เคทีซี จับมือ แอนท์ กรุ๊ป เปิดตัว ‘อาลีเพย์พลัส’ นวัตกรรมดิจิทัล ช่วยค้าปลีกไทยรับชำระเงินข้ามชาติ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เคทีซี จับมือ แอนท์ กรุ๊ป เปิดตัว ‘อาลีเพย์พลัส’ นวัตกรรมดิจิทัล ช่วยค้าปลีกไทยรับชำระเงินข้ามชาติ

Date Time: 27 มิ.ย. 2566 15:31 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

Summary

  • ‘อาลีเพย์พลัส’ (Alipay+) นวัตกรรมการชำระเงินดิจิทัลระหว่างประเทศบนระบบรับชำระเงิน ภายใต้การจับมือของเคทีซีและกับแอนท์ กรุ๊ป เพื่อต่อยอดธุรกิจร้านค้าในไทย รองรับการใช้จ่ายจากนักท่องเที่ยวเอเชียที่เดินทางมาเยือนไทย ตั้งเป้ามียอดใช้จ่ายผ่านอาลีเพย์พลัสในสิ้นปี 66 อยู่ที่ 100 ล้านบาท พร้อมขยายฐานร้านค้า-การชำระเงินให้มากยิ่งขึ้น

Latest


นางสาวเนาวรัตน์ กีรติเกษมสุข ผู้บริหารสูงสุด สายงานบริหารร้านค้าสมาชิก “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เคทีซี ได้พัฒนาความร่วมมือกับแอนท์ กรุ๊ป เจ้าของและผู้ให้บริการ อาลีเพย์ (Alipay) และหนึ่งในผู้นำแพลตฟอร์มชำระเงินดิจิทัลระดับโลก “อาลีเพย์พลัส (Alipay+)” ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการร้านค้าในไทยสามารถรับชำระเงินผ่านโมบายล์วอลเล็ตได้หลากหลาย 

โดยผู้ประกอบการร้านค้าเคทีซีมีสามารถเชื่อมต่อระบบเพียงครั้งเดียวก็สามารถเข้าถึงผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียได้มากถึง 1 พันล้านคน อีกทั้งยังสะดวก รวดเร็วกว่าการเชื่อมต่อกับโมบายล์วอลเล็ตของแต่ละประเทศแบบหนึ่งต่อหนึ่ง หากลูกค้ามีโมบายล์วอลเล็ตในระบบนิเวศน์ของอาลีเพย์พลัส จะสามารถใช้โมบายล์วอลเล็ตของประเทศตัวเองชำระเงินกับร้านค้าเคทีซีในไทยได้ทันที

ปัจจุบันร้านค้าสมาชิกเคทีซี สามารถรับชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยคิวอาร์โค้ดของโมบายล์วอลเล็ตที่อยู่ในระบบนิเวศน์ของอาลีเพย์พลัส อาทิ  Alipay (สำหรับชาวจีน) ที่เปิดตัวในไทยตั้งแต่ปี 2558 และล่าสุดกับโมบายล์วอลเล็ตใหม่อีก 3 ราย ได้แก่ AlipayHK (เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน) / KakaoPay (เกาหลีใต้) และ Touch ‘n Go eWallet (มาเลเซีย) โดยทั้ง 4 โมบายล์วอลเล็ต ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวต่างชาติที่นิยมเดินทางมาประเทศไทยมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ นักท่องเที่ยวมาเลเซีย จีน เกาหลีใต้ และฮ่องกง รวม 2.9 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศไทยทั้งหมด 8.6 ล้านคน ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-เมษายน 2566 ข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)

ตั้งเป้าธุรกิจร้านค้ารับชำระของเคทีซีรวมทั้งหมดในปีนี้โต 20%

ทั้งนี้ตลอดช่วง 5 เดือนแรกของปี 66 (มกราคม-พฤษภาคม) ธุรกิจร้านค้ารับชำระด้วยบัตรเครดิตและวอลเล็ตอาลีเพย์ของเคทีซีมีปริมาณรับชำระเพิ่มขึ้น 27% คิดเป็นมูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้คาดว่าภายในสิ้นปี 2566 ปริมาณยอดการชำระด้วยบัตรเครดิต วอลเล็ตอาลีเพย์ และตั้งเป้าธุรกิจร้านค้ารับชำระของเคทีซีรวมทั้งหมดในปีนี้โต 20% คิดเป็น 1 แสนล้านบาท 

ขณะเดียวกันได้มีการวางแผนดำเนินการที่จะขยายฐานร้านค้าและการชำระเงินให้มากยิ่งขึ้นให้ครอบคลุมทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และพื้นที่เป้าหมายของนักท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่ พัทยา ชลบุรี ภูเก็ต และหาดใหญ่ เป็นต้น

ปัจจุบันเคทีซีมีจำนวนร้านค้าที่รับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยคิวอาร์โค้ดของโมบายวอลเล็ตประมาณ 5 หมื่นร้านค้า ซึ่งมีร้านที่รับอาลีเพย์พลัสประมาณ 1 หมื่นร้านค้า โดยภายใน 3 ปีตั้งเป้ามีร้านค้าประมาณ 1 แสนร้านค้า โดยที่ร้านค้าจะมีค่าธรรมเนียมตามปกติ

“เคทีซีและแอนท์ กรุ๊ป ทำงานร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2558 เริ่มต้นด้วยบริการรับชำระเงินด้วย Alipay (สำหรับชาวจีน) และล่าสุดเราได้ต่อยอดความร่วมมือด้วยอาลีเพย์พลัส ซึ่งจะช่วยให้ร้านค้าเคทีซีสามารถรับชำระเงินดิจิทัลได้หลากหลายยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายให้กับร้านค้าเช่นกัน โดยครึ่งปีหลังผู้ประกอบการธุรกิจที่รับชำระด้วยอาลีเพย์พลัสของเคทีซี ได้แก่ คิง เพาเวอร์, เดอะมอลล์กรุ๊ป, บู้ทส์ ประเทศไทย และอีกมากมาย”

โซลูชันการตลาดระหว่างประเทศที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจ 

นายสิทธิพงษ์ กิตติประภาพงศ์ ผู้จัดการทั่วไป ด้าน Global Merchant Partnership ประจำประเทศไทย บริษัท แอนท์กรุ๊ป กล่าวว่า อาลีเพย์พลัส (Alipay+) เป็นชุดบริการชำระเงินดิจิทัล และโซลูชันการตลาดระหว่างประเทศที่ออกแบบมาเพื่อเปิดโอกาสให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจเอสเอ็มอีในการดำเนินการชำระเงินผ่านมือถือได้หลากหลายรูปแบบ ผ่านการทำงานที่ง่ายและเสร็จสิ้นภายในครั้งเดียว อาลีเพย์พลัส ยังนำเสนอ Alipay+ D-store และโซลูชันการตลาดอื่นๆ ด้วยอาลีเพย์พลัส นักท่องเที่ยวสามารถชำระเงินด้วยโมบายล์วอลเล็ตที่คุ้นเคยในประเทศตนเอง พร้อมอัตราแลกเปลี่ยนที่แข่งขันได้ 

สำหรับการขยายตัววอลเล็ต หรือผู้ให้บริการรับชำระเงินรายอื่นเข้ามาให้บริการในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการวางเครือข่ายให้กับทางอาลีเพย์พลัส เพื่อก้าวสู่การเป็น Open Infrasucture โดยจะมีประมาณ 10 ราย ทั้งจากเอเชียและยุโรป เช่น ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ อีก 2-3 ราย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน 

ทั้งนี้เทรนด์การใช้จ่ายผ่านออนไลน์หากดูตั้งแต่ช่วงโควิดยอดการใช้จ่ายผ่านโมบายเพย์เม้นท์โตแบบก้าวกระโดดคิดเป็นประมาณ 40% ของวิธีการชำระเงินทั้งหมด จนกระทั่งหลังโควิดยอดไม่ลดลงมีแต่จะเพิ่มขึ้น โดยการใช้จ่ายผ่านร้านค้าออนไลน์คิดเป็น 50% ส่วนร้านค้าออฟไลน์อยู่ที่ 40% แซงหน้าบัตรเครดิต เดบิตที่รวมกัน จึงเรียกได้ว่าโมบายเพย์เม้นท์เป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ