มาม่าปรับสูตร 4 รสชาติยอดนิยมให้มีแบบโลว์โซเดียม ขายซองละ 8 บาท

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

มาม่าปรับสูตร 4 รสชาติยอดนิยมให้มีแบบโลว์โซเดียม ขายซองละ 8 บาท

Date Time: 1 ก.ค. 2565 17:48 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • มาม่าปรับสูตร 4 รสชาติยอดนิยมทั้งรสต้มยำกุ้ง รสหมูสับ รสต้มยำกุ้งน้ำข้น รสเส้นหมี่น้ำใส ให้มีแบบโลว์โซเดียม ขายซองละ 8 บาท พร้อมรอพาณิชย์เคาะขึ้นราคามาม่าสูตรปกติหลังต้นทุนชนเพดานไปแล้ว

Latest


มาม่าปรับสูตร 4 รสชาติยอดนิยมทั้งรสต้มยำกุ้ง รสหมูสับ รสต้มยำกุ้งน้ำข้น รสเส้นหมี่น้ำใส ให้มีแบบโลว์โซเดียม ขายซองละ 8 บาท พร้อมรอพาณิชย์เคาะขึ้นราคามาม่าสูตรปกติหลังต้นทุนชนเพดานไปแล้ว 2 เดือน

เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 65 นายเวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) หรือ SPC กล่าวว่า ภาพรวมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปัจจุบันมีมูลค่า 20,000 ล้านบาท ในครึ่งปีแรกนี้มีการเติบโตประมาณ 7% ซึ่งเราประเมินว่าช่วงที่เหลือของปีตลาดจะเติบโต 3.5% ทั้งนี้มาม่านั้นยังครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 มีอัตราการเติบโต 7% ขณะที่ตลาดสินค้าพรีเมียมโตกว่า 15%

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าต้นทุนการผลิตได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะแป้งสาลี และน้ำมันปาล์ม ที่ชนเพดานต้นทุนมา 2 เดือนแล้ว ซึ่งวัตถุดิบที่สต๊อกไว้เริ่มไม่เพียงพอส่งผลให้เราเริ่มขาดทุน เนื่องจากสินค้าทั้ง 2 ชนิดราคาปรับตัวสูงขึ้นและเริ่มขาดแคลน ปัจจุบันเรากำลังรออนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์เพื่อขึ้นราคามาม่า 1 บาทจากเดิม 6 บาทเป็น 7 บาท

ล่าสุด มาม่า ได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ มาม่า สูตร Less Sodium หรือ โลว์โซเดียม มาใน 4 รสชาติ ได้แก่ รสต้มยำกุ้ง รสหมูสับ รสต้มยำกุ้งน้ำข้น รสเส้นหมี่น้ำใส ในราคาซองละ 8 บาท เรามั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคอย่างเช่นที่ผ่านมาอีกด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ประเด็นเรื่องการปรับขึ้นราคามาม่านั้น จากข้อมูลจากกรมการค้าภายในนั้น ก็น่าเห็นใจเพราะต้นทุนสูงขึ้นจริง และกรมการค้าภายในพยายามช่วยดูเจรจาว่าจะสามารถผ่อนปรนการตรึงราคาได้นานแค่ไหน แม้ขณะนี้ยังไม่ขึ้นและตรึงให้อยู่

"เราทำงานทุกวันและทุกสัปดาห์และที่ตรึงราคาไว้ได้คือการช่วยลดภาระผู้บริโภคแต่ที่ยืดเวลายังไม่ให้เกิดขึ้นได้ และคุยกันว่าทางออกที่ดีที่สุดจะเป็นอย่างไรใช้ วิน-วินโมเดล ซึ่งหลักการในการพิจารณาชัดเจนและดูในเชิงลึก ซึ่งตนเห็นใจทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการยามนี้ต้องช่วยกันแบ่งเบาภาระลดภาระซึ่งกันและกันให้ได้ดีที่สุด".


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ