ไทยพร้อมจัดงาน JGAB ดึงเม็ดเงินทั่วโลกเข้าประเทศ หลังส่งออกอัญมณีโตไม่หยุด

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ไทยพร้อมจัดงาน JGAB ดึงเม็ดเงินทั่วโลกเข้าประเทศ หลังส่งออกอัญมณีโตไม่หยุด

Date Time: 1 มี.ค. 2566 19:36 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • ไทยส่งออกอัญมณีเป็นอันดับ 3 สภาอุตสาหกรรมฯ จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ จัดงาน Jewellery & Gem ASEAN Bangkok เตรียมดึงเม็ดเงินทั่วโลกเข้าประเทศ วอนรัฐเร่งดูแลเรื่องภาษี

Latest


ไทยส่งออกอัญมณีเป็นอันดับ 3 สภาอุตสาหกรรมฯ จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ จัดงาน Jewellery & Gem ASEAN Bangkok เตรียมดึงเม็ดเงินทั่วโลกเข้าประเทศ วอนรัฐเร่งดูแลเรื่องภาษี เพิ่มศักยภาพแข็งขัน พาไทยเป็นฮับสินค้าอัญมณี และเครื่องประดับ

เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 66 นายวิบูลย์ หงษ์ศรีจินดา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมา สินค้าอัญมณี และเครื่องประดับ เป็นสินค้าที่มียอดส่งออกสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของไทย โดยมีมูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (รวมทองคำไม่ขึ้นรูป) 517,607.97 ล้านบาท ขยายตัว 62.83%

ทั้งนี้ หากไม่รวมทองคำไม่ขึ้นรูป สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ มีมูลค่าส่งออกถึง 279,602.63 ล้านบาท ขยายตัว 43.42% และคาดว่าในปี 2566 จะสามารถส่งออกเพิ่มขึ้นอีก 10-15% เพราะประเทศไทยยังเป็นแหล่งที่ผู้ซื้อจากทั่วโลก ยังให้ความสนใจในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะความสามารถของช่างฝีมือไทย

ปัจจุบันประเทศคู่แข่งของไทยในเอเชีย ยังมีปัญหาเศรษฐกิจยังซบเซา ส่งผลให้คู่ค้าทั่วโลกสนใจทำธุรกิจกับประเทศไทยมากขึ้น และหากผู้ประกอบการไทยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ อาทิ อุตสาหกรรมพลอย การแก้ไขการเก็บภาษีนิติบุคคลของพ่อค้าพลอย เป็นแบบภาษีแบบเหมา หรือ Carat Tax จะทำให้ยอดการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้ หากอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงิน หากรับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบไม่มีเงื่อนไข จะสามารถเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ SMEs เพราะวัตถุดิบเงินถือเป็นโลหะมีค่า มีคุณสมบัติเดียวกับทองคำ หากได้รับการสนับสนุนแล้วจะสามารถเพิ่มยอดส่งออกเครื่องประดับเงินเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย


นางสาวอนุชนา วิชเวช ผู้อำนวยการโครงการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวว่า เราเป็นผู้จัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นผู้ขับเคลื่อนตลาดอัญมณีและเครื่องประดับ ภาคธุรกิจอันดับ 1 ในวงการ และพร้อมที่จะจัดงาน Jewellery & Gem ASEAN Bangkok หรือ JGAB ครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 26-29 เม.ย. 66 ณ Hall 1-2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

เรามั่นใจว่าการจัดงานครั้งนี้จะเป็นการยกระดับงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยให้เป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญที่สุดในโลก และสู่การเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของการเจียระไนพลอยสี และการออกแบบเครื่องประดับชั้นนำของภูมิภาคอีกด้วย

โดย JGAB เป็นอีกหนึ่งงานที่จะสามารถดึงดูดผู้ร่วมจัดแสดง ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องประดับสำเร็จรูป, พลอยหัวแหวน, งานบรรจุภัณฑ์, เครื่องมือ, อุปกรณ์การผลิต และการบริการด้านอัญมณีและเครื่องประดับมารวมกันในงาน และผู้ร่วมจัดแสดงยังสามารถนำอัญมณีและเครื่องประดับจากประเทศต่างๆ มาจัดแสดงได้โดยไม่มีภาษีนำเข้า

นางประพีร์ สรไกรกิติกูล ที่ปรึกษาสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและประธานคณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า กล่าวว่า แนวโน้มตลาดที่สำคัญของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ คือ เครื่องประดับเพชร ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในกลุ่มสินค้าเครื่องประดับอันประกอบด้วยเครื่องประดับทอง เงิน พลอย และอื่นๆ แต่เพชรมีสัดส่วนสูงถึง 35% ของมูลค่าเครื่องประดับโลกในปี 2021 รองจากเครื่องประดับทองที่สัดส่วนเกินกว่า 40%

โดยรายงานระบุว่าเครื่องประดับอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากอาหารและเครื่องนุ่งห่มที่ผู้บริโภคคำนึงถึงปัจจัยความยั่งยืนโดย 30% ของคนรุ่นใหม่ซื้อเครื่องประดับที่ยืนยันว่ามีความรับผิดชอบต่อสังคมและ ผู้บริโภค 58% ชอบเพชรที่ผลิตโดยรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมโดย 85% ของผู้บริโภคและ 92% ของ Gen 2 ยอมจ่ายเพิ่มกับสินค้าที่ผลิตอย่างรับผิดชอบ

ทั้งนี้ คนรุ่นใหม่เลือกซื้อสินค้ามีแบรนด์ Gen 2 และ Millennials ซึ่งเป็นผู้บริโภคส่วนใหญ่ของสังคมซื้อเครื่องประดับเพชรที่มีแบรนด์ในสัดส่วน 76% และ 72% ตามลำดับ ในขณะที่ Gen X และ Boomers ซื้อเพียง 64% และ 38% แนวโน้มนี้มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดภายใน 7 ปีจาก 2015-2021 จาก 33% เพิ่มขึ้นเป็น 65% ของมูลค่าตลาดโดยรวม

ขณะที่การจัดจำหน่ายผสมผสานระหว่างออนไลน์และมีหน้าร้านดำเนินต่อไป ลูกค้า 49% จะหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต จากนั้นตัดสินใจซื้อ 30% ผู้ซื้อ 68% โดยยังคงตัดสินใจที่จะซื้อบนออนไลน์ต่อไป และการขายออนไลน์คิดเป็น 25% ผู้เป็นผู้ซื้อเครื่องประดับเพชรครั้งแรก 54%

ขณะที่เลือกซื้อที่ร้าน 51% จากนั้นตัดสินใจซื้อ 40% และกลับไปซื้อออนไลน์ 11% และ WEB และ Metaverse เป็นปัจจัยใหม่ที่สำคัญหนุนการตลาด เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่นำพาลูกค้าในโลกดีจิทัล สู่โลกเสมือนจริงในการประชาสัมพันธ์สินค้าและการตลาดเพื่อสนับสนุนการขาย

จากผลวิจัยแนวโน้มตลาดข้างต้นชี้ชัดถึงทิศทางของการประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้กำลังมุ่งไปในทิศทางธุรกิจยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้ค้าปลีกต่างมีหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่คู่ค้าและผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อประเด็นนี้อย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน

โดยผู้ค้าปลีกต้องสร้างแบรนด์โดยมีปัจจัยด้านความยั่งยืนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ขณะที่ผู้ผลิตเครื่องประดับดำเนินธุรกิจด้วยการรักษาคำมั่นกับคู่ค้าในการประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืนสอดคล้องกันกับค่านิยมผู้บริโภค.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ