หนุนเอกชนลงทุนบริการสาธารณะ โดยการให้สัมปทาน

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

หนุนเอกชนลงทุนบริการสาธารณะ โดยการให้สัมปทาน

Date Time: 31 ต.ค. 2563 05:30 น.

Summary

  • บอร์ดพีพีพีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและตรวจสอบข้อสัญญาการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือพีพีพี ระหว่าง บริษัทการท่าอากาศยานไทย จำกัด (ทีโอที)

Latest

“ชรินทร์” พลิกฟื้น “เดอะ ทวิน ทาวเวอร์” “รัดเข็มขัด” สร้างกำไรจุดขายใหม่ย่านบรรทัดทอง

นายชาญวิทย์ นาคบุรี ที่ปรึกษาด้านการประเมินผลรัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ดพีพีพี) ว่า บอร์ดพีพีพีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและตรวจสอบข้อสัญญาการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือพีพีพี ระหว่าง บริษัทการท่าอากาศยานไทย จำกัด (ทีโอที) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากการบินไทยพ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว จึงต้องมาพิจารณาในข้อสัญญาให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐว่ามีสัญญาใดบ้างที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว เช่น การเช่าพื้นที่กับ ทอท. ส่วนการทำแผนการฟื้นฟูนั้นจะต้องแล้ว เสร็จภายในเดือน ธ.ค.นี้

ด้านนายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) เปิดเผยว่า บอร์ด พีพีพี ได้อนุมัติโครงการรวมมูลค่า 19,000 ล้านบาท เช่น โครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบพีพีพี มูลค่าเงินลงทุนรวม 18,961 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มูลค่ารวม 16,096 ล้านบาท ในรูปแบบการให้เอกชนบริหารจัดการโดยให้สัมปทาน

นอกจากนี้ ยังมีโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ของกรมการขนส่งทางบกมูลค่ารวม 2,865 ล้านบาท โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนค่าที่ดิน ค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนค่าอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า อุปกรณ์สำนักงานและส่วนประกอบ และงานระบบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารด้านการขนส่งสินค้า ตลอดระยะเวลาโครงการ 15 ปี เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งระหว่างประเทศบริเวณพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน

ขณะเดียวกัน ยังเห็นชอบร่างกฎหมายลำดับรองและแนวทางปฏิบัติภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุน ปี 2562 ในเรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาใช้การคัดเลือกเอกชนโดยไม่ใช้วิธีประมูล รวมถึงแนวทางการพิจารณาความสำคัญของโครงการร่วมลงทุนที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000-5,000 ล้านบาท เพื่อทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีกฎหมายลำดับรองที่ใช้สำหรับการจัดทำและดำเนินโครงการครบถ้วน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ