รอบรั้วการตลาด : สถาปนิกสยามฯ จับมือ TTF เตรียมจัดงานสถาปนิก’67

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

รอบรั้วการตลาด : สถาปนิกสยามฯ จับมือ TTF เตรียมจัดงานสถาปนิก’67

Date Time: 22 พ.ย. 2566 17:45 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • รอบรั้วการตลาดเก็บตกข่าวจากแวดวงธุรกิจ การตลาด การเงิน ธนาคาร ประกัน และอสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจ ที่ผู้อ่านไม่ควรพลาด

Latest


นายชนะ สัมพลัง นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงการจัดงานสถาปนิกว่า ปัจจุบันถือเป็นงานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน ซึ่งจัดมาอย่างต่อเนื่อง โดยงานสถาปนิก’67 นับเป็นครั้งที่ 36 มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงศักยภาพและนำเสนอผลงานความก้าวหน้าทางด้านสถาปัตยกรรมในทุกสาขาวิชาชีพ

รวมถึงการจัดแสดงนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่เกี่ยวเนื่องกับงานสถาปัตยกรรม การออกแบบตกแต่งภายใน ภูมิสถาปัตยกรรม อีกทั้งนิทรรศการและกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การอบรมสัมมนาระดับนานาชาติ ตลอดจนบริการต่างๆ ที่เตรียมไว้ให้กับสมาชิกและประชาชนที่สนใจได้เข้าร่วมชมงานระหว่างวันที่ 30 เม.ย.–5 พ.ค. 2567 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ทั้งนี้ ในปี 2567 สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะครบรอบ 90 ปี การจัดงานสถาปนิก’67 จึงจะเป็นโอกาสอันดี นอกจากวัตถุประสงค์ของการเป็นพื้นที่ที่เชื่อมโยงผู้คนทั่วโลกในแวดวงสถาปัตยกรรม และเป็นสื่อกลางในการจัดแสดงนิทรรศการวัสดุก่อสร้างและให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เทคโนโลยี นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับวงการสถาปัตยกรรมบนพื้นที่เดียวกันที่ใหญ่มากถึง 75,000 ตร.ม. แล้ว

โดยงานนี้ยังเป็นพื้นที่รวบรวมเรื่องราวการสื่อสารทางสถาปัตยกรรมตลอดระยะเวลา 90 ปี นับแต่ก่อตั้งสมาคมฯ ให้ผู้คนได้ร่วมเฉลิมฉลองและตระหนักถึงบทบาทการส่งเสริมวิชาชีพสถาปัตยกรรม การพัฒนาองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรม มีส่วนสำคัญต่อคุณภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคม รวมถึงยังสามารถสะท้อนศิลปวัฒนธรรม และมีส่วนผลักดันด้านเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วย

นางสาวกุลธิดา ทรงกิตติภักดี ประธานจัดงานสถาปนิก’67 กล่าวถึงที่มาของ Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์ แนวคิดหลักในการจัดงานว่า มนุษย์ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพื่อติดต่อกัน โดยปัจจุบันพบว่ามีภาษามากกว่า 7,000 ภาษาทั่วโลกที่ถูกใช้ในการสื่อสาร

ขณะที่ศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชาตินั้นถือเป็นเครื่องมือสื่อสารทรงพลังอีกเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความเข้าใจเรื่องราวระหว่างผู้คนต่างชาติต่างภาษา งานสถาปนิก’67 ในปีนี้ เป็นการนำเสนอถึงอัตลักษณ์ของการสื่อสารด้วยภาษาที่ไร้ขอบเขตของสถาปนิกและนักออกแบบ

เน้นย้ำถึงความสำคัญของงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบที่สัมผัสได้โดยผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก โดยสถาปนิกสามารถสร้างความรู้สึกทางรูปธรรมอันหลากหลายผ่านการใช้วัสดุและกระตุ้นความรู้สึกของผู้คนผ่านองค์ประกอบต่างๆ แบบนามธรรมในการรับรู้ถึงสถาปัตยกรรม ซึ่งการรับรู้ด้วยภาษาทางการออกแบบที่มีอยู่ร่วมกัน ก็เพื่อให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสและเข้าถึงผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่นจากทั่วโลกที่เชื่อมโยงถึงกันด้วยภาษาสถาปัตยกรรมนั่นเอง

นายชุตยาเวศ สินธุพันธุ์ ประธานจัดงานสถาปนิก’67 กล่าวถึงความพิเศษของงานในปีนี้ ต่อยอดจากความร่วมมือระหว่าง 5 องค์กรวิชาชีพสถาปนิก ได้แก่ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมมัณฑนากร แห่งประเทศไทย, สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย, สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย และสภาสถาปนิก

อีกทั้งยังมีการร่วมมือในระดับนานาชาติผ่านองค์กรวิชาชีพระหว่างประเทศ The Architects Regional Council Asia (ARCASIA) ที่มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศทั่วเอเชียอีกด้วย นับเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญในการร่วมจัดแสดงผลงานทางวิชาชีพสถาปัตยกรรม รวมถึงกิจกรรมสำคัญซึ่งจะเกิดขึ้นในงานครั้งนี้



ดร.พร้อม อุดมเดช ประธานจัดงานสถาปนิก’67 กล่าวในส่วนของนิทรรศการและกิจกรรมสำคัญ ประกอบด้วย 1. นิทรรศการหลัก 2. นิทรรศการวิชาการ 3. นิทรรศการ สมาคม วิชาชีพ วิชาการ 4. ส่วนพื้นที่กิจกรรมและบริการ 5. งานสัมมนาวิชาการ โดยในส่วนของนิทรรศการหลัก ประกอบด้วย นิทรรศการธีมงาน Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์ ที่จัดแสดงผลงานสถาปัตยกรรมจาก 12 สถาปนิกในเอเชีย ร่วมกับการจัดแสดงผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมพันธมิตรใน ARCASIA

ส่วนนิทรรศการ All Member จัดแสดงผลงานของสมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ, สมาคมมัณฑนากรฯ, สมาคมภูมิสถาปนิกฯ และ สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย ภายใต้ธีม All Member : The Collective Practices, กิจกรรม Collective Experience, นิทรรศการ สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย : TIDA, นิทรรศการ สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย : TALA และนิทรรศการ สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย : TUDA

ผศ.ดร.รัฐพงษ์ อังกสิทธิ์ ประธานจัดงานสถาปนิก’67 กล่าวเสริมถึงนิทรรศการอื่นๆ ในงาน ทั้งนิทรรศการประกวดแบบเชิงแนวความคิด (ASA Experimental Design Competition), นิทรรศการสมาคมวิชาชีพ วิชาการ อาทิ นิทรรศการสถาปัตยกรรมดีเด่น, นิทรรศการรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรม ประจำปี 2567, นิทรรศการ VERNADOC, นิทรรศการผลงานนักศึกษา / สถาบันการศึกษา

ส่วนงานพื้นที่กิจกรรมและบริการในงานที่ประกอบด้วย ASA Club พื้นที่พบปะ จุดพักผ่อนประจำของชาวอาษา, ASA Night 2024 กิจกรรมสังสรรค์พบปะตามประเพณีของเหล่าสมาชิกอาษา และมีส่วนบริการที่ร่วมมือกับสภาสถาปนิก (ACT) จัดพื้นที่สถาปนิกอาสา บริการให้คำปรึกษาเรื่องต่างๆ ในงานสถาปัตยกรรม และ ACT Shop พื้นที่จำหน่ายหนังสือและของที่ระลึก และส่วนงานสัมมนาวิชาการ ASA Forum 2024 และ ASA Seminar 2024 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในงานออกแบบและข้อมูลทางเทคนิคในการประกอบวิชาชีพโดยนักออกแบบและผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมจากต่างประเทศ

โดยมีประเด็นหัวข้อในการเสวนาที่น่าสนใจ ภายใต้ธีมงาน Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์ ซึ่งจะจัดในรูปแบบ Hybrid Forum ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการสัมมนา แบบ on site และแบบ online ได้ในทุกพื้นที่ของประเทศ

นายศุภแมน มรรคา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีทีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า ในฐานะออร์แกไนเซอร์จัดงานสถาปนิก'67 เราตั้งเป้าจะขยายการจัดงานให้ยิ่งใหญ่กว่างานที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะมีจำนวนผู้แสดงสินค้ากว่า 1,000 ราย เพิ่มขึ้น 9.4%

โดยคาดว่าจะเป็นผู้แสดงสินค้าจากต่างประเทศ ประมาณ 30% ในด้านผู้เข้าชมงานคาดว่าจะมีจำนวนกว่า 325,000 คน เพิ่มขึ้น 6.25% โดยในขณะนี้มียอดจองพื้นที่ขายไปแล้วกว่า 15,838 ตารางเมตร คิดเป็น 52.79% จากพื้นที่ขายทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกัน 33.8 %

สำหรับผู้แสดงสินค้าชั้นนำที่ยืนยันเข้าร่วมงานแล้ว อาทิ SCG, MAKITA, JORAKAY, TOSTEM, VG, TOA, PANTAMITR, CONNEXT, DOS, CRISTINA, TAK นอกจากนี้ยังมีผู้แสดงสินค้าที่มีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นจากงานที่ผ่านมา อาทิ BLACK+DECKER, WILSONART, Q LIGHTING, ARITCO, LAMPTITUDE, PANEL PLUS, GLASTEN, FORMICA 

รวมถึงมีผู้แสดงสินค้ารายใหม่ที่เข้าร่วมงานเพิ่มขึ้นหลายราย อาทิ BOONTHAVORN, ROCOCO, NOVATI & CO, ROBERT BOSCH, BATHIC, DELTA, BLUE INTERNATIONAL, YUASA TRADING, LIGMAN, TRUE CONNECTION 

สถาบันเกอเธ่ ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และโรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) ประกาศต้อนรับการกลับมาของเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 19 ในประเทศไทยที่หลายคนรอคอย โดยสามารถร่วมชมภาพยนตร์ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 20 ธันวาคม ที่จะจัดฉาย ณ สถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จะคัดภาพยนตร์ทั้งหมด 34 เรื่อง จาก 19 ประเทศมาฉาย ภาพยนตร์ทุกเรื่องจะมีเสียงพากย์ภาษาไทยเพื่ออรรถรสในการรับชมอีกด้วย

นายชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส กลุ่มงานบริหารการเงิน และนางรจนา อุษยาพร ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายบัญชีการเงิน และรักษาการผู้บริหารสูงสุดสายงานการเงิน เคทีซี หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) รับมอบรางวัลบริษัทจดทะเบียนที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น (Outstanding Company Performance Awards) ในกลุ่มรางวัลธุรกิจยอดเยี่ยม (Business Excellence) ที่มีมูลค่าทางการตลาด (Market Capitalization) มากกว่า 1 แสนล้านบาทขึ้นไป

พิซซ่า ฮัท 1150 แบรนด์พิซซ่าระดับโลกภายใต้การบริหารงานของบริษัท พีเอช แคปปิตอล จำกัด เปิดตัวร้านคอนเซปต์ใหม่ ‘พิซซ่า แอนด์ บาร์’ แห่งแรกของประเทศไทย และนับเป็นแห่งแรกของเอเชียและแห่งที่ 2 ของโลก ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง พิซซ่า ฮัท ประเทศไทย และ เครซ คาฟ่ (Craze Café) เพื่อดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

ทั้งนี้ ร้านพิซซ่า แอนด์ บาร์ แห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าจังซีลอน ภูเก็ต ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 โซนเดอะการ์เด้น ศูนย์การค้าจังซีลอน ป่าตอง จ.ภูเก็ต พร้อมเปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 11.00–22.00 น.

ด้วยความพิเศษของร้านพิซซ่า แอนด์ บาร์ สาขานี้ ได้แก่ เมนูพิซซ่าซิกเนเจอร์หลายเมนูที่รังสรรค์โดย เชฟออฟ ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ ซึ่งเป็นเชฟกระทะเหล็กประเทศไทย ซึ่งเพิ่มรสชาติความอร่อยเมื่อทานพิซซ่า ร่วมกับเครื่องดื่มสูตรพิเศษของ เครซ คาเฟ่ มีทั้ง สมูทตี้ผลไม้ ค็อกเทล และกาแฟที่มีเมล็ดพันธุ์ให้เลือกหลากหลาย ทั้งเคนย่า เอเอ ท็อป ปิก้า, บราซิล บาเอีย, บาร์เรล เอจ รวมถึงเมนู Longa เช่น Ice Longano ฯลฯ ที่มีให้บริการเฉพาะสาขานี้เท่านั้น


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ