ส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งสวนไวรัส กลุ่มผัก ผลไม้ ขยายตัวมากที่สุด

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งสวนไวรัส กลุ่มผัก ผลไม้ ขยายตัวมากที่สุด

Date Time: 20 เม.ย. 2564 06:25 น.

Summary

  • น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในปีนี้สินค้าเกษตรไทยมีโอกาสส่งออกได้เพิ่มขึ้น การส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทยไปตลาดโลกเดือน ม.ค.-ก.พ. ปี 64 เพิ่มขึ้น

Latest

บาร์บีคิวพลาซ่า x วิตอะเดย์ เปลี่ยน “ผัก” ข้างเตาปิ้งย่าง ให้เป็น น้ำวิตามินกะหล่ำปลี

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในปีนี้สินค้าเกษตรไทยมีโอกาสส่งออกได้เพิ่มขึ้น โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานว่า การส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทยไปตลาดโลกเดือน ม.ค.-ก.พ. ปี 64 เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มผัก ผลไม้ ขยายตัวมากที่สุด คาดว่า ทั้งปี 64 มูลค่าส่งออกผัก ผลไม้จะเพิ่ม 1.9-2.9% ปศุสัตว์ เพิ่ม 1-2% ประมงเพิ่ม 0.1-1.1% บริการทางการเกษตรเพิ่ม 0.2-1.2% และป่าไม้เพิ่ม 1-2% แต่หากเจาะลึกส่งออกไป 18 ประเทศที่ไทยมีข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) พบว่า ปี 63 สินค้าเกษตรส่งออกไป 18 ประเทศ 14,876 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่ม 2.3% เทียบกับปี 62 คิดเป็น 71% ของการส่งออกสินค้าเกษตรไปโลก

“ด้วยประโยชน์จากเอฟทีเอ กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่ให้ความรู้เกษตรกร และผู้ประกอบการ เพื่อเร่งให้ใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ เพิ่มโอกาสในการส่งออก นอกจากนี้ เฉพาะส่งออกผลไม้ ที่ปีที่แล้วมีมูลค่า 104,000 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดแผนจัดกิจกรรมเจรจาทางธุรกิจผ่านออนไลน์ และที่จัดไปแล้วเมื่อเดือนมี.ค.64 มีประเทศเข้าร่วม อาทิ จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐฯ อาร์เจนตินา สเปน เกิดมูลค่าซื้อขายกว่า 1,800 ล้านบาท”

นอกจากนี้ สิ่งที่จะสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค คือ มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัย โดยปีนี้กระทรวงเกษตรฯ กำหนดแผนรับรองการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) เพื่อส่งออก 120,000 แปลง แบ่งเป็นผลไม้ 65,000 แปลง (ลำไย ทุเรียน มังคุด มะพร้าวอ่อน มะม่วง), พืชผัก 21,000 แปลง และอื่นๆ 33,000 แปลง เช่น กาแฟ ถั่วลิสง ส่วนสินค้าปศุสัตว์และประมง จะพัฒนาฟาร์มเลี้ยงทั่วประเทศให้ได้มาตรฐาน GAP และมาตรฐานด้านการจัดการสุขลักษณะที่ดีในสถานประกอบการ (GMP) รวมถึงระบบควบคุมคุณภาพการผลิตที่ใช้เป็นเงื่อนไขทางการค้าเพื่อส่งออกต่างประเทศ (HACCP)

“แม้ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว แต่ไทยการส่งออกสินค้าเกษตรกลับเติบโต ดังนั้น การปรับตัวของเกษตรกรและผู้ประกอบการจึงเป็นเรื่องจำเป็น ทั้งในด้านพัฒนากระบวนการผลิต และวิธีการทำตลาด โดยคำนึงถึงมาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัย และใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอเพื่อเพิ่มรายได้”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ