“มก.” เบรกแยกยกระดับ N1 กดปุ่ม 2 โครงการยักษ์แก้รถติดกรุงเทพฯ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“มก.” เบรกแยกยกระดับ N1 กดปุ่ม 2 โครงการยักษ์แก้รถติดกรุงเทพฯ

Date Time: 6 ต.ค. 2563 05:50 น.

Summary

  • กระทรวงคมนาคม ไฟเขียว กทพ.-ทางหลวง ใช้เงินกองทุน TFFIF-มอเตอร์เวย์ ลงทุนร่วมกันสร้าง “ทางด่วนศรีนครินทร์-สนามบินสุวรรณภูมิ , รังสิต-นครนายก “แก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯปริมณฑล วงแหวนรอบนอก

Latest

อัปเดต 5 กลยุทธ์ขายของ พิชิตใจคน Gen Z อยากรักษ์โลก แต่ของมันต้องมี แบรนด์รับมืออย่างไร?

กระทรวงคมนาคม ไฟเขียว กทพ.-ทางหลวง ใช้เงินกองทุน TFFIF-มอเตอร์เวย์ ลงทุนร่วมกันสร้าง “ทางด่วนศรีนครินทร์-สนามบินสุวรรณภูมิ , รังสิต-นครนายก “แก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯปริมณฑล วงแหวนรอบนอก ส่วนทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ N1-N2 หากติดปัญหาพื้นที่ ส่วนใดให้เว้นก่อสร้างไว้ ส่วนใดก่อสร้างได้ ก็ให้สร้างไปก่อน ขณะที่เกษตรศาสตร์แจงห้ามสร้าง N1

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)ไปดำเนินการและทำให้เกิดประโยชน์จาก กองทุนรวมโครงสร้างพื้นเพื่ออนาคตประเทศไทย หรือ Thailand Future Fund (TFFIF) ที่ กทพ.ระดมทุนผ่านกองทุนรวม เพื่อมาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพราะจากการระดมทุนมา 1 ปี มีวงเงิน สะสมรวม44,000 ล้านบาท แต่กทพ.มีภาระจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ลงทุนปีละ 1,000 ล้านบาท ขณะที่ยังไม่มีการลงทุนให้เกิดรายได้ ซึ่งกทพ. ได้แจ้งว่า จะขอดำเนินการในโครงการทางพิเศษ (ทางด่วน) ในโครงการที่กรมทางหลวง (ทล.) ไม่สามารถดำเนินการได้แทน ซึ่งจะเป็นการร่วมดำเนินการร่วมกัน ส่วนรูปแบบการลงทุน จะเป็นการร่วมทุนกันระหว่าง กทพ. และ ทล. โดย กทพ.จะใช้งบก่อสร้างที่มีการระดมทุน จากประชาชนในรูปแบบกองทุนรวม Thailand Future Fund (TFFIF) ส่วน ทล.ใช้งบ ก่อสร้างจาก กองทุนมอเตอร์เวย์ ของทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)

“โครงการที่ กทพ. และ ทล. จะร่วมลงทุนด้วยกันและให้ กทพ.เป็นตัวหลัก ในการก่อสร้าง เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในเขต กรุงเทพฯ ปริมณฑลคือ โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ทางยกระดับ ช่วง ศรีนครินทร์-สนามบินสุวรรณภูมิ (M7) ขนาด 6ช่องจราจร คร่อมบนทางมอเตอร์เวย์ในปัจจุบัน และ โครงการทางยกระดับ รังสิต-นครนายก เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาจราจร และแก้ไขปัญหาเรื่องของการเวนคืนที่ดิน เนื่องจาก กทพ. มีประสบการณ์ในการดำเนินการด้านนี้ มากกว่าหน่วยงานอื่นๆ

สำหรับ โครงการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1 ของ กทพ.เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรติดขัด บนถนนหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และN2 เชื่อมต่อจากแยกเกษตรไปยังถนนประเสริฐมนูกิจและถนนประดิษฐ์มนูธรรม เชื่อมต่อการเดินทางในแนวตะวันออก-ตะวันตก เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายทางพิเศษกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และเพิ่มทางเลือกการเดินทางให้แก่ประชาชน

“ปัญหาเรื่องของแนวเขตทางหน้า มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ (มก.) ที่ไม่สามารถตกลงกันได้ จึงให้ กทพ. ไปดูว่าช่วงใด หากไม่สามารถก่อสร้างได้ ก็ให้เว้นช่วงไป ส่วนช่วงใด ก่อสร้างได้ก็ให้สร้างไปก่อน ส่วนบริเวณหน้า มหาวิทยาลัยฯ หาก ไม่สามาถสร้างทางยกระดับก็ให้ลองศึกษาการสร้างอุโมงค์ลอดหน้า มหาวิทยาลัยฯ แทน แม้ว่าค่าก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นอีก 30,000 ล้านบาทหากผลการศึกษาออกมาอย่างไรให้เสนอมาที่ผม เพื่อนำเสนอต่อไปยังคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก”

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษ แห่งประเทศไทย (กทพ.) กล่าวว่า การลงทุนในระยะแรก จะเป็นลักษณะ ที่ กทพ.ดำเนินการแทนและจะจ่ายผลประโยชน์ให้กับ ทล. ส่วนจะจ่ายคืนวิธีใดและรูปแบบใด ต้องมาหาข้อสรุปอีกครั้งหนึ่ง วิธีการดังกล่าว เป็นทางออกที่ กทพ.จะนำเงินจากกองทุนรวมมาลงทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ และมีรายได้เกิดขึ้น เพราะกทพ. มีภาระการจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานปีละ 1,000 ล้านบาท ล่าสุดกทพ.ได้รับแจ้งจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าไม่อนุญาตให้กทพ.ก่อสร้างทางแยกระดับ N1 หน้ามหาวิทยาลัย เนื่องจากเกรงว่าจะมีปัญหามลพิษ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ