ดีแทคจับมืออาซีฟา ใช้ 5G ช่วยบริหารพลังงานระบบไฟฟ้าอัจฉริยะครั้งแรกในไทย

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ดีแทคจับมืออาซีฟา ใช้ 5G ช่วยบริหารพลังงานระบบไฟฟ้าอัจฉริยะครั้งแรกในไทย

Date Time: 9 ธ.ค. 2563 09:00 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • ดีแทคจับมืออาซีฟา ใช้เทคโนโลยี 5G เข้ามาจัดการบริหารพลังงานระบบไฟฟ้าอัจฉริยะครั้งแรกในไทย พลิกรูปแบบการใช้งานตู้สวิตช์บอร์ดไฟฟ้า หรือ MDB

Latest


ดีแทคจับมืออาซีฟา ใช้เทคโนโลยี 5G เข้ามาจัดการบริหารพลังงานระบบไฟฟ้าอัจฉริยะครั้งแรกในไทย พลิกรูปแบบการใช้งานตู้สวิตช์บอร์ดไฟฟ้า หรือ MDB

นายราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า เราได้ร่วมมือกับอาซีฟาในการทำเทคโนโลยี 5G คลื่น 26 GHz หรือ Millimeter wave (mmWave) สู่การพัฒนา 5G โซลูชันบริหารพลังงานระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ Smart Energy Management ร่วมกัน

ขณะเดียวกัน ดีแทคมีแผนที่จะพัฒนาโซลูชันที่นำจุดเด่นของ 5G รองรับให้ครบทั้ง mMTC, eMBB และ URLLC นอกจากนี้ยังผสมผสานจุดเด่นของการใช้ 5G FWA ในการทำงานร่วมกันทั้งผู้ใช้งานทั่วไปและภาคธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ

ทั้งนี้ รูปแบบที่ได้ร่วมกับอาซีฟาจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญยิ่งของภาคอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต รวมทั้งเชื่อว่าจะสามารถต่อยอดได้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อให้เกิดการนำ 5G มาขับเคลื่อนประเทศร่วมกัน

ดังนั้น 5G โซลูชันบริหารพลังงานระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ จะมาช่วยป้องกันและแก้ปัญหาหรือลดความเสียหายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าตก ไฟฟ้าเกิน ไฟฟ้ากระชาก หรือไฟฟ้าดับ เป็นต้น

ทั้งนี้ การไฟฟ้าฯ ได้ให้ข้อมูลปัญหาไฟฟ้าที่ทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงงานเกิดความเสียหาย อาจได้รับปัญหาจากแรงดันตกชั่วขณะเป็นปัญหาคุณภาพไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันส่งผลกระทบกับผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามปัญหาแรงดันตกชั่วขณะสามารถป้องกันหรือแก้ไขได้

สำหรับพัฒนา 5G โซลูชันบริหารพลังงานระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ จะมีส่วนประกอบของ Smart MDB คือ การนำ IoT ที่เชื่อมต่อด้วย 5G เข้าไปช่วยเพิ่มความสามารถให้ตู้ MDB หรือ Main Distribution Board ซึ่งเป็นตู้ที่ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลักของโรงงานและอาคารต่างๆ ให้สามารถส่งข้อมูลที่สำคัญต่างๆ มารวมศูนย์ที่แอปพลิเคชันได้แบบเรียลไทม์ ให้ผู้ใช้งานบริหารการใช้ไฟฟ้าได้เหมาะสม

นอกจากนี้ ยังมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นรวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับระบบไฟฟ้าที่จะส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงัก ซึ่งแนวทางการวิเคราะห์ ตรวจสอบคุณภาพไฟฟ้า แนวโน้มการใช้พลังงานไฟฟ้า และการแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุฉุกเฉินด้วยเทคโนโลยี 5G ที่รองรับ Massive IoT เช่น อุณหภูมิความร้อนภายในตู้ MDB ความชื้น การตรวจจับความเคลื่อนไหว การตรวจจับควัน การวัดการปิดเปิดประตูของตู้ MDB เป็นต้น

สำหรับการทดสอบ 5G โซลูชันบริหารพลังงานระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ ร่วมกับอาซีฟาแล้ว ดีแทคยังร่วมพัฒนาในส่วนของ 5G FWA หรือ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่ ในส่วนของอาคารและโรงงานของอาซีฟาเพื่อพัฒนาสู่รูปแบบการใช้งานในเฟสอื่นๆ ร่วมกันต่อไป

นายไพบูลย์ อังคณากรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาซีฟา จำกัด (มหาชน) หรือ ASEFA กล่าวว่า การส่งมอบนวัตกรรมระบบบริหารจัดการพลังงานเพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถส่งมอบบริการให้แก่ผู้บริโภคขององค์กรได้ดำเนินกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ โรงงาน และอาคาร ซึ่งให้ความสำคัญต่อการบริหารพลังงานไฟฟ้าจากตู้ MDB  

ทั้งนี้ เพราะเป็นตู้ที่ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลักจากที่การไฟฟ้าฯ จ่ายกระแสไฟเข้าสู่โรงงานหรือองค์กรธุรกิจ ดังนั้น ถ้าตู้ MDB ขัดข้องจะต้องแก้ไขทันทีมิเช่นนั้นจะมีผลเสียรุนแรง ทั้งทำให้ระบบไฟฟ้าในโรงงานมีปัญหาส่งผลต่อผลผลิตทันที

บางกรณีอาจจะมีเหตุฉุกเฉินจึงต้องมอนิเตอร์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง การมีระบบ Monitoring ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดปัญหาต่างๆ และใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม อาซีฟา คือผู้นำของโซลูชันระบบบริหารจัดการไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ ให้บริการครอบคลุมตั้งแต่การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระจายและส่งจ่ายไฟฟ้า สวิตช์บอร์ดไฟฟ้า ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบบริหารจัดการพลังงาน ตลอดจนบริการหลังการขายและบริการวิศวกรรมที่ครบวงจร โดยจะร่วมมือในการเป็นพันธมิตร 5G ร่วมกับดีแทค

ทั้งนี้ ดีแทคยังเตรียมแผนที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมและพันธมิตรต่างๆ ให้ทดสอบและใช้งาน 5G คลื่น 26 GHz ใน use case รูปแบบต่างๆ อีกมากมาย อาทิ โซลูชันบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ (Smart Water Management)

ระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ (Smart Security) เซนเซอร์คลังสินค้า (Warehouse Sensors) ระบบแจ้งเตือนผล (Intelligent Report) ระบบติดตามรถยนต์ (Smart Tracking – Vehicle) และ ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) เป็นต้น


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ