เครือคาราบาว เลื่อนแผน ซีเจ มอร์ เข้าไอพีโอเหตุสภาพตลาดหุ้นแย่ เตรียมขายเบียร์สิ้นปีนี้

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เครือคาราบาว เลื่อนแผน ซีเจ มอร์ เข้าไอพีโอเหตุสภาพตลาดหุ้นแย่ เตรียมขายเบียร์สิ้นปีนี้

Date Time: 20 ก.ค. 2566 19:21 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

Summary

  • ซีเจ มอร์ (CJ MORE) จากค้าปลีกภูธร เร่งเครื่องโหมโรงกิจกรรมทางการตลาดในครึ่งปีหลัง เขย่าวงการค้าปลีกไทย ตั้งเป้าเพิ่มสาขา 250 สาขา หนุนปั้นรายได้ 0,000 ล้านบาทภายในปี 2566 พร้อมเตรียมลอนซ์เบียร์ 2-3 รสชาติใน Q4/66 ชะลอแผนเข้าตลาดหลังกำลังซื้อหด-เศรษฐกิจซบ

Latest


นายวีรธรรม เสถียรธรรมะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเจ มอร์ จำกัด กล่าวว่า  ตลอดเวลา 18 ปี ที่ซีเจฯ ได้เป็นที่รู้จักในฐานะร้านค้าปลีกของคนในชุมชน ซึ่งสิ่งสำคัญที่ซีเจให้ความสำคัญคือ Core business model โดย CJ เป็นธุรกิจที่เน้นการพัฒนาบิซิเนสโมเดล ตั้งแต่ที่ได้มีการทำ Express, นายน์บิวตี้ และบาวคาเฟ่ เข้าไป ถัดจากนั้นก็จะมีอูโนะ, A-Home, Pet hub และ Kids Club และอีกหลายๆอย่างที่เพิ่มเข้ามา

“จาก 2 ปีที่ผ่านมาโมเดลใหญ่ที่ทดลองคือ CJ MORE ซึ่งนับว่าสองปีที่ผ่านมาค่อนข้างมั่นใจกับโมเดลนี้ และคงจะเป็นโมเดลนี้ที่เราจะเปิดค่อนข้างมาก และจะเห็นในปีที่ 19 และในปีต่อๆไป” 

เล็งเพิ่มอีก 250 สาขาในปี 66

เบื้องต้น บริษัทฯ วางงบประมาณของปี 2566 ไว้ที่ราว 3,000 ล้านบาท สำหรับรีโนเวตสาขาเก่า ปรับปรุงศูนย์กระจายสินค้า และขยายสาขาเพิ่ม 250 สาขา แบ่งเป็น ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต 150 สาขา ซีเจ มอร์ 100 สาขา ขณะที่ปีที่ผ่านมาลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งในครึ่งปีได้เปิดไปประมาณ 100 สาขาแล้ว และตั้งเป้าที่จะเปิดให้ได้ 250 สาขาติดกันประมาณ 3-4 ปี

โดยจะเน้นทำเลกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทำให้สิ้นปี 2566 ซีเจจะมีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศรวม 1,100 สาขา จากเมื่อปี 2565 ขยายเพิ่ม 240 สาขาในทำเลภาคอีสานเป็นหลัก และในปีนี้ได้มีการหยุดขยายตัวในภาคอีสาน ด้วยสองเหตุผลคือ มองเรื่องของการต้องเรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมทั้งโฟกัสในส่วนของพื้นที่กรุงเทพฯ ภาคกลางเป็นหลัก

ตั้งเป้ารายได้แตะ 40,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกันบริษัทฯ ตั้งเป้าว่าในปี 2570 จะขยายสาขาซีเจให้ครบ 2,000 สาขา ทั้งนี้ยังประเมินว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้บริษัทแตะ 40,000 ล้านบาท กำไรมากกว่า 2,500 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันทำได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเป้า ขณะที่ปี 65 รายได้รวม 35,000 ล้านบาท กำไรอยู่ที่ 1,770 ล้านบาท ขณะเดียวกันภายในปี 2573 ซีเจ จะขยายครบ 3,000 สาขา พร้อมกับดันรายได้บริษัทฯทะลุ 100,000 ล้านบาท 

ทั้งนี้พื้นที่ของซุปเปอร์จะอยู่ที่ 300 ตารางเมตร แต่หากรวมพื้นที่จอดรถจะอยู่ที่ 600-700 ตารางเมตร ส่วน CJ MORE ปักหมุดประมาณ 2-3 ไร่ ขณะเดียวกันในต้นปี 67 จะมีการปักหมุดคลังสินค้าที่ขอนแก่นเพิ่มคือทางไปเขาสวนกวาง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 66 

และหากดูจำนวนคนที่ใช้บริการต่อวันของซุปเปอร์จะอยู่ที่ 500-600 คน ส่วน MORE 800-1,000 คน ปัจจุบันบริษัทเปิดให้บริการซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ตและซีเจ มอร์แล้วกว่า 1,100 สาขา ครอบคลุมใน 42 จังหวัด 5 ภูมิภาคทั่วประเทศไทย โดยในปีนี้ยังเดินหน้าลงทุนต่อเนื่องด้วยงบลงทุนกว่า 4,000 ล้านบาท 

เล็งเพิ่มสินค้าเป็น 15,000-16,000 SKUs 

ด้วยความที่บริบทความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป E-commerce ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้ CJ ตัดสินใจไม่หยุดอยู่แค่ออฟไลน์ และจะ disruption ตลาดที่มีคนเล่นอยู่แล้วอย่างไร จึงได้มีการศึกษากรณีตัวอย่างจากต่างประเทศอย่างเช่น จีน อินโดนีเซีย ยุโรป อเมริกา และนำมาประยุกต์ใช้ ดังนั้นต่อไปจะเห็น CJ MORE ที่มีพื้นที่ขายที่ไซต์ใหญ่ขึ้น หลักๆก็จะมีการเพิ่ม SKUs เข้าไป ซึ่งปัจจุบันมี 10,000-12,000 SKUs แต่สาขาใหม่จะเพิ่มเป็น 15,000-16,000 SKUs 

นายวีรธรรม กล่าวต่อไปว่า ด้วย BU ต่างๆของบริษัทที่ทำแล้วเติบโต อย่างหมวดสินค้าสัตว์เลี้ยงที่เติบโตเป็นหลัก 1,000% ในช่วงสองปีที่ผ่านมา จึงมองว่ามีโอกาสที่จะไปต่อได้ ดังนั้นจึงต้องการที่จะทำร้านในขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพื่อให้สินค้ามีพื้นที่มากขึ้น ทั้งนี้ได้มีการมองทำเลไว้แล้วซึ่งจะอยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑลเป็นหลัก

“ด้วยหลักคิดเราตั้งใจจะให้เป็นร้านประจำอำเภอ ในช่วงแรกอยากได้อำเภอละ 1 ร้าน แต่ด้วยความที่พื้นที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้หากเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตจะต้องไปเปิดอิงกับชุมชนที่มีอยู่แล้ว อย่างการเปิดข้างตลาดที่มี Traffic เพื่อดึงดูดลูกค้า แต่ในแนวความคิดของ MORE จะไม่ได้อาศัย Traffic แต่จะเป็นการสร้าง Traffic ด้วยตัวเองอย่างแนวคิดที่ว่า หากอยากได้ Traffic เยอะต้องไปอยู่ที่ใจกลางตัวอำเภอให้ได้

ทั้งนี้หากดูทางฝั่งของเมมเบอร์ CJ ใน LINE OA มีประมาณ 1 ล้านคน ส่วน Over all ประมาณ 5.2 ล้านคน และแคมเปญคู่จิ้นในปีนี้คาดว่าจะมีฐานแฟนคลับเข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากดูจะพบว่าเมมเบอร์จับจ่ายใช้สอยมากกว่าลูกค้าทั่วไปที่ 100% 

ทั้งนี้ภาพรวมของบริษัทที่ดูเหมือนกับว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่สะท้อนความเป็น CJ MORE คือ “ไม่จำกัดตัวเองเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ต” เพราะอะไรที่มองว่าเป็นความต้องการของลูกค้า ก็พร้อมที่จะนำเข้ามาตอบสนอง จึงทำให้ CJ MORE แตกต่างนั่นเอง และที่สำคัญคือ CJ ไม่ได้เน้นเรื่องการขายสินค้า ซึ่งการที่ปักหลักในชุมชนเนื่องจาก “มีความต้องการ” จึงมองว่ามีโอกาส เหมือนกับการพูดถึง New Business ที่มีการพัฒนามากว่า 100 โปรเจ็กต์นั้นล้มเหลว แต่มีเพียง 10 โปรเจกต์ที่สำเร็จ ดังเช่น "บาวคาเฟ่" ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่ปรับปรุงมาจนลงตัว 

ชะลอแผนเข้าตลาดหุ้น

เดิมที CJ มีแผนยื่นไฟลิ่งช่วงครึ่งแรกของปี 2566 และ IPO ช่วงครึ่งหลังปี 2566 แต่ขณะนี้ได้ชะลอไปก่อน เนื่องจากมองว่าปีนี้ไม่ใช่ปีที่ดีของการเข้าตลาด แต่หากถามว่าจะเห็นทิศทางเมื่อไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับตลาดที่จะฟื้นตัว ส่วนเรื่องการเมืองมองว่าแยกกันไม่ออกกับสภาวะเศรษฐกิจ และตลาด ซึ่งตั้งแต่ต้นปีพบว่า ธุรกิจมีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนโควิด และการที่นักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้มากขึ้น

ขณะเดียวกันในแง่ของ CJ MORE จากปัจจัยเปราะบางได้มีการพิจารณาในแง่ที่ว่าลูกค้ายังต้องกินต้องใช้ จะทำยังไงที่จะลดภาระ ทำยังไงให้สามารถลดภาระในการดำเนินชีวิตของลูกค้าได้ จึงต้องคงคอนเซปต์ ถูก ครบ และสะดวก โดยได้มีการนำความเปราะบางมาเป็นกลยุทธ์ให้กับลูกค้า ยิ่งในช่วงไทม์มิ่งที่เศรษฐกิจคว่ำหน้าลง 

และหากถามถึงการเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง เขามองว่า CJ ไม่มีแนวโน้มจะเปิด แต่จะมีบางสาขาที่อิงกับช่วงเวลาของชุมชน อาทิ เปิดตั้งแต่ 03.00 น. ในโลเคชั่นที่เป็นย่านโรงงาน

ส่วนเรื่องของเบียร์บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มองว่าไทม์ไลน์ที่คาดว่าจะลอนซ์คือตุลาคม 2566 โดยจะเป็น 2-3 รสชาติ อย่าง Lager รสชาติมาตรฐาน ส่วนรสชาติอื่นก็จะมีพัฒนาเช่นกัน

โลเคชั่นทำเลทอง ไม่ใช่การแย่งส่วนแบ่งเค้ก แต่เป็นการดึงดูดลูกค้า 


ทั้งนี้ในปัจจุบันจำนวนสาขาของ CJ Supermarket และ CJ MORE อยู่ที่ 1,086 สาขา ส่วนมุมมองของเรื่องโลเคชั่นที่เปิดใกล้เคียงกับแบรนด์อื่น มองว่าเป็นเรื่องของการแข่งขันที่คงหนีไม่พ้น ฉะนั้นจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแข่งขัน โดยในทำเลที่มีคู่แข่งหลายรายไม่ได้มองว่าเป็นการแย่งสัดส่วนลูกค้าแต่อย่างใด แต่กลับมองว่าเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากเป็นการดึงดูดจำนวนผู้บริโภคให้เยอะขึ้น ด้วยความที่มีตัวเลือกที่หลากหลายมากขึ้น จึงไม่ได้โฟกัสที่การปรับลดราคา แต่จะเป็นเพียงอีกหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะดึงดูด โดยส่วนใหญ่ CJ จะตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน หรือมีตลาดตั้งอยู่เพื่อตอบโจทย์การจับจ่ายใช้สอยที่ครอบคลุม  

ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าที่จะส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคหรือไม่นั้น เขามองว่า จะต้องติดตามว่าจะกระทบกำลังซื้อมากน้อยแค่ไหน ซึ่งมองว่าแต่ละพรรคก็จะมีแนวคิดทางด้านเศรษฐกิจที่แตกต่าง ดังนั้นหากเป็นพรรคที่มาจากการเลือกตั้ง เป้าหมายของการเข้ามาก็เพื่อพัฒนาประเทศให้ดีขึ้น จึงต้องมีการติดตามสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด 

รักษาความสมดุลด้าน 'ราคา-ความคุ้มค่า' ให้กับผู้บริโภค

สุดท้ายนี้ในช่วงครึ่งปีหลังนับเป็นช่วงเวลาที่ "ค้าปลีก" เข้าสู่โลว์ซีซั่น ซึ่งกำลังซื้อหดลงโดยอัตโนมัติ หากดูจะพบว่าผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยลดลงถึง 10% ดังนั้นการรับมือในช่วงหน้าฝนจะต้องอ่านพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นหลัก อย่างเช่นการไม่ต้องการอยากออกจากบ้าน เราจะทำยังไงให้ลูกค้าซื้อเยอะขึ้นเพื่อไปแทนสัดส่วนที่ลดลง

ขณะที่สงครามค้าปลีกมองว่าการแข่งขันยังคงดุเดือด ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่อยากได้ความคุ้มค่าเป็นหลัก ดังนั้นเรื่องราคาจึงไม่ใช่เรื่องหลัก แต่จะต้องบาลานซ์เรื่องของราคากับความคุ้มค่าให้กับผู้บริโภค รวมทั้งโมเดลที่จะเติมเข้าไปคือเรื่องของ “บริการทางการเงิน” หรือแม้กระทั่งเรื่องของสินค้าที่จะต้องตอบโจทย์คนแต่ละพื้นที่ ซึ่งทีมต้องถอดเกมให้ได้ว่าเรามีอะไร และลูกค้าต้องการอะไรเพื่อให้ได้ใจลูกค้านั่นเอง...


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ