มิ้นท์ อรชพร ชลาดล พิธีกรรายการ On The Rise ไทยรัฐออนไลน์ พาไปรู้จัก 2 เพื่อนซี้ ระริน ธรรมวัฒนะ และ นที จรัสสุริยงค์ เจ้าของร้านไอศกรีม Guss Damn Good ที่ใครหลายคนเคยชิมกันมาแล้ว
ก่อนหน้านี้ ระรินเรียนบัญชี ส่วนนทีเรียนวิศวะ และคนทั้งคู่ไปรู้จักกันตอนไปเรียน MBA ที่ Boston จุดเริ่มต้นที่สำคัญเลยคือ เราสองคนตระเวนกินไอศกรีมจนทั่ว Boston แล้วก็เมืองใกล้เคียง จนรู้สึกว่าไอศกรีมแบบไหนอร่อย ซึ่งคนที่นั่นเขากินกันจริงจังมากเลย แม้กระทั่งหน้าหนาวเขาก็ยังกินไอศกรีม เพราะมันจะทำให้เขานึกถึงหน้าร้อน ทำให้เรารู้ว่า ไอศกรีมไม่ได้เป็นแค่ขนม แต่เป็นความรู้สึก เราก็เลยตั้งใจว่าเราจะทำไอศกรีมที่มี Feeling
ตอนนั้นก็ตระเวนกินไอศกรีมเยอะจนรู้จักเจ้าของหลายคน ก็อยากให้เจ้าของมาสอน แต่จริงๆ เขาไม่มีเวลามาสอน แล้วเขาก็แนะนำหนังสือมาว่า คุณไปอ่านหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไอศกรีม เล่มนั้น เล่มนี้สิ เราก็ซื้อมาเป็นกะตั้กเลย แต่หนังสือที่ว่านี้ไม่มีรูปภาพสวยงามนะ มีกราฟ มีแต่กราฟขึ้นลง มีคำนวณสูตร แล้วก็มีสูตรอะไรไม่รู้ สูตรอะไรเต็มไปหมดเลย
"แต่มีเล่มนึงเป็นตัวเทพมากที่ทำให้เราผูกสูตร Excel ขึ้นมาสูตรหนึ่ง จริงๆ ไอศกรีม Guss คือสูตร Excel หมดเลยนะ เพราะมันต้องคำนวณหลายอย่าง คำนวณว่าเปอร์เซ็นต์ Fat ที่เหมาะสมมันจะเป็นยังไง เรารู้แล้วว่าเทกเจอร์แบบไหน หรือรสชาติประมาณไหน ที่เราต้องการในใจเรา"
ตอนนั้นหลายคนก็ค้านนะว่า ไอศกรีมจะไปรอดเหรอ ตอนแรกไม่รู้เลย แต่ถูกปากเราสองคน ซึ่งเพื่อนๆ บอกยังไงก็ไม่รอด จะขายไอศกรีมสกู๊ปโล้นๆ ในราคาแบบเกือบร้อย ถ่ายรูปก็ไม่สวย ซึ่งหากเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้นไอศกรีมจะต้องมีท็อปปิ้งเยอะๆ มี Dry Ice มีเข็มฉีดยา
รู้จัก Don’t Give Up Number 18 รสแรกของ Guss Damn Good
ตอนนั้นไม่รู้อะไรเลย ไปซื้อนมที่ซุปเปอร์ฯ ครีมทุกยี่ห้อ แล้วก็มาลองผสมส่วนผสมกันว่าแบบนมอันนี้กับครีมอันไหน ที่มันจะให้กลิ่นที่มันดีที่สุด ตอนที่มาทำเป็นไอศกรีมจริงๆ ก็คือ ครั้งที่ 18 ที่ให้ความรู้สึกคิดถึงตอนที่กินไอศกรีมที่ Boston คือ เทกเจอร์มันเริ่มได้ละ แต่ก่อนจะถึงครั้งที่ 18 คือ ปั่นไม่ขึ้นบ้าง เหลวไป ข้นไป แต่ครั้งที่ 18 เริ่มแบบได้ แต่เราก็ทำไปเรื่อยๆ จนสุดครั้งที่ 30 ถึงออกมาเป็นรสชาติดังกล่าว
ส่วนวิธีการคิดรสชาติทั้งหมด ก็คือเราเรียกมันว่า Story to Flavour จากเรื่องราวสู่รสชาติ ใช่ๆ จากเรื่องราว Story มาเป็น Feeling จาก Feeling เป็น Flavour คือเราก็จะคิดทุกอันเนี่ย จากเรื่องราวมาก่อน ทำให้ชื่อแต่ละอันมันจะนำเสนอเรื่องราวนั้นๆ
สำหรับ Guss Damn Good ก็จะมีคาแรกเตอร์อยู่ ตามน้องๆ สกู๊ปเปอร์ ที่เขาสกู๊ปหน้าร้าน ทั้งรวมไปถึงคาแรกเตอร์ของแบรนด์เราด้วย วิธีการทำธุรกิจหลายอย่าง
ข้อ 1 ของเรา คือ Fun เราเอาความสนุกเป็นที่ตั้ง เราไม่ซีเรียสอะไรมาก
ข้อ 2 คือ Real Real คือเราไม่ประดิษฐ์อะไรมากมาย แล้ววิธีการสื่อสารของเรากับลูกค้าไรอย่างนี้ ก็ตรงไปตรงมา อะไรได้ก็ได้ อะไรไม่ได้ก็บอกตรงๆ ว่าไม่ใช่ อย่างเช่น ลดราคาเพิ่มได้ไหม เราก็บอกตรงๆ เลยว่าไม่ได้
ข้อ 3 ก็คือ Attention to Detail คือเราใส่ใจในรายละเอียด เราไม่มักง่ายกับเรื่องอะไรหลายอย่าง
ข้อ 4 ก็คือ Be Open Be Open ก็คือ แบบเราเป็นกบฏเล็กๆ กับสิ่งธรรมดาทั่วไปอะไรอย่างนี้
ระริน บอกว่า ความท้าทายที่สุดของเราตอนนี้ คือ เรื่องของคน ต้องบอกก่อนว่า มีน้องๆ หลายคนที่อยู่กับเรามาตั้งแต่เริ่มธุรกิจ เหมือนเขาเก่งขึ้นกันมาก เหมือนเขาโตกันเกินแบรนด์เราไปแล้ว เราในฐานะเจ้าของ เราก็ต้องเหมือนคิดอนาคตให้ชัดให้เขา ให้เขารู้ว่า เอออยู่ด้วยกันไปเนี่ย มันจะเป็นอย่างไร เป็นความท้าทายของ Start Up ของ Managing Going Business คือทำยังไงที่จะบริหารธุรกิจที่มันกำลังจะโตเนี่ย ให้มันยั่งยืนได้อย่างไร
ส่วน นที ทิ้งท้ายว่า เวลาเรามาทำธุรกิจของตัวเอง การมีใจรัก มันทำให้เราแบบอยากตื่นนอนมาทำในทุกๆ วัน แต่ว่าสิ่งที่เราจะเจอเนื้องานในแต่ละวัน มันจะมีงานอะไรก็ไม่รู้ที่เราไม่อยากทำเลย แต่มันต้องทำ เพราะฉะนั้นการทำธุรกิจควรมีทั้ง 2 อย่าง คือการมีใจรัก และความอดทนที่แรงกล้า ที่จะเข็นทุกอย่างไปด้วยกัน