกราคาต่ำจอง เขย่าความมั่นใจการลงทุน 

อย่างไรก็ตาม พบช่วงปี 2567 มีหุ้นน้องใหม่อีกหลายตัว ที่เตรียมเปิดขาย IPO และชวนให้จับตามอง โดยเฉพาะ ‘เจ้าสัว ฟู้ดส์ อินดัสทรี’ หรือ CHAO เจ้าของแบรนด์ของฝากชื่อดัง ‘เจ้าสัว’ ซึ่งเตรียมเปิดให้คนทั่วไป ถือหุ้นร่วมลงทุนได้ 

สำหรับ แบรนด์เจ้าสัว เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับคนไทย ในฐานะ ร้านขายของฝากชื่อดังในปั๊มน้ำมัน เป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายขนมขบเคี้ยวและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ 

ที่ไม่ได้มีแค่แบรนด์เจ้าสัว แต่ยังเป็นผู้ครอบครอง แบรนด์ “โฮลซัม” ด้วย โดยล่าสุด ยังคว้าตัว นักแสดงหนุ่ม “เจมส์ จิรายุ” มาเป็นพรีเซนเตอร์คนใหม่ให้กับสินค้า กระชากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย มาใกล้คนรุ่นใหม่มากขึ้น อีกด้วย 

โอกาสนี้ #ThairathMoney ชวนเจาะประวัติความเป็นมา ของแบรนด์ “เจ้าสัว” ที่เรียกได้ว่ามีประวัติไม่ธรรมดา และ อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนานกว่า 65 ปีแล้ว ด้วยจุดเริ่มต้น เพียงแค่ต้องการ แปรรูปเนื้อหมูที่มีจำนวนมากในจังหวัดนครราชสีมา สู่ อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ รายได้หลัก พันล้าน 

ตำนาน 65 ปี แบรนด์เจ้าสัว 

บริษัท เจ้าสัว ฟู้ดส์ อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) แรกเริ่มเดิมที ชื่อ บริษัท เตีย หงี่ เฮียง (เจ้าสัว) จำกัด ก่อตั้ง โดยนายเพิ่ม โมรินทร์ (แซ่เตีย) ที่ได้ย้ายครอบครัวจากย่านคลองเตย กทม. มาที่โคราช (นครราชสีมา) ประตูสู่ภาคอีสาน ที่ชาวบ้านนิยมเลี้ยงหมูเป็นจำนวนมาก โดยมีความคิด อยากแปรรูปเนื้อหมูมาเป็นหมูหยอง หมูแผ่น และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพราะมองเป็นโอกาส “ค้าขาย”

  • ปี 2051 : เริ่มผลิตกุนเชียง หมูหยอง หมูแผ่น ส่งขายไปยังตลาดกรุงเทพฯ ซึ่งต่อมาได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ มาจำหน่ายในจังหวัดนครราชสีมาแทน ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี
  • ปี 2516 ขยายกิจการ โดยสร้างอาคารพาณิชย์เพื่อเป็นร้านจำหน่ายของฝาก พร้อมทั้งสร้างโรงงาน เพื่อรองรับการผลิต และได้จดทะเบียนการค้าเป็น "ห้างหุ้นส่วนจำกัด เตีย หงี่ เฮียง" ด้วยทุนจดทะเบียนกว่า 1,000,000 บาท โดยเริ่มกระจายสินค้าออกสู่ร้านค้าตามแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัด นครราชสีมา อาทิ อนุสาวรีย์ท่านท้าวสุรนารี (ย่าโม) เป็นต้น
  • ปี 2520 หลังจากสร้างร้านจำหน่ายของฝากมาระยะหนึ่ง ก็มีการได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรา "สามดาว ขวานคู่" ภายใต้สโลแกน   "เตียหงี่เฮียง สุดยอดของฝากจากโคราช รับประทานเองก็ถูกปาก เป็นของฝากก็ถูกใจ" 
  • ปี 2526 เตียหงี่เฮียง ได้รับตรารับรองความอร่อย "เชลล์ชวนชิม" โดย ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ โดยนับเป็นเจ้าแรกใน จ.นครราชสีมา
  •  ปี 2539 หจก.เตียหงี่เฮียง ได้จดทะเบียนเป็น บริษัท เตีย หงี่ เฮียง (เจ้าสัว) จำกัด ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 35,000,000 บาท 

“ข้าวตังเจ้าสัว” จุดกำเนิด ของฝากชื่อดัง ปูทางสู่ตลาดหุ้น

‘นำสูตรลับความอร่อยตำรับเจ้าสัวสู่คุณ’ คือ คำนิยาม ที่เจ้าสัวใช้การทำการตลาด ซึ่งภายหลังที่มีการ เพิ่มชื่อห้อยท้าย คำว่า “เจ้าสัว” แล้วนั้น ก็เริ่มผลิตสินค้าตัวใหม่ 

โดยรู้จักกันทั่วไป กันในนาม "ข้าวตังเจ้าสัว" พร้อม เปลี่ยนเครื่องหมายการค้าเป็น "เจ้าสัว" และส่งออกข้าวตังหมูหยองไปจำหน่าย ณ ประเทศฮ่องกง รวมไปถึง หมูหยองและหมูแผ่นด้วย 

รู้หรือไม่? เจ้าสัวมีแฟรนไชส์ และร้านจัดจำหน่ายภายในปั๊ม ปตท. ปัจจุบัน นับ 100 สาขา หลังจากย้อนไป 10 ปีก่อน ยังมีเพียงศูนย์จำหน่ายสินค้าของฝากบนเนื้อที่ กว่า 25 ไร่ ในชื่อ "ศูนย์เจ้าสัว" บริเวณริมถนนมิตรภาพ ก่อนเพิ่มสาขานับหลายสิบแห่ง 

แต่จุดที่กลายเป็นตัวเร่งสำคัญของธุรกิจ คือ การร่วมจับมือเป็นพาร์ตเนอร์ กับ ปตท. เมื่อปี 2551 โดยมีทั้งการขยายสาขาเอง และ ส่วนที่เป็นแฟรนไชส์ ตามปั๊มปตท. ต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมกับมีการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ ทั้งแบบซอง และ แบบกล่อง ให้ดูทันสมัย และ มีราคา น่าซื้อเป็นของฝากระดับบนมากขึ้น 

ไลน์สินค้า และ พอร์ตธุรกิจของเจ้าสัว 

สำหรับสินค้าในกลุ่ม “เจ้าสัว” นั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 

ขนมขบเคี้ยว (Snack) 

  • ข้าวตัง 
  • ขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมู 
  • แครกเกอร์ธัญพืช 
  • หนังปลา 
  • ขนมขบเคี้ยวอื่นๆ

ผลิตภัณฑ์อาหาร (Meal)  

  • อาหารพร้อมปรุง (Ready to Cook) เช่น กุนเชียง หมูยอ ไส้กรอกอีสาน และแหนม 
  • อาหารพร้อมทาน (Ready to Eat) เช่น หมูหยอง หมูสวรรค์ หมูนุ่มเส้น หมูเส้นฝอย และหมูทุบ 

5 ช่องทางการจัดจำหน่าย 

  • ร้านค้าปลีก
  • ค้าส่งสมัยใหม่ 
  • ร้านค้าปลีกดั้งเดิม 
  • การส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ
  • ช่องทางออนไลน์ 

รายได้ เจ้าสัว ฟู้ดส์ อินดัสทรี หรือ หุ้น CHAO ย้อนหลัง

เจาะข้อมูลรายงานผลประกอบการย้อนหลังของหุ้นเจ้าสัว จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบทั้งรายได้ และ กำไรย้อนหลัง ดังต่อไปนี้ 

  • ปี 2563 : มีรายได้ 934 ล้านบาท / กำไร 43 ล้านบาท
  • ปี 2564 : มีรายได้ 1,095 ล้านบาท / กำไร 92 ล้านบาท
  • ปี 2565 : มีรายได้ 1,202 ล้านบาท / กำไร 18 ล้านบาท

เรียกได้ว่า ข้อมูลพื้นฐานของเจ้าสัว เห็นการเติบโตทางรายได้ต่อเนื่อง ขณะ กำไร มีตัวเลข ขึ้น-ลง 

“ณภัทร โมรินทร์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CHAO เผยว่า จุดประสงค์ของการ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้น เพื่อหวังระดมทุนใช้ในการขยายกำลังการผลิต ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงการขยายธุรกิจของกลุ่มบริษัท และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและการดำเนินการต่างๆ ของกิจการ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ