เครื่องดื่มตราช้าง เปิดพื้นที่ ช้าง กรีน โอเอซิส เล่าแนวทางการพัฒนาความยั่งยืน โชว์รูปแบบการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด เพื่อนไม่ทิ้งกัน (คิดก่อนทิ้ง)
ณรัชฏ์ วัชรเพชร์ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่มตราช้าง บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ช้าง ให้ความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เราจึงตั้งใจที่อยากจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อตอบแทนสังคม ด้วยการวางแนวทางการพัฒนาองค์กรที่ตั้งอยู่บนหลักการ เศรษฐกิจหมุนเวียน
ทั้งนี้ เรามองว่า แนวคิดดังกล่าวจะสามารถเกิดขึ้นและสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม และประเทศได้นั้น ขึ้นอยู่กับการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐฯ ภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนทุกคน
โดยเราจึงจัดทำโซน ช้าง กรีน โอเอซิส ในงาน Thailand Sustainability Expo 2020 ซึ่งเป็นการดึงเอา DNA ของแบรนด์ช้าง ภายใต้คำว่า เพื่อน มาบอกเล่าเรื่องราวการสร้างความยั่งยืนขององค์กร
ภายใต้คอนเซปต์ "เพื่อนแท้ ไม่ทิ้งกัน" #คิดก่อนทิ้ง นอกจากจะเป็นการนำเสนอเรื่องของกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการแบ่งปันความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริโภคอย่างยั่งยืน โดยเน้นย้ำเรื่องการคัดแยกขยะ และให้ความสำคัญกับการใช้ซ้ำ เพื่อให้ขยะเหล่านี้ได้นำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน
สำหรับการจัดแสดง ช้าง กรีน โอเอซิส แบ่งเป็น 3 โซน ได้แก่
1. Chang Mineral Water : เป็นการจัดแสดงผลิตภัณฑ์น้ำแร่ธรรมชาติตราช้าง ที่ผลิตจากหนึ่งในแหล่งน้ำบริสุทธิ์ที่ดีที่สุดจากชั้นหินในน้ำธรรมชาติ โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานระดับโลก ด้วยระบบการกรองแบบ 3 ชั้น (Triple Filtration Process) จึงทำให้น้ำแร่ธรรมชาติตราช้าง สะอาดและบริสุทธิ์
ทั้งยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุตามธรรมชาติที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วน จนได้รับการรับรองคุณภาพจาก NSF International ซึ่งเป็นสถาบันรับรองความปลอดภัยการผลิตอาหารและน้ำดื่มจากประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบขวดแก้วสีเขียวมรกตที่โดดเด่นเรื่องการดีไซน์ให้ดูพรีเมียมแล้ว ยังเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
2. การบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ เป็นการให้ข้อมูลเรื่องหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อลดปริมาณของเสียที่ต้องกำจัด และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการใช้หลัก 3Rs ได้แก่ Reduce การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ ขวด PET กระป๋องอลูมิเนียม กล่องกระดาษ และยังช่วยลดภาวะการเกิดโลกร้อน (คาร์บอนฟุตพริ้นท์) หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ที่ใช้กระบวนการย่อยตามเกณฑ์ที่กำหนด, Reuse การนำกลับมาใช้ซ้ำ
โดยนำบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคกลับมาใช้ซ้ำในกระบวนการผลิต เช่น ขวดแก้ว ในปีนี้ได้ตั้งเป้าไว้ 80% ของยอดขายทั้งหมดที่จะนำกลับมาใช้ให้ได้มากที่สุด และ Recycle การนำบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคกลับมาใช้ใหม่ โดยนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต อาทิ ขวดแก้ว นำมาบดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่, ขวดพลาสติกใส (ขวด PET) นำมาแปรรูปเป็นเม็ดโพลีเอสเตอร์ผลิตเป็นเส้นใยและถักทอเป็นผืนผ้า
3. การให้ความสำคัญในการคัดแยกขยะ โดยนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ ซี่งเล่าเรื่องราวเริ่มต้นจากภายในองค์กรให้พนักงานได้มีส่วนร่วมคัดแยกขยะในสำนักงาน นอกจากนี้ยังจัดตั้งโครงการคัดแยกขวดที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมถึงพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการของบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ขององค์กรที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) หรือนำมาใช้ใหม่ (Recycle) อาทิ ขวดแก้ว, ขวด PET, กระป๋องอลูมิเนียม
โดยยกตัวอย่างโครงการ Can 2 Can : การเก็บกระป๋องเครื่องดื่มอลูมิเนียมจากผู้บริโภคกลับมาคัดแยก แล้วนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิล ซึ่งในปี 62 สามารถเก็บกระป๋องอลูมิเนียมกลับมาได้ทั้งสิ้น 703 ตัน (52 ล้านใบ) หรือ 14% ของปริมาณทั้งหมดที่บริษัทจำหน่ายทั่วประเทศ รวมถึงการนำขวดแก้วมาใช้ซ้ำถึง 75%.