ชงปลดล็อกกฎหมายหนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ชงปลดล็อกกฎหมายหนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน

Date Time: 7 ส.ค. 2564 05:01 น.

Summary

  • โมเดลธุรกิจของ BCG หรือ Bio-Cir– cular-Green Eco– nomy เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว นับว่าเป็นเมกะเทรนด์ของผู้บริโภคทั่วโลกได้ให้ความสนใจ

Latest

อัปเดต 5 กลยุทธ์ขายของ พิชิตใจคน Gen Z อยากรักษ์โลก แต่ของมันต้องมี แบรนด์รับมืออย่างไร?

โมเดลธุรกิจของ BCG หรือ Bio-Cir– cular-Green Eco– nomy เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว นับว่าเป็นเมกะเทรนด์ของผู้บริโภคทั่วโลกได้ให้ความสนใจ ซึ่งรัฐบาลเองก็ได้ให้ความสำคัญและยกเป็นวาระแห่งชาติกับเป้าหมายช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

ทำให้ในช่วงที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตื่นตัวรับกระแสดังกล่าว โดยเฉพาะการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด ลดปริมาณของเสียให้น้อยที่สุดแต่ก็ยังมีอุปสรรคปัญหากฎหมายที่ยังตามไม่ทัน

โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ทั่วโลก เป้าหมายเดียวกันในการลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสโดยตรงกับอาหารและเครื่องดื่ม และร่วมกันจัดการขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้วด้วยการนำกลับมารีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติก rPET เพื่อนำไปใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อีกครั้ง สร้างการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและ
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

จากแนวโน้มของแบรนด์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่ใช้ขวดพลาสติก PET เป็นจำนวนมากได้ประกาศพันธกิจกำหนดอัตราเปอร์เซ็นต์การใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิล (rPET) เป็นส่วนประกอบในการผลิตขวดบรรจุเครื่องดื่มอย่างเป็นขั้นตอน เช่น ในสหรัฐฯ และยุโรป มีการกำหนดเปอร์เซ็นต์ rPET ในบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มขั้นต่ำ 25% (rPET : PET 25:75) และในหลายประเทศสามารถเพิ่มการใช้ rPET ถึง 50% และบางแห่งตั้งเป้าถึง 100% ในอีก 5 ปีนับจากนี้

พร้อมกับวิเคราะห์กันว่า ในอนาคตอันใกล้ อัตราเปอร์เซ็นต์ rPET ในบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสโดยตรงกับอาหารและเครื่องดื่ม อาจถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือตั้งกำแพงภาษีทางการค้าในการนำเข้าสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเพราะในมุมมองของประเทศผู้นำเข้าสินค้าเหล่านั้นย่อมถือว่าเป็นการนำเข้าวัตถุดิบที่จะกลายเป็นขยะพลาสติกภายในประเทศตนเอง

สำหรับประเทศไทย กฎหมายไทยยังไม่อนุญาตให้นำ rPET มาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสโดยตรงกับอาหารและเครื่องดื่ม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 295 พ.ศ.2548 ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการมองว่าภาครัฐควรต้องเร่งเดินหน้าปลดล็อกข้อจำกัดทางกฎหมายโดยเร็วเพื่อให้เอกชนได้เปิดธุรกิจใหม่ๆ รวมทั้งการสนองตอบนโยบายวาระแห่ง ชาติของรัฐด้วย
สำหรับความคืบหน้าถึงปัจจุบันคือ มีการ กำหนดแนวทางประกาศเกณฑ์อ้างอิงมาตรฐานเพื่อใช้ทดสอบประสิทธิภาพของกระบวนการรีไซเคิลในการกำจัดสารปนเปื้อนตกค้างจากวัตถุดิบ ซึ่งยังเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันต่อ ว่าเกณฑ์อ้างอิงนั้นสามารถดำเนินการได้จริงในทางปฏิบัติหรือไม่ หรือสามารถจูงใจให้ผู้ประกอบการมีความกระตือรือร้นในการใช้ rPET เพิ่มขึ้นหรือไม่ ก่อนจะนำเข้าสู่กระบวนการแก้ไขประกาศฉบับดังกล่าว

“พัชราภา รวิรุจิพันธุ์” ผู้ช่วยผู้จัดการ บริษัท อังไถ่ จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจรีไซเคิลชั้นนำของไทยผู้ผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์จากพลาสติกรีไซเคิล 100% กล่าวว่า การเตรียมแก้ไขกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความสำคัญกับธุรกิจรีไซเคิลมากเพราะหมายถึงโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการสามารถทำผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น หากทำได้เร็วยิ่งดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจ เพราะจะสร้างโอกาสการขยายธุรกิจใหม่ให้เกิดขึ้นได้ ทั้งการใช้ในประเทศและส่งออกผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ที่ต้องสัมผัสโดยตรงกับอาหารและเครื่องดื่มที่มี rPET เป็นองค์ประกอบได้

“เรามีความสนใจที่จะศึกษาข้อมูล ประเมินความเป็นไปได้ในหลายประเด็น เพราะถือเป็นการลงทุนใหม่ด้านเทคโนโลยี ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงแต่ก็เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจ แม้จะมีความยากแต่ก็เป็นไปได้เพราะเราอยู่ในวงการธุรกิจรีไซเคิลอยู่แล้ว”

จากแนวโน้มเมกะเทรนด์ทั่วโลกทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคตื่นตัวกับโมเดลธุรกิจ BCG เป็นสิ่งที่จะต้องตามให้ทันกับกระแสการค้าได้อย่างยั่งยืนและได้รับการยอมรับในระดับสากล.

วานิชหนุ่ม
wanich@thairath.co.th


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ